สิทธิในแผ่นดินเกิด: สิทธิพื้นฐานด้านการจัดการทรัพยากรและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาจากประเทศโบลิเวีย

ร่วมกันสร้างโลกเย็นที่เป็นธรรม”
เนื่องในโอกาสที่การประชุมย่อยของอนุสัญญาสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งแรกของปี 2554 จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Working Group for Climate Justice: TCJ) และเครือข่าย จึงจัดกิจกรรมเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกในการตอบโจทย์หยุดโลกร้อนอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
 
วันอังคารที่ 5 เมษายน
เช้า 9.00 – 12.30
สถานที่:โรงแรมรอยัลรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง
สิทธิของแม่ธรณี – ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
SEMINAR: RIGHTS OF MOTHER EARTH - an introduction and discussion
 
ในการประชุมภาคประชาชนโลกเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิของแม่ธรณี หรือ World People's Conference on Climate Change and the Rights of Mother Earth ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโคชาบัมบา (Cochabamba) ประเทศโบลิเวีย ในวันที่ 22 เมษายน 2553 มีคำประกาศจุดยืนของภาคประชาชนร่วมกันออกมาที่รู้จักกันในชื่อว่า "Cochabamba People's Agreement" [http://pwccc.wordpress.com/2010/04/24/peoples-agreement/] ซึ่งขึ้นต้นด้วยประโยคว่า "โลกเราทุกวันนี้กำลังบาดเจ็บ และอนาคตของมวลมนุษยชาติกำลังตกอยู่ในอันตราย" เพราะ อารยะธรรมของเรากำลังจะถึงจุดวิกฤตเนื่องจากรูปแบบการพัฒนาที่เร่งทำลายล้าง มนุษย์และธรรมชาติตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม อันเป็นผลมาจากระบบการผลิตและการบริโภคที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งส่งเสริมแต่การแข่งขันแก่งแย่งความก้าวหน้า และแสวงหาผลประโยชน์อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้มนุษย์ถูกแยกจากธรรมชาติ และวางตัวเป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ โดยการแปรทุกอย่างให้เป็นสินค้าเพื่อการซื้อ-ขาย ตั้งแต่น้ำ ผืนดิน พันธุกรรม วัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นธรรม เชื้อชาติ สิทธิของประชาชน และชีวิต
 
ดัง นั้น หากจะแก้วิกฤตโลกในครั้งนี้ เราจำเป็นที่จะต้องสร้างระบบใหม่ เพื่อที่จะนำความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติกลับมา แต่ความสมดุลนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องเริ่มที่ความเท่าเทียมกันในบรรดามนุษย์ด้วย จึงเป็นที่มาของการนำเสนอ คำปฏิญญาสากลว่าด้วย "สิทธิของแม่ธรณี" หรือ "Rights of Mother Earth" ซึ่งเป็นแนวคิดที่อยู่บนหลักการพื้นฐานของความกลมกลืนและสมดุลระหว่างสิ่งมีชีวิตทุกชนิด, ความเกื้อกูล ความสามัคคี และความเสมอภาค, ความเป็นอยู่ที่ดีของส่วนรวมและความพึงพอใจกับความจำเป็นพื้นฐานของทุกคน, ความกลมกลืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ, การตระหนักยอมรับความเป็นมนุษย์ในสิ่งที่เป็นไม่ใช่สิ่งที่ครอบครอง, การปราศจากลัทธิล่าอาณานิคม จักรวรรดินิยม และการแทรกแซงทุกรูปแบบ, และ สันติภาพระหว่างคนและต่อโลก
 
ทั้ง นี้ แนวคิดนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนักในประเทศไทยและภูมิภาค ดังนั้น จึงได้เชิญวิทยากรจากประเทศโบลิเวีย มาเป็นวิทยากรในเวทีเสวนาครั้งนี้ ทั้งนี้ โบลิเวียถือเป็นประเทศต้นกำเนิดของคำประกาศที่นำเสนอแนวคิดนี้ อีกทั้งผู้แทนคณะเจรจาของประเทศโบลิเวีย ยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ข้อเสนอต่างๆ ภายใต้คำประกาศจุดยืนของภาคประชาชน ได้รับการกล่าวถึงและพิจารณาในเวทีนานาชาติเรื่องโลกร้อนด้วย
 
9.00 - 9.30 ลงทะเบียน
9.30 – 9.40 เปิดงานและดำเนินรายการ โดย จักรชัย โฉมทองดี
9.40 – 10.30 สิทธิในแผ่นดินเกิด: สิทธิพื้นฐานด้านการจัดการทรัพยากรและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาจากประเทศโบลิเวีย โดย Elizabeth Peredo Beltrán, ผู้อำนวยการ มูลนิธิโซลอน (Solon Foundation)
10.30 – 11.00 เสวนาต่อ โดย
- ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- พฤ โอ่โดเชา เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน
11.00 – 11.15 พัก อาหารว่าง
11.15 – 12.30 ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และปิดการเสวนา
**เวทีเสวนาใช้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย และมีการแปลทั้งสองภาษาด้วยหูฟัง**