แถลงการณ์คัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ
เผยแพร่ ณ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔
ตามที่สภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ…..ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอรวม ๕ ฉบับในวันพุธที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ นั้น
องค์กรสิทธิมนุษยชนดังมีรายชื่อแนบท้าย เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะของรัฐบาล มีสาระสำคัญที่อาจขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชน ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ และหลักการสิทธิมนุษยชนสากลที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของไทยหลายประการ จึงมีความเห็นและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
๑. ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กล่าวคือมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่าการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยกฎหมายเท่าที่จำเป็นและกฎหมายนั้นจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ แต่ร่างกฎหมายฉบับคณะรัฐมนตรีบัญญัติให้ประชาชนที่ประสงค์จะชุมนุมสาธารณะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าต่อผู้บัญชาการ ตำรวจนครบาล หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่จัดการชุมนุม เพื่อจัดการชุมนุมไม่น้อยกว่า ๗๒ ชั่วโมง ก่อนเริ่มการชุมนุม หากแจ้งการจัดการชุมนุมน้อยกว่าระยะเวลาดังกล่าวจะต้องขออนุญาตจากบุคคลดังกล่าวเสียก่อน รวมทั้งการเดินขบวนก็ต้องขออนุญาตด้วยเช่นกัน ย่อมทำให้การใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่ต้องการแสดงออกเพื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วนจะกระทำไม่ได้ จึงเป็นการออกกฎหมายที่กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญของการใช้เสรีภาพในการชุมนุม และไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น ถือว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญ เพราะการใช้เสรีภาพในการชุมนุมไม่จำเป็นต้องขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้จัดการชุมนุมเพียงแต่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อขอให้อำนวยความสะดวกเพื่อให้การชุมนุมเป็นไปโดยเรียบร้อย หากการชุมนุมนั้นจะกระทบต่อความสะดวกของประชาชนในการใช้ที่สาธารณะ รัฐต้องจัดการให้ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ใช้ ที่สาธารณะได้ใช้สิทธินั้นอย่างเสมอภาคกัน
๒.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐ มาตรา ๕๗ ซึ่งกำหนดให้การออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ แต่การออกกฎหมายฉบับนี้ถือว่าส่งผลกระทบต่อการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนอย่างกว้างขวาง แต่ในกระบวนการและขั้นตอนการออกกฎหมายดังกล่าวกลับขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่ใช้เสรีภาพในการชุมนุม จึงขัดต่อหลักการการมีส่วนร่วมดังกล่าวข้างต้น
๓. สำหรับการใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีการออกกฎหมายฉบับนี้ เพื่อแก้ปัญหาการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่มีกฎหมายอาญาและเจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายได้อยู่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่รัฐละเลยเพิกเฉยไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จนก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อสาธารณะอย่างกว้างขวาง ดังนั้น การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงควรปรับปรุงประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่อย่างจริงจัง แทนการออกกฎหมายฉบับนี้
