โครงการบรรยายสาธารณะ เรื่อง
Community and democracy:
Why civil society is essential to democratic reform?
14 มีนาคม 2554 เวลา 8.30 – 12.30 น.
ห้องมหาจักรีสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย
สถาบันวิจัยสังคม ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง
เครือข่ายจุฬาฯ นานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา
หลักการและเหตุผล
นับจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่วาทกรรมทุนสังคมของธนาคารโลก ถูกนำเข้ามาในสังคมไทย ในนามของโครงการดำเนินการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment Proect-SIP และ Social Investment Fund-SIF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จนถึงวันนี้ วาทกรรมทุนสังคมก็มีอายุกว่า 10 ปีแล้ว สังคมไทยได้ทบทวนรื้อฟื้นทุนสังคม การผลักดันแนวคิดสู่การปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ อย่างมากมาย โดยปฏิเสธไม่ได้ว่า วาทกรรมหลักของทุนสังคมที่ทรงอิทธิพลที่สุดคือ วาทกรรมทุนสังคมของ โรเบิร์ต พุทนัม ที่สังคมไทยรับผ่านมาจากโครงการของธนาคารโลก ในสังคมไทย วาทกรรมทุนทางสังคมได้รับความสนใจและถูกนำไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาในมิติต่างๆ อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสังคม ชุมชน ประชาสังคม และประชาธิปไตย โดยนอกจากจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูชุมชนหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 แล้ว ยังได้รับการหยิบยกเป็นวาระสำคัญในการพัฒนาของชาติในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (การเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ส่วนในวงการพัฒนา นักพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชนได้ให้ความสนใจทุนทางสังคม ในฐานะเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน สำหรับในวงวิชาการก็ได้มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของทุนสังคมต่อการพัฒนาสังคมในแง่มุมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังขาดแง่มุมของการสร้างเครือข่ายเพื่อยกระดับแนวคิดและปฏิบัติการของแนวคิดทุนสังคม
ดังนั้น ในวาระที่ศาสตราจารย์ ดร.โรเบิร์ต พุทนัม ผู้ที่มีอิทธิพลหลักในแนวคิดทุนสังคม มาเยี่ยมประเทศไทย สถาบันวิจัยสังคม ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง เครือข่ายจุฬาฯ นานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะจัดให้มีการบรรยายสาธารณะในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างการอธิบายและปฏิบัติการของแนวคิดทุนทางสังคม ชุมชน และประชาสังคม ประชาธิปไตยกับการเมืองการปกครองไทย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับความเข้าใจในแนวคิดทุนทางสังคม ชุมชน ประชาสังคม กับสังคมประชาธิปไตย
2. เพื่อพัฒนาข้อสรุปเชิงนโยบายในเรื่องทุนทางสังคม ชุมชน ประชาสังคม ในบริบทของสังคมประชาธิปไตยไทย
รูปแบบกิจกรรม
การบรรยายสาธารณะโดยศาสตราจารย์ ดร.โรเบิร์ต พุทนัม (Prof.Dr.Robert D.Putnam) ในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2554 ประกอบกับการร่วมอภิปรายและซักถามโดยผู้เข้าร่วม
กลุ่มเป้าหมาย
นักวิชาการ นักพัฒนาในภาครัฐและเอกชน องค์กรประชาสังคม เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนโยบาย ผู้นำชุมชน นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจประมาณ 200 คน
Tentative Programme
Public Lecture
Community and democracy:
Why civil society is essential to democratic reform?
March 14, 2011
Mahachakri Sirindhorn Conference Room
ChulalongkornUniversity
8.30 – 9.00 | Registration
|
9.00 – 9.10 | Welcome Remark by Prof. Dr. Suchit Boonbongkarn, Member, Chulalongkorn University Council and Chair of the Political Development Council
|
9.10 – 9.30 | Introduction of the Speaker by Assoc.Prof.Dr. Suthiphand Chirathivat, Director of CGN, Chula
|
9.30 – 10.15 | Public Lecture by Prof. Robert D.Putnam JohnF.Kennedy School of Government, Harvard University
|
10.15 – 10.30 | Coffee break
|
10.30 – 11.15 | Panel Response: - Dr.Uthai Dulayakasem (Silpakorn University) - Assoc.Prof.Dr. Chantana Banpasirichote (Chulalongkorn University) - Prof.Dr.Tanet Charoenmuang (Chiangmai University) - Prof. Dr.Charas Suwanmala* (Chulalongkorn University) Moderator: Prof.Surichai Wun’gaeo
|
11.30 – 12.00 | Open discussion
|
12.00 – 12.15 | Closing Remark |
Organizers:
Chulalongkorn University Social Research Institute (CUSRI)
Centre for Peace and Conflict Studies, Chulalongkorn University
Chula Global Network (CGN)
Faculty of Political Science, Chulalongkorn University
ThailandEnvironmental Institute (TEI)
NRCT (Sociology Committee)
หมายเหตุ: บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีการแปลภาษาไทย