ขอเสนอความคิดเห็นดังมี้
พื้นฐานของ กฎและกฎ(หมาย) ที่เรียกว่า (LAW)
สมมุติฐานทางความคิดบนหลักความจริงที่เป็นไปได้ เรียกว่า ทฤษฎี ทฤษฏีที่ได้พิสูจน์ความจริง ตรวจสอบความถูกต้อง ได้อย่างชัดเจน เป็นที่ยอมรับของทุกคนและทุกฝ่าย โดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือมีข้อโต้แย้งน้อยที่สุดเราเรียกว่า กฎ (LAW)
ศาสตร์แต่ละศาสตร์ มีกฎที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น วิทยาศาสตร์ ,คณิตศาสตร์ ,กลศาสตร์ ,เกษตรศาสตร์ ,พลศาสตร์ ,ดาราศาสตร์ , พุทธศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆอีกมากมาย จากการวิเคราะห์และตรวจสอบ ทฤษฎีทุกทฤษฎี กฎทุกกฎ ในศาสตร์ทุกศาสตร์ ล้วนมาจากหลักการพื้นฐานเดียวกันทั้งหมดทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่า
กฎ (LAW)คือ ทฤษฎีที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ มีเนื้อหาสารประโยชน์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง พิสูจน์และตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างชัดเจน เป็นที่ยอมรับของทุกคนทุกฝ่าย โดยไม่มีใครโต้แย้งได้หรือมีข้อโต้แย้งน้อยที่สุด
จึงสรุป หลักเกณฑ์ของกฎ (LAW)ได้ 4 ข้อ เป็นอย่างน้อย
1. กฎทุกกฎ ต้องมีที่มาที่ไป มีเนื้อหาสารประโยชน์ ที่ถูกต้องเป็น จริง
2. กฎทุกกฎ ต้องพิสูจน์ความจริง และตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างชัดเจน
3. กฎทุกกฎ ต้องเป็นที่ยอมรับของทุกคน และ ทุกฝ่าย
4. กฎทุกกฎ ต้องไม่มีใครโต้แย้งได้ หรือมีข้อโต้แย้งน้อยที่สุด
กฎ (LAW) แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ประเภท ตามคุณสมบัติ และ ลักษณะจำเพาะ
1.กฎ (LAW) ที่มีลักษณะ ส่วนใหญ่หรือทั้งหมด เป็นถ้อยความหรือข้อความ ใช้อักษรย่อมิได้ ใช้อักขระแทนมิได้ เป็นกฎพื้นฐานทั่วไป เข้าใจง่าย มีความรู้พื้นฐาน อ่านออกเขียนได้ก็เพียงพอ พิสูจน์ได้ด้วยกายภาพหรือเครื่องมือพื้นฐานทั่วไป (เช่น ใช้สายตา ,ไม้บรรทัด) ตัวอย่างเช่น กฎแห่งกรรม (พุทธศาสตร์)เช่น ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ,กฎของเหตุและผล เช่น เมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล เมื่อดับที่เหตุก็จะไม่เกิดผล เป็นต้น กฎของธรรมชาติ ว่าด้วยน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ , น้ำขึ้นน้ำลง , ลมบกลมทะเล , ฟ้าร้องฟ้าผ่า เป็นต้น กฎของการจราจรว่าด้วย ไฟเหลือง ,ไฟเขียว ,ไฟแดง เป็นต้น กฎของกาลเวลา ว่าด้วย วัน ,เดือน ,ปี ,ชั่วโมง ,นาที เป็นต้น กฎของการเล่นเกมและกีฬาต่างๆ เช่น เล่นหมากรุก (การเดินของม้า ,เรือ ,เบี้ย ,โคน ,ขุน) เป็นต้น
2.กฎ (LAW) ที่มีลักษณะ มิได้เป็นข้อความ หรือมีส่วนน้อยเป็นข้อความ ใช้อักษรย่อแทนได้ หรือใช้อักขระแทนได้ เป็นกฎชั้นสูงเข้าใจยาก ต้องมีความรู้ชั้นสูงถึงจะเข้าใจ พิสูจน์ได้ด้วยเครื่องมือพิเศษ มีความละเอียด มีความเที่ยงตรง และ มีความว่องไวสูง ( เช่น คอมพิวเตอร์ , ออสซิโลสโคป ) ตัวอย่างเช่น E = I × R ( โอห์ม LAW) E = m.c², ∑F = m.a(นิวตัน LAW),P = E.I.( cos Ø ),∫ƒ(x)dx เป็นต้น
กฎหมายคืออะไร กฎหมายมาจากคำว่า กฎ + หมาย คำว่า "กฎ" มีความหมายซึ่งได้อธิบายไปแล้ว ส่วนคำว่า "หมาย" เป็นลักษณะของนาม หมายถึงข้อความ เช่นจดหมาย หมายถึง การจดบันทึกเป็นข้อความ ดังนั้น กฎหมายจึงหมายถึง กฎที่มีลักษณะเป็นข้อความ ซึ่งมีคุณสมบัติและลักษณะจำเพาะ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎในกลุ่มประเภทที่ (1) ฉะนั้น กฎก็คือกฎ และ กฎหมายก็คือกฎเหมือนกัน กฎ=LAW กฎหมาย=LAW เหมือนกัน
การนำกฎไปใช้ประโยชน์ ในการจราจรบนถนน หรือที่เรียกว่ากฎจราจร
ในการใช้รถใช้ถนน จำเป็นต้องมีกฎจราจรเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน ซึ่งต้องมีข้อบังคับตามหลักเกณฑ์ของกฎในศาสตร์ของการจราจร ในกฎจราจรว่าด้วยทางโค้ง
เช่น ต้องมีรัศมีโค้งกี่เมตร ต้องมีความชัน(SLOPE) กี่องศา ที่ความเร็ว 0–120 +10% กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นต้น ว่าด้วยทางยูเทริน เช่น การกำหนดจุดที่เหมาะสม ช่องทางต้องกว้างกี่เมตร ต้องยาวกี่เมตร ต้องมีรัศมีโค้งกี่เมตร เป็นต้น (ช่องทางยูเทรินแบบสองทิศทาง ทำให้รถที่มายูเทริน เกิดการบดบังซึ่งกันและกัน มองไม่เห็นรถที่วิ่งสวนมา ทำให้เกิดอุบัติเหตุ )ว่าด้วยทางสามแยก เช่น ช่องทางเลี้ยวต้องยาวกี่เมตร ต้องกว้างกี่เมตร ตำแหน่งไฟส่องสว่าง ตำแหน่งป้ายจราจร ตำแหน่งสัญญาณไฟจราจร ขนาดของไฟจราจร เป็นต้น ว่าด้วยการรวมช่องจราจร เช่น ก่อนรวมช่องทางต้องมีระยะกี่เมตร เป็นต้น (การรวมช่องจราจรในระยะกะชั้นชิด ทำให้เกิดอุบัติเหตุ) ว่าด้วยสัญญาณไฟจราจร เช่น ไฟแดงกี่วินาที ไฟเขียวและเหลืองกี่วินาที เวลาว่างก่อนเปลี่ยนทางจราจรกี่วินาที เป็นต้น และ กฎจราจรว่าด้วยเส้นวิกฤต เช่น เส้นวิกฤตมีระยะห่างจากทางแยกกี่เมตร
ที่ความเร็ว 0–120 +10% กิโลเมตร/ชั่วโมง เส้นมีความหนาเท่าไร เป็นต้น (เส้นวิกฤตเป็นเส้นที่ช่วยในการตัดสินใจ ว่าต้องหยุดรถหรือวิ่งผ่านไป ในช่วงเวลาคาบลูกคาบดอก ซึ่งสายตามนุษย์วัดระยะทางไม่ได้ )
คำถามเหล่านี้ต้องมีคำตอบ ตามหลักของกฎในการจราจร ซึ่งต้องมีที่มาที่ไป มีเนื้อหาสารประโยชน์ ที่ถูกต้อง เป็นจริง พิสูจน์ได้ชัดเจน เป็นที่ยอมรับของทุกคน ทุกฝ่าย และ ไม่มีใครโต้แย้งได้หรือมีข้อโต้แย้งน้อยที่สุด
โจทย์คำถาม (ไม่ต้องตอบก็ได้ครับ)
1 กฎจราจรเป็นกฎในการใช้รถใช้ถนน ให้เกิดประสิทธิภาพในด้าน ความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน เช่น กฎว่าด้วยทางโค้ง ,กฎว่าด้วยทางแยก ,กฎว่าด้วยทางยูเทริน ,กฎว่าด้วยสัญญาณไฟจราจร ,กฎว่าด้วยป้ายจราจร เป็นต้น เมื่อกฎจราจรเป็นกฎ ต้องมีความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎ 100% แล้วปัญหาที่พบ เช่น โค้งอันตราย แยกอันตราย ,จุดยูเทรินอันตราย ,ช่องจราจรอันตราย ,ปัญหารถติด ,จราจรสับสนวุ่นวายไปหมด เป็นเพราะอะไร? จงพิสูจน์ตามหลักของกฎ?
2 เมื่อกฎหมายผิดหรือขัดต่อหลักกฎหมาย ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เช่นกฎหมายจราจรผิดหรือขัด ต่อหลักกฎหมายในการจราจร ก่อให้เกิด อุบัติเหตุบนท้องถนน บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และรับผิดชอบอย่างไร ?
ขอยุติความคิดเห็นเพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ
Comments
จากที่อ่านมาแนวคิดของท่านเจ้าของบทความมอง กฎ หรือ กฎหมาย ในลักษณะของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือเปล่าครับ (ถ้าเป็นในแนวทางนั้นผมไม่สันทัดอ่ะ= =a )
หลักทฤษฎีในทางสังคมศาสตร์ เช่นนิติศาสตร์ หรือ รัฐศาสตร์ คงจะตอบคำถามของคุณเจ้าของบทความไม่ได้ตามโจทย์หรอกนะครับ เพราะ การอธิบายปรากฎการณ์ทางสังคมศาสตร์จะไม่ได้มีผลลัพธ์ที่ตายตัวแน่นอน หรือเห็นได้ชัดว่าถูกหรือผิดอย่างเช่นกระบวนการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ หลักทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ไม่อาจเลียนแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป๊ะๆ แต่คงจะรับมาได้เพียงบางส่วนครับ
ในส่วนของคำตอบของคำถามทั้งสองข้อ คำตอบของผทกมคงจะเป็นคำตอบคนละแนวทางกับคำตอบที่คุณเจ้าของบทความต้องการ เพราะผมคงอธิบายไปตามหลักนิติศาสตร์น่ะครับ
เรียนกฎหมายมาเช่นกันครับ ซึ่งตอนที่เรียนทฤษฎีการอธิบายความหมายของคำว่า กฎหมายหรือLaw ไม่ได้อธิบายเช่นนี้
อันนี้ก็เป็นการพยายามอธิบายที่น่าสนใจครับ แต่ผมเกรงว่า การบอกว่าทุกกฎนั้นถูกต้อง เป็นจริง พิสูจน์ได้ เป็นที่ยอมรับ อันนี้น่าจะเป็นจริงในเชิงอุดมคติ ของกฎหมายที่ควรจะเป็นเท่านั้น แต่ไม่เป็นจริงเลยในโลกปัจจุบัน เพราะกฎหมายในสังคมทุกวันนี้ออกโดยผู้มีอำนาจ ไม่ค่อยจะมีใครเห็นด้วยเท่าไรแต่ก็ยังออกมาได้ครับ