๔. ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถบรรลุเจตนารมณ์ในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมได้ หากนำรูปแบบการชุมนุมทางการเมืองมาเป็นแม่แบบในการร่างกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถควบคุมการชุมนุมทางการเมืองได้ แต่จะมีผลบังคับใช้กับการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธของประชาชน ที่ชุมนุมเพื่อเรียกร้องการเข้าถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และการแก้ไขปัญหา ทั้งที่ผ่านมาไม่ปรากฏว่ามีการชุมนุมในลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียหรือความรุนแรงแต่อย่างใด จึงอาจเป็นการใช้กฎหมายที่เป็นการเลือกปฏิปัติที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น แทนที่จะออกกฎหมายควบคุมการชุมนุม รัฐบาลควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลการชุมนุมที่ได้รับการฝึกฝนสำหรับการควบคุมฝูงชน เข้าใจจิตวิทยามวลชน และสามารถตัดสินใจหรือปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองเสรีภาพของผู้ชุมนุม และคุ้มครองความสะดวกของประชาชนอื่นที่จะใช้ที่สาธารณะเพื่อไม่ให้มีการกระทบกันของเสรีภาพของทั้งฝ่ายอย่างเกินสมควร
ด้วยเหตุดังกล่าว องค์กรสิทธิมนุษยชนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งและคัดค้านการออกกฎหมายเพื่อควบคุมจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมฉบับนี้ เพราะเชื่อว่าสังคมสามารถเรียนรู้ จัดการและพัฒนาการใช้เสรีภาพในการชุมนุมร่วมกันได้ ผู้ชุมนุมมีหลักการและกฎกติการ่วมกันในการชุมนุม คือสงบ ปราศจากอาวุธและไม่กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าการออกกฎหมายไม่สามารถแก้ปัญหาได้เสมอไป แต่การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความเป็นจริงน่าจะเป็นทางออกที่สังคมสามารถจัดการและเรียนรู้ร่วมกันได้ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน ในทางกลับกันหากกฎหมายออกมาโดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงย่อมก่อให้เกิดปัญหาและไม่สามารถบังคับใช้
ด้วยความเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ อิสาน
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
Comments
ก็เพราะควบคุมกันไม่ได้นั่นแหละครับ ถึงเอากฎหมายมาควบคุม
บอกกันดีๆแล้วก็ไม่ฟัง เจ้าหน้าที่เค้าก็กลัวเป็น เห็นคนเยอะเลยไม่กลัวตำรวจ ทหาร ก็รู้กันอยู่ หรือทำเป็นไม่รู้เรื่องกัน มันคุมคนไม่อยู่อยู่แล้ว เค้าเลยออกกฎหมายออกมา อยากเจริญเหมือนบ้านเมืองต่างประเทศเขาไม่ใช่เหรอ เค้าก็ออกกฎหมายมาให้เหมือนแล้วนี่ไง จะเอายังไงอีกค้าบพี่น้อง
หรือจะต้องให้เขามาชุมนุมที่หน้าบ้านท่าน เขาขยะมาทิ้งหน้าบ้านท่าน เอาขรี้มาทิ้งหน้าบ้านท่านดูก่อนไหม ถึงจะรู้สึก
คนไทยมันจะเสรีภาพเกินไป จนเกินขอบเขตความมีศีลธรรมแล้ว มีสติกันบ้าง ทำอะไร
บ้านผมอยู่หลังอนุเสารีย์ประชาธิปไตบ ม็อบใครไปใครมา ฝ่ายไหน ก็มาทิ้งขรี้ไว้หน้าบ้านผม ถ้าเอาจริงๆ ขรี้อาจยังไม่เคยเห็น แต่ เยี่ยว กลิ่นคลุ้งปากซอยบ้านเต็มไปหมด
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.ฉบับนี้
ผมเห็นใจเจ้าหน้าที่ เพราะฉะนั้นทุกความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น จึงไม่เคยบ่น โทษ หรือด่า ตำรวจ หรือทหาร เพราะเค้าไม่รู้จะทำยังไงจริงๆ แต่การที่มีกฎหมายฉบับนี้ ก็ไม่เห็นมีมาตราไหน ที่เขียนช่วยให้เค้าหายกลัวที่จะทำงานกับม็อบขนาดใหญ่เหล่านี้ได้เลย
ผมว่าการคัดค้าน พรบ ฉบับมันดีแล้วถ้าไม่คัดค้างกฏหมาย ฉบับ นี่แล้วก็จะตกเป็นเครืองมือขอ
รัฐบาลถ้าที่จะอาศัยข้อกฏหมาย ออกมาบังคับใช้โดยไม่เป็นธรรมกับผู้ชุมนุมในกฏหมายร่างรัฐธรรมนูญในบัจจุบันก็ดีอยู่แต่การใช้กฎหมายต้องบังใช้ให้ถูกหลักใน มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจ
โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
.มาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่าการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยกฎหมายเท่าที่จำเป็นและกฎหมายนั้นจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ แต่ร่างกฎหมายฉบับคณะรัฐมนตรีบัญญัติให้ประชาชนที่ประสงค์จะชุมนุมสาธารณะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าต่อผู้บัญชาการ ตำรวจนครบาล หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่จัดการชุมนุม เพื่อจัดการชุมนุมไม่น้อยกว่า ๗๒ ชั่วโมง ก่อนเริ่มการชุมนุม หากแจ้งการจัดการชุมนุมน้อยกว่าระยะเวลาดังกล่าวจะต้องขออนุญาตจากบุคคลดังกล่าวเสียก่อน รวมทั้งการเดินขบวนก็ต้องขออนุญาตด้วยเช่นกัน ย่อมทำให้การใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่ต้องการแสดงออกเพื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วนจะกระทำไม่ได้ จึงเป็นการออกกฎหมายที่กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญของการใช้เสรีภาพในการชุมนุม และไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น ถือว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญ เพราะการใช้เสรีภาพในการชุมนุมไม่จำเป็นต้องขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้จัดการชุมนุมเพียงแต่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อขอให้อำนวยความสะดวกเพื่อให้การชุมนุมเป็นไปโดยเรียบร้อย หากการชุมนุมนั้นจะกระทบต่อความสะดวกของประชาชนในการใช้ที่สาธารณะ รัฐต้องจัดการให้ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ใช้ ที่สาธารณะได้ใช้สิทธินั้นอย่างเสมอภาคกัน
มาตรา ๖๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะและเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือระหว่างเวลาที่มี่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประเทศใช้กฎอัยการศึก
กฎหมาย ปัจจุบันก็ดีอยู่ผมขอคัดค้านไม่เห็นดัวยกับการออก พรบ ที่จะบังคับใช้ในอนาค
ถ้ามาบังใช้ได้จริงมีผลกระทบต่อการชุมนุมโดยสงบแต่การชุมนุมนั้นมีหลายกรุ่มเช่นยกตัวอย่าง กรุ่มชาวไร่ชาวนา กรุ่มม๊อบโรงงาน และกลุ่มสี่แต่งๆๆมากมาย
มันขึ้นอยู่กับการใช้กฎหมายของรัฐธรรมนูญปี 50 บังใช้ให้ถูกต้องไม่ๆจำต้องออกมา ร่าง
พรบ ใหม่ขึ้นมาอีกนอกซักจากรัฐบาลมีเจนนาที่จะไม่บริสุทธิ์ใจในการจะออกกฎหมายริดรอนสิทธิของประชาชนในการชุมนุมโดยอย่างสงบสุก
ผมว่าการคัดค้าน พรบ ฉบับมันดีแล้วถ้าไม่คัดค้างกฏหมาย ฉบับ นี่แล้วก็จะตกเป็นเครืองมือขอ
รัฐบาลถ้าที่จะอาศัยข้อกฏหมาย ออกมาบังคับใช้โดยไม่เป็นธรรมกับผู้ชุมนุมในกฏหมายร่างรัฐธรรมนูญในบัจจุบันก็ดีอยู่แต่การใช้กฎหมายต้องบังใช้ให้ถูกหลักใน มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจ
โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
.มาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่าการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยกฎหมายเท่าที่จำเป็นและกฎหมายนั้นจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ แต่ร่างกฎหมายฉบับคณะรัฐมนตรีบัญญัติให้ประชาชนที่ประสงค์จะชุมนุมสาธารณะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าต่อผู้บัญชาการ ตำรวจนครบาล หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่จัดการชุมนุม เพื่อจัดการชุมนุมไม่น้อยกว่า ๗๒ ชั่วโมง ก่อนเริ่มการชุมนุม หากแจ้งการจัดการชุมนุมน้อยกว่าระยะเวลาดังกล่าวจะต้องขออนุญาตจากบุคคลดังกล่าวเสียก่อน รวมทั้งการเดินขบวนก็ต้องขออนุญาตด้วยเช่นกัน ย่อมทำให้การใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่ต้องการแสดงออกเพื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วนจะกระทำไม่ได้ จึงเป็นการออกกฎหมายที่กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญของการใช้เสรีภาพในการชุมนุม และไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น ถือว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญ เพราะการใช้เสรีภาพในการชุมนุมไม่จำเป็นต้องขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้จัดการชุมนุมเพียงแต่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อขอให้อำนวยความสะดวกเพื่อให้การชุมนุมเป็นไปโดยเรียบร้อย หากการชุมนุมนั้นจะกระทบต่อความสะดวกของประชาชนในการใช้ที่สาธารณะ รัฐต้องจัดการให้ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ใช้ ที่สาธารณะได้ใช้สิทธินั้นอย่างเสมอภาคกัน
มาตรา ๖๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะและเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือระหว่างเวลาที่มี่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประเทศใช้กฎอัยการศึก
กฎหมาย ปัจจุบันก็ดีอยู่ผมขอคัดค้านไม่เห็นดัวยกับการออก พรบ ที่จะบังคับใช้ในอนาค
ถ้ามาบังใช้ได้จริงมีผลกระทบต่อการชุมนุมโดยสงบแต่การชุมนุมนั้นมีหลายกรุ่มเช่นยกตัวอย่าง กรุ่มชาวไร่ชาวนา กรุ่มม๊อบโรงงาน และกลุ่มสี่แต่งๆๆมากมาย
มันขึ้นอยู่กับการใช้กฎหมายของรัฐธรรมนูญปี 50 บังใช้ให้ถูกต้องไม่ๆจำต้องออกมา ร่าง
พรบ ใหม่ขึ้นมาอีกนอกซักจากรัฐบาลมีเจนนาที่จะไม่บริสุทธิ์ใจในการจะออกกฎหมายริดรอนสิทธิของประชาชนในการชุมนุมโดยอย่างสงบสุก