งานสัมมนาเรื่อง “ก้าวสู่จุดเปลี่ยน IPv6 ประเทศไทย”
วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 เวลา 08.30 - 16.30 น.
ณ ห้องวอเตอร์เกทบอลลูมเอ ชั้น 6 โรงแรมอมารีวอเตอร์เกท กรุงเทพ
(ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ในการดำเนินธุรกิจและชีวิตประจำวันของเรา มีความเกี่ยวโยงกับโลกอินเทอร์เน็ตมากขึ้นในทุกขณะ เนื่องจากการเข้าถึงที่สะดวกและง่ายขึ้น อัตราค่าบริการที่ถุกลง ประกอบกับความหลากหลายของอุปกรณ์ปลายทางในการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญและมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีปัญหา ย่อมส่งกระทบต่อทุกภาคส่วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในทันที
ในสถานการณ์ปัจจุบัน จากการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หมายเลขอินเทอร์เน็ต (Internet Protocal-IP) ไม่เพียงพออีกต่อไป การใช้งานจากหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IPv4 address) ได้หมดจากส่วนกลางของโลก หรือ Central pool ในวันที่ 3 กพ 2554 ที่ผ่านมา การหมดลงของหมายเลข IPv4 ในวันดังกล่าว คือการมอบหมายเลข IPv4 จำนวน 5 บล็อคสุดท้าย ให้แก่ผู้ดูแลอินเทอร์เน็ตของแต่ละภูมิภาค (RIR: Regional Internet Registry) ซึ่งมีอยู่ 5 ภูมิภาคด้วยกัน โดย APNIC ซึ่งเป็นผู้ดูแลภูมิภาคเอเชียนั้น ได้แจ้งให้สมาชิกทราบว่า หมายเลข IPv4 ที่เหลืออยู่ในบล็อกสุดท้าย คาดว่าจะหมดลงในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งจะเป็นภูมิภาคแรกของโลกที่หมายเลข IP หมดลง โดยจะสร้างปัญหาพอสมควร โดยเฉพาะแก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหม่ หมายเลข IPv4 ที่หมดลงนี้ จะทำให้การใช้งานใช้งาน IPv6 เป็นเรื่องเร่งด่วนขึ้น ทั้งนี้ IPv4 ยังคงมีใช้งานอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตต่อไป แต่จะไม่ขยายตัวไปมากกว่านี้อีกแล้ว การขยายตัวของอินเทอร์เน็ตในอนาคตจะอยู่บน IPv6 เท่านั้น
การหมดลงของหมายเลข IPv4 มีผลต่อการการขยายตัวอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะมีการการเริ่ม ใช้งานอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ (NGI: Next Generation Internet หรือคือ IPv6) กว่า 10 ปีที่แล้ว แต่ได้รับความสนใจในวงจำกัด จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีความพยายามพัฒนาเทคนิคต่างๆ ในการขยายการใช้งานและยืดอายุ IPv4 จนมาถึง ณ วันนี้ โลกกำลังถึงจุดที่หมายเลข IPv4 กำลังจะหมดลงอย่างแท้จริง จนถึงขณะนี้แล้ว กล่าวได้ว่าไม่มี solution อื่นใดที่เหมาะสม นอกจาก การเปลี่ยนถ่ายสู่การใช้งาน IPv6 เท่านั้น
การวางแผนเพื่อเตรียมตัวและดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อการใช้งาน IPv6 ภายในปีนี้และปีหน้านั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจและบริการสามารถ ดำเนินต่อไปในอนาคตได้ คือ เป็นการ upgrade อินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 30 ปี อย่างไรก็ดี การดำเนินการเพื่อให้ได้ผลที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีการเตรียมการ มีการวางแผนในเรื่องการลงทุนและระยะเวลาที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดการเร่งดำเนินการหรือมาดำเนินการโดยเร่งด่วน เพราะจะทำให้ มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น การวางแผนเพื่อการย้ายและการใช้งาน IPv6 เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อการขยายตัวอย่างมั่นคงของอินเทอร์เน็ตต่อวงการ ICT ทั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะต่อผู้ใช้งานในสำนักงานหรือระดับองค์กรเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ใช้งานส่วนบุคคลด้วย
พร้อมกันนี้ จะเกิดเหตุการณ์สำคัญในโลกอินเทอร์เน็ต คือ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2554 ทั่วทั้งโลกได้ พร้อมใจกันทดสอบการใช้งาน IPv4 และ IPv6 ร่วมกัน โดยตกลงเรียกวันนี้ว่า World IPv6 Day (http://isoc.org/wp/worldipv6day/) ซึ่งในวันดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook, Yahoo และผู้ให้บริการรายอื่นๆ รวมทั้งผู้ค้าอุปกรณ์และองค์กรขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนจะเข้าร่วมการ ทดสอบใช้งานจริงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อทำการทดสอบและตรวจสอบว่าการใช้งานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 จะมีผลกระทบหรือปัญหาใดบ้าง เมื่อต้องรองรับข้อมูลอินเทอร์เน็ตพร้อมกันทั้งโลก
และในโอกาสนี้ เพื่อเป็นการร่วมทดสอบ World IPv6 Day ของประเทศไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และทางสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย (IPv6 Forum Thailand) ได้ร่วม กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะจัดงานสัมมนาเรื่อง “ก้าวสู่จุดเปลี่ยน IPv6 ประเทศไทย” ขึ้น ในวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 เวลา 08.30 -16.30 น. ณ ห้องวอเตอร์เกทบอลลูมเอ ชั้น 6 โรงแรมอมารีวอเตอร์เกท กรุงเทพ เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้และความเข้าในการเตรียมแผนความพร้อมให้แก่ผู้ใช้งานและผู้ประกอบการ ในประเทศ โดยในงานประกอบด้วย การบรรยายและเสวนาเพื่อนำเสนอแผนรับมือและการเตรียมศักยภาพและความพร้อมด้าน IPv6 ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศไทย และมีการนำเสนอนิทรรศการการแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายและการใช้งานกับเครือ ข่าย IPv6 ที่ร่วมทดสอบใน World IPv6 Day ด้วย
08.30- 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00- 09.10 น. เปิดการสัมมนาโดย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
09.10- 09.30 น. Keynote speech
"ความพร้อมเครือข่าย IPv6 สำหรับนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ"
โดย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
09.30- 09.45 น. อาหารว่าง
09.45- 10.30 น. รู้ทัน IPv6 รอบโลกกับสถานการณ์ในประเทศไทย
IPv6 end client measurement tool by George Michaelