ปัจจุบันกิจกรรมการรับน้องของสถาบันการศึกษาต่างๆ ดูเหมือนมีความรุนแรง และเลยเถิดจากประเพณีอันดีงามของไทยที่มีมาแต่ช้านานเป็นอันมาก ดังจะเห็นได้จากทุกปีที่จะมีข่าวเกี่ยวการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของนักศึกษาใหม่จากการรับน้อง รวมถึงการร้องเรียนถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสมของรุ่นพี่ที่มีต่อรุ่นน้องไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการใช้วาจาที่หยาบคายและดุดันเพื่อกดดันรุ่นน้อง การบังคับรุ่นน้องให้ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย และสิ่งที่เข้าข่ายลามกอนาจาร บางครั้งก็มีการคุกคามทางเพศต่อนักศึกษาทั้งหญิงและชาย เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในสถาบันซึ่งเรียกได้ว่าเป็นแหล่งที่จะผลิตบัณฑิตผู้ที่มีความรู้ คู่จริยธรรม
สิ่งที่มักถูกนำมากล่าวอ้างเพื่อจัดกิจกรรมรุนแรงก็มักจะไม่พ้นเรื่องของ ถ้าไม่มีการรับน้องจะเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
1) น้องในรุ่นจะไม่รู้จักกัน รุ่นน้องจะไม่รัก ไม่สามัคคีกัน อันนี้ผมว่ามันก็ไร้สาระ เหมือนดูถูกว่ารุ่นน้องปี 1 วุฒิภาวะน้อยกว่าตอนเรียนมัธยมหรืออย่างไร เพราะตอนเรียนมัธยมไม่เห็นต้องมีใครมากดดัน แต่ทุกคนก็สามารถรู้จักกันได้ เพื่อนๆในชั้นก็รักกันบางคนคบกันมายาวนานกว่าเพื่อนสมัยมหาลัยเสียอีก เหตุใดรุ่นพี่จึงคิดว่ารุ่นน้องปี 1 ที่เข้าไปจะไม่สามารถเข้ากับใครได้ถ้าไม่มีคนกดดัน ระยะเวลาสี่ปีมันก็มากพอที่จะทำให้ก่อเกิดความสัมพันธ์ของคนในรุ่นอยู่แล้ว
2) เพื่อให้รุ่นน้องสามารถทนรับสภาพที่กดดันเมื่อต้องออกไปทำงานนั้น ฟังดูไม่สมเหตุสมผล เพราะรุ่นพี่เองก็ไม่เคยทำงานจะทราบถึงสภาพที่แท้จริงในการทำงานได้อย่างไร คนที่อายุต่างกันหนึ่งปีจะรู้อะไรมากมายพอที่จะมาสอนได้เหรอดีไม่ดีก็สอนกันผิดๆอีก แต่ถ้ามองในแง่ของการฝึกให้ทนรับความกดดันจากการทำงานนั้น เหตุผลนี้น่าจะถูกใช้กับรุ่นพี่ที่กำลังจะจบออกไปมากกว่า เพราะกำลังจะก้าวพ้นรั้วมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่โลกของการทำงานจริงๆ ซึ่งอาจทำให้มีมาตรฐานโดยอาจจัดเป็นคอร์สให้สอดคล้องกับสาขาวิชาที่นักศึกษาจะจบออกไปทำงานโดยใช้ระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา เช่น ในสายวิศวกรรม ก็ให้เชิญวิทยากรที่ทำงานในสายนี้เป็นผู้มาอบรม แบบเป็นเรื่องเป็นราวไปเลย เพราะว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ในสายงานจริงๆ ไม่ใช่ให้รุ่นพี่ที่ไม่มีประสบการณ์ที่มีแต่ความคึกคะนองมาทำกันแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
3) ให้รุ่นน้องต้องเคารพรุ่นพี่ อันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้กับสังคมไทยเพราะ ปกติสังคมไทยเป็นสังคมที่ให้ความเคารพผู้ที่มีอาวุโสกว่าอยู่แล้ว ปกติใครที่อายุมากกว่าเราก็มักเรียกว่าพี่กันอยู่แล้ว การที่บังคับให้รุ่นน้องทุกคนต้องไหว้รุ่นพี่นั้นก็ถือเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เพราะทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อน การที่น้องปี 1 ต้องถูกบังคับให้แต่งตัวแบบนึงจึงถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ทั้งนี้และทั้งนั้นหากรุ่นพี่ต่างหากที่ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง โดยการแต่งกายให้เหมาะสม เมื่อรุ่นน้องเห็นแบบอย่างที่ดีก็จะทำตามโดยไม่ต้องมีใครบังคับ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า การรับน้องแบบรุนแรงนั้นเป็นสิ่งที่ไร้สาระและไม่เหมาะสมกับสังคมไทย สมควรเป็นสิ่งต้องห้ามในสถาบันการศึกษาทุกแห่ง เพราะเป็นการบ่มเพาะความรุนแรงแก่เยาวชน เป็นการใส่ชุดความดิดที่ไม่ถูกต้องให้แก่อนาคตของประเทศชาติ
Comments
เป็นข้อเขียนเรื่องไม่เห็นด้วยกับการรับน้องที่ดีเป็นอันดับต้นๆ เท่าที่เคยเห็นมาเลยครับ
แต่ยังไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด เพราะรับน้องไม่ได้เหมือนกันหมด แต่ละที่ก็ต่างกัน เท่าที่ผมเห็นมาคนทำรับน้องที่ยึดอุดมการณ์หลัก3ข้อนั้น เหลือน้อยลงทุกทีแล้ว เพราะมันไม่มีเหตุผลจริงๆ อย่างที่คุณว่า (ปัจจุบันคนทำไม่ค่อยมีหลักยึดเท่าไร 555)
แต่กระนั้นการรับน้องอาจจะมีข้อดีอะไรบางอย่างบ้าง ทำให้มันอยู่มาได้
หากเชื่อในเรื่องความเท่าเทียม และสิทธิที่จะคิดตัดสินใจได้ของแต่ละคน การรับน้องโหด การบังคับ การว๊าก ไม่ใช่คำตอบ แต่การที่มันยังอยู่เพราคนส่วนใหญ่ชอบมัน ไม่ว่าจะชอบด้วยเหตุอะไร ก็ต้องเคารพความชอบเหล่านั้นด้วย
ขอบคุณสำหรับคำชมครับ
แน่นอนครับ ผมเชื่อในเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม ทุกคนมีสิทธิที่จะชอบหรือไม่ชอบอะไรก็ตาม แต่ในความชอบนั้นต้องไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อื่น และไม่ทำความเดือดร้อนแก่สังคม ด้วยเหตุนี้สังคมจึงต้องมีกฏกติกามาบังคับใช้ไงครับ เพราะความชอบหรือไม่ชอบของคนส่วนใหญ่บางครั้งถ้าไม่ควบคุมไว้ก็อาจทำให้สังคมไม่เป็นระเบียบ เช่นคนส่วนใหญ่ชอบที่จะทิ้งขยะตามอำเภอใจ หากเป็นเช่นนี้ถนนคงเต็มไปด้วยขยะ เราจึงต้องออกกฎหมายห้ามทิ้งถังขยะในที่สาธารณะ คนส่วนใหญ่ชอบขับรถเร็วเราจึงต้องออกกฏควบควมความเร็วเพื่อมิให้เิกิดอันตราย ด้วยเหตุนี้ความชอบจึงต้องมาพร้อมกับความถูกต้อง เพราะความชอบมาพร้อมกับความถูกใจสังคมคงวุ่นวายมาก เช่นผู้ชายชอบมีเซ็กซ์กับผู้หญิงที่ไม่รู้จักโดยใช้กำลังบังคับแบบนี้ก็เป็นความชอบที่มาพร้อมกับความถูกใจ แต่ไม่ถูกต้อง
ส่วนที่บอกว่าที่มันยังอยู่นั้นเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ชอบ งั้นแปลว่าคนส่วนใหญ่ชอบอาชญากรรม เพราะอาชญากรรมยังดำรงอยู่คู่สังคม อย่างงั้นหรือ เราคงใช้ตรรกะแบบนั้นมาคิดกับเรื่องแบบนี้ไม่ได้หรอกครับในการรับน้องด้วยความรุนแรงก็เช่นเดียวกัน การรับน้องเป็นปัญหาความรุนแรงที่ไม่ควรมีอยู่ในคนระดับปัญญาชน เพราะผู้มีปัญญาย่อมไม่ใช้ความรุนแรง แต่ใช้เหตุและผลในการดำเนินชีวิต
การรับน้องไม่ใช่สิ่งสำคัญไม่ใช่ความจริงอันเป็นสัจจนิรันดร์ ถึงขนาดที่ว่าจะต้องดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด และต้องอยู่ควบคู่ไปกับสังคมชั่วกัลปาวสาน แต่มันเป็นเพียงรูปแบบนึงของความเป็นไปในสังคมที่่เิกิดขึ้น ได้ และสามารถเสื่อมสลายไปได้ตามกาลเวลา เช่นเดียวกับการดับสูญของวิถีสังคมบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นไปในโลกยุคปัจจุบัน
ขอบคุณสำหรับคำชมครับ
แน่นอนครับ ผมเชื่อในเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม ทุกคนมีสิทธิที่จะชอบหรือไม่ชอบอะไรก็ตาม แต่ในความชอบนั้นต้องไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อื่น และไม่ทำความเดือดร้อนแก่สังคม ด้วยเหตุนี้สังคมจึงต้องมีกฏกติกามาบังคับใช้ไงครับ เพราะความชอบหรือไม่ชอบของคนส่วนใหญ่บางครั้งถ้าไม่ควบคุมไว้ก็อาจทำให้สังคมไม่เป็นระเบียบ เช่นคนส่วนใหญ่ชอบที่จะทิ้งขยะตามอำเภอใจ หากเป็นเช่นนี้ถนนคงเต็มไปด้วยขยะ เราจึงต้องออกกฎหมายห้ามทิ้งถังขยะในที่สาธารณะ คนส่วนใหญ่ชอบขับรถเร็วเราจึงต้องออกกฏควบควมความเร็วเพื่อมิให้เิกิดอันตราย ด้วยเหตุนี้ความชอบจึงต้องมาพร้อมกับความถูกต้อง เพราะความชอบมาพร้อมกับความถูกใจสังคมคงวุ่นวายมาก เช่นผู้ชายชอบมีเซ็กซ์กับผู้หญิงที่ไม่รู้จักโดยใช้กำลังบังคับแบบนี้ก็เป็นความชอบที่มาพร้อมกับความถูกใจ แต่ไม่ถูกต้อง
ส่วนที่บอกว่าที่มันยังอยู่นั้นเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ชอบ งั้นแปลว่าคนส่วนใหญ่ชอบอาชญากรรม เพราะอาชญากรรมยังดำรงอยู่คู่สังคม อย่างงั้นหรือ เราคงใช้ตรรกะแบบนั้นมาคิดกับเรื่องแบบนี้ไม่ได้หรอกครับในการรับน้องด้วยความรุนแรงก็เช่นเดียวกัน การรับน้องเป็นปัญหาความรุนแรงที่ไม่ควรมีอยู่ในคนระดับปัญญาชน เพราะผู้มีปัญญาย่อมไม่ใช้ความรุนแรง แต่ใช้เหตุและผลในการดำเนินชีวิต
การรับน้องไม่ใช่สิ่งสำคัญไม่ใช่ความจริงอันเป็นสัจจนิรันดร์ ถึงขนาดที่ว่าจะต้องดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด และต้องอยู่ควบคู่ไปกับสังคมชั่วกัลปาวสาน แต่มันเป็นเพียงรูปแบบนึงของความเป็นไปในสังคมที่่เิกิดขึ้น ได้ และสามารถเสื่อมสลายไปได้ตามกาลเวลา เช่นเดียวกับการดับสูญของวิถีสังคมบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นไปในโลกยุคปัจจุบัน
การรับน้องแบบบังคับนั้น ก็ไม่เห็นด้วยเหมือนกัน และคนที่ทำก็ไม่มีสิทธิำทำกันคนอื่นเช่นนั้น
แต่ที่ผมเสนอให้เคารพ หมายถึงรับน้องที่น้องก็สมัครใจเข้าร่วม แล้วพี่ก็ทำกิจกรรมที่อาจจะเป็นรูปแบบมีแต่สนุกสนาน หรืออาจจะโหดบ้าง มีว๊ากบ้าง แต่สุดท้ายน้องก็ยินดีเข้าร่วม ซึ่งจริงๆ ผมก็ไม่ได้ชอบแบบนั้น แต่ก็รู้สึกเคารพคนที่ชอบ และก็ไม่ขัดขวางถ้าเขาจะทำต่อไป
แต่ทั้งหมดทั้งปวง ผมไม่เห็นด้วยกับการให้มหาวิทยาัลัยเข้ามามีบทบาทควบคุม ไม่มีใครชอบให้มีอำนาจเหนือเข้ามาจัดการหรอก และทุกครั้งที่เีรียกร้องให้อำนาจรัฐเข้ามาทำอะไร ก็จะล้มเหลว เต็มไปด้วยการเลือกปฏิบัติ ทุกครั้ง
เห็นด้วยครับ กับการยกเลิกการรับน้องแบบรุนแรง และไม่ถูกต้อง
แต่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกการรับน้องที่ดีนะครับ เพราะการรับน้องก็เปรียบเสมือนการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพี่ๆ ทำให้รุ่นพี่และรุ่นน้องรู้จักกันได้เร็วขึ้น มีความไว้วางใจและเชื่อมั่นซึ่งกันและกันมากขึ้น
และสามารถขอคำปรึกษาจากพี่ๆ ได้สนิทใจขึ้น เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียน หรือการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ที่แตกต่างจาก ม.ปลาย
จริงๆ แล้วการรับน้องแบบรุนแรง ถ้ามีคณะอาจารย์เข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะถ้ามีคณะอาจารย์มาควบคุมแล้ว ก็จะไม่มีอะไรไม่ดี หรือเลยเถิด แต่การรับน้องในปัจจุบัน บางสถาบันไม่มีอาจารย์เข้าร่วม อาจเป็นเพราะไม่อยากวุ่นวาย หรือสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ จึงทำให้การรับน้องเกิดการเลยเถิดขึ้นได้
ประเพณีบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ดีงามครับ แต่ถ้ามันถูกเปลี่ยนแปลงด้วยสิ่งใหม่ที่ไม่ดีแล้ว มันก็ย่อมเลวลงได้ จึงต้องมีการสืบทอดกันอย่างถูกต้อง เพื่อคงไว้ซึ่งความสวยงามของวัฒนธรรมประเพณีนั้นๆ
ผมมีประเด็นข้อเสนอดังนี้
มหาวิทยาลัยต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ดำเนินการมิให้การรับน้อง มีการใช้ความรุนแรง
หรือ มีลักษณะเป็นการละเมิด สิทธิ เสรีภาพ หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าทางใดๆก็ตาม
รวมทั้งต้องจัดการมิให้การรับน้องมีลักษณะเป็นสภาพบังคับเสมือน กฎหมายจารีตประเพณีได้
นแกจากนั้นจะต้องควบคุมงบประมาณที่จะถูกนำไปใช้สำหรับรับน้องมิให้ใช้มากจนฟุ่มเฟือย
นิสิต นักศึกษา ปี 1 มีสิทธิ์ในการชั่งใจว่า จะไปรับน้องได้หรือไม่ก็ได้ และ ต้องจัดการไม่ให้มีการลงโทษทางสังคมต่อ คนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมรับน้อง
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะ ผมเคยศึกษาอยู่มหาลัยเอกชนชื่อดัง รั้วน้ำเงินขาวแดง
ที่คณะผมจัดให้มีการรับน้อง(แต่ทางคณธเขาเรียกว่าออกค่าย) ซึ่งพอผมไปและได้สัมพัส
เป็นการรับน้องที่ถือว่ามีกฎเกณฑ์ มีระเบียบ แต่ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
1 พี่ว้ากห้ามด่าน้องรายตัว ห้ามใช้คำหยาบคายใดๆทั้งสิ้น ถ้าจะด่าให้ด่ารุ่นพี่ และไม่มีการทำโทษน้อง
ที่สำคัญ ว้ากจะลงว้ากแค่ 30 นาทีพอเป็นกระสัย
2 ถ้าน้องไม่สมัครใจทำกิจกรรมอะไรสามารถบอกรุ่นพี่ได้ตรงๆ และ จะไม่มีการบังคับให้ทำกิจกรรมนั้นๆ
3 ไม่มีการประชุมเชียร์กันดึกๆดื่นๆ ใครสนใจจะทำสแตนเชียร์หรือเป็นหลีด ให้มาลงสมัครเองด้วยความสมัครใจไม่มีการบังคับใดๆทั้งสิ้น
4 ไม่มีการเก็บเงินบำรุงคณะ(อันนี้เจอมาเองตอนย้ายมหาลัยเข้ามหาลัยย่านเมืองเอกเก็บหัวละ3000เข้าคณะและหายไปในพริบตา) ซึ่งผมคิดว่าอันนี้ทำลับหลังคณะบดี
5 การทำกิจกรรมออกค่ายนอกสถานที่ต่างๆ จะมีอาจารย์ประจำคณะเดินทางไปสอดส่องดูแลความเรียบร้อยทุกครั้ง
ซึ่งอันนี้ผมคิดว่ามันเป็นการรับน้องในฝันของหลายๆคนนะ เพราะเขาไม่มีคำว่า บังคับ เขามีแต่คำว่า สมัครใจ ซึ่งพี่ๆทุกคน จะใช้ใจตัวเองซื้อใจน้องมาโดยไม่มีการบังคับ ใครไม่เคารพพี่คนไหนไม่อยากไหว้ไม่เป็นไรพี่ไม่ว่า น้องคนไหนแก่กว่าพี่ แต่เข้ามาทีหลังอยากไหว้รุ่นพี่ก็ไม่เป็นไร ไม่อยากไหว้ก็ไม่เป็นไร
ไม่มีการบังคับให้ใส่ พลีทหรือสแลคในช่วงเทอม1
ซึ่งผมว่าการรับน้องควรปรับปรุงไปตามยุคสมัย เพราะสมัยนี้หลายคนเคารพคณที่ความคิดและการแสดงออกไม่ใช่เคารพเพราะว่าเป็นรุ่นพี่ในมหาลัย กาลเวลาเปลี่ยนไป คนเราก็ควรเปลี่ยนแปลง
ผมกล้าพูดเลยว่ามหาลัยไหนมีรับน้องแบบเดิมๆ ว้ากแบบเดิมๆ ลงลานรับน้องแบบเดิมๆ มหาลัยนั้น ล้าสมัยที่สุด
ให้มีเฉพาะรับน้องที่จัดโดยสถาบัน/คณะ แต่ไม่ให้มีการจัดกันเองโดยรุ่นพี่นอกสถานที่
ให้จัดได้ในสถานที่เท่านั้นและมี อ. 1 คนต่อ 1 กลุ่มเป็นอย่างน้อย เพื่อเป็นการแนะนำสถาบันและคณะ การดำรงชีวิตในสถาบัน
เท่านี้ก็หมดปัญหาเรื่องความรุนแรง แต่กลับได้ความรักที่เกิดกับสถาบัน คณะ รุ่นพี่ เพื่อน
ผมไม่เห็นด้วยกับการรับน้องนะคับ เพราะว่าบางทีรุ่นพี่บางกลุ่มอาจรับน้องแรงเกินไปทำให้เกิดเหตุการณ์ตามข่าว ซึ่งพวกรุ่นพี่เหล่านี้จะมีสาเหตุที่ต้องรับน้องโหดเพราะ เก็บกดมาจากที่อื่นแล้วมาระบายที่รุ่น เพื่อความสนุกภายในกลุ่ม หรือเพื่อเพราะเมื่อก่อนรุ่นพี่เคยโดนรุ่นพี่ก่อนหน้านั้นทารุณแบบนี้เลยนำมาลงที่รุ่นน้องต่อ และอีกเรื่องคือการให้รุ่นน้องดื่มของมึนเมา เพราะบางคนไม่เคยกิน เคร่งศีล หรือแพ้ของมึนเมา อาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งคำพูดเหล่านี้รุ่นพี่ไม่เคยใส่ใจ รุ่นพี่ก็จะบอกว่า ไม่ได้ต้องกิน ถ้าไม่กินจะทำโทษ ไม่ว่าจะเป็นการชวนให้กินตอนรับน้องหรือรับน้องเสร็จแล้วชวนไปสังสรรค์ก็ตาม ไม่ควรบังคับ ถ้าเกิดนักศึกษาสุภาพสตรีกินของมึนเมาเข้าไปครั้งแรก หรือโดนหลอกให้กินจนเกิดอาการเมาอาจทำให้เกิดเหตุไม่คาดคิดได้ การรับน้องควรจะมีกรรมการมาตรวจสอบคววามเรียบร้อยหรือว่ากล่าวไม่ให้รับน้องโหด บางคนไม่อยากรับน้องเพราะว่ากลัวการถูกด่าถูกตระคอกจนทำให้เกิดอาการกลัววิตกและไม่อยากศึกษาต่อ หรือบางทีรุ่นพี่อาจจะว่าแรงไปหน่อยจนนักศึกษาเก็บเอาไปคิดจนเป็นเหตุได้
เรื่องแบบนี้อยู่ที่รุ่นพี่มากกว่าครับ ถ้ารับด้วยความจริงใจ ถึงแม้จะรุนแรง วาจา แต่สุดท้ายคือความหวังดี
ผมได้ดีก็เพราะได้เพื่อนตอนรับน้องครับ
ประสบการณ์การรับน้องผมว่าเป็นประสบการณ์ที่สำหรับรุ่นน้องที่จะได้พบปะรุ่นพี่ ...เพราะว่าเวลาเรียนจริงรุ่นน้องกับรุ่นพี่ไม่ค่อยจะได้เจอกันสักเท่าไร ทำให้ความสนิทสนมน้อยลง ....
จากมุมมองของผมนะ รุ่นพี่ที่ผมเคารพบางคน ผมไม่ได้เคารพจากตอนรับน้อง
แต่ผมเกิดความรู้จักเคารพจากที่พี่เขาทำตัวดี ซึ่งผมคิดว่ากิจกรรมรับน้องเนี่ย
น่าจะเปลี่ยนเป็นกิจกรรมสนุก ๆ เฮฮา เพื่อให้เกิดการรู้จักกันระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องในตอนแรกดีกว่า
บทความนี้เขียนออกมาได้ดีมากเลยครับ
เลิกรุนแรงได้ แต่เลิกรับน้องไม่ได้หรอก
มันกลายเป็น ประเพณี และประเพณี ไม่ต้องการ เหตุผล
ต่อให้มีการห้าม ก็มีการละเมิด หรือจัดในรูปแบบอื่นอยู่ดี
ที่ถูกคือ รณรงค์ ส่งเสริม ให้ สร้างสรรค์
รับน้องมีทั้งดีและไม่ดี
ถ้ารุ่นพี่ดี มันก็จะดีกับหลายๆอย่าง การเรียน ขอคำปรึกษาจากรุ่นพี่ได้
"น้องเดี๋ยวพี่ติววิชาเรียนให้เอาไหมครับ"
แล้วถ้ารุ่นพี่ไม่ดีล่ะ
"เฮ้ยรับน้องว่ะ คนไหนน่ารักบอกกันมั่งนะ"
มันเป็นดาบ 2 คม จริงๆรับน้องอาจารย์ควรจะดูแลด้วย(ให้มันทั่วถึงนะ)
ผมว่าการรับน้องเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่มันควรจะได้รับการควบคุมให้มากกว่านี้ การรับน้องที่ดีควรจะให้น้องๆ ได้มีความรู้สึกดีหลังจากการรับครับ (แม้ตอนรับอาจจะลำบากไปบ้าง)
ผมคิดว่านะครับในส่วนตัวมันเหมือนระบบเลีย ที่ถูกบ่มเพาะกันในอุดมศึกษา ที่มีให้เห็นกันในโรงงานทั่วไปเกือบทุกที่