รัฐธรรมนูนที่ใช้เป็นของจริงหรือของปลอม??

รัฐธรรมนูนที่ใช้เป็นของจริงหรือของปลอม??

vxdpass5 เมื่อ 23 พ.ค. 2554

รัฐธรรมนูน เป็น แนวทางปฏิบัติสูงสุด ประกอบด้วย การปกครองสูงสุด กฎหมายสูงสุด การใช้อำนาจสูงสุด(อธิปไตย) และ ความยุติธรรมสูงสุด

ตรงไหน กล่าวถึง การปกครองสูงสุด
ตรงไหน กล่าวถึง กฎหมายสูงสุด
ตรงไหน กล่าวถึง การใช้อำนาจสูงสุด(อธิปไตย)
ตรงไหน กล่าวถึง ความยุติธรรมสูงสุด
ดูแล้วมั่วไปหมด




คุณแสดงความคิดเห็นว่า
Vote
Get Adobe Flash player

Comments

Y@H@'s picture

<<<ตรงไหน กล่าวถึง กฎหมายสูงสุด>>>

>>การที่รัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายสูงสุดมีบัญญัติไว้ในตัวรัฐธรรมนูญเองครับ อยู่ในมาตรา 6 และเป็นหลักการที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายที่ว่าด้วยโครงสร้างขององค์กรสูงสุดในรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐด้วยกันเองหรือความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐกับประชาชน

ถ้าจะเปรียบไปก็ คือ กฎหมายแม่บท ซึ่งมีลำดับศักดิ์สูงที่สุดครับ กฎหมายที่ถูกตราโดยรัฐจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้  เนื่องจากตามทฤษฎีรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นสัญญาประชาคมที่ประชาชนในรัฐร่วมกันร่างขึ้นมา (พูดถึงกรณีรัฐธรรมนูญในการปกครองประชาธิปไตยนะครับ) เมื่อประชาชนเป็นผู้ร่าง ตัวรัฐธรรมนูญย่อมรองรับสิทธิเสรีภาพต่างๆของประชาชน ดังนั้นจึงต้องมีการรองรับสถานะของรัฐธรรมนูญให้มีสถานะสูงสุด คือ กฎหมายใดที่ตราออกมามีเนื้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญย่อมไม่สามารถบังคับใช้ได้ (ตามมาตรา 6 แห่ง รัฐธรรมนูญฯ 2550)

<<<ตรงไหน กล่าวถึง การใช้อำนาจสูงสุด(อธิปไตย)>>>

>>รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ครับ ว่า อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชน โดย กษัตริย์ใช้ ผ่าน องค์กรนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ (ลักษณะการบัญญัติเช่นนี้เลียนมาจากรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 10 ธค 2475 ครับ เป็นการบัญญัติเอาใจพวกฝ่ายอำนาจเก่าครับ)

<<<ตรงไหน กล่าวถึง การปกครองสูงสุด>>>

>>จริงๆ แล้ว มันก็รวมความอยู่ในมาตรา 3 นั่นแหละครับ ว่าประชาชนนั้นเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ก็หมายความว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อีกทั้งหลักประชาธิปไตยซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปก็มีหลักการอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนด้วยครับ

<<<ตรงไหน กล่าวถึง ความยุติธรรมสูงสุด>>>

>>ส่วนนี้รู้สึกจะมิได้มีบัญญัติในรัฐธรรมนูญ(ผิดพลาดประการใดแก้ให้ด้วยเน้อ) แต่ก็ได้ถูกยอมรับในหลักการทั่วไปอย่างหลักนิติรัฐ ที่มีหลักความเป็นอิสระของตุลาการครับ เพื่อให้ตุลาการสามารถตัดสินหรือพิจารณาอรรถคดีไปในทางใดทางหนึ่งได้โดยอิสระ โดยมิต้องกลัวว่าจะได้รับผลร้าย องค์กรตุลาการจึงไม่มีสายบังคับบัญชาเหมือองค์กรบริหาร เพื่อที่ตุลาการจะได้อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้เต็มที่ครับ

ตัวรัฐธรรมนูญนั้นมีทั้งหลักการที่บัญญัติไว้ชัดเจนและหลักการทั่วไป (แม้โดยส่วนตัวผมจะมองว่ารัฐธรรมนูญปัจจุบันมีปัญหาเยอะมากซึ่งต้องรื้อใหม่หมดทั้งกระบิ) มิได้มั่วแต่อย่างใด ดังนั้นการที่ท่านกล่าวว่าดูแล้วมั่วไปหมด ผมจึงไม่เห็นด้วยครับ

ปล หากผมผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ เน้อออ *w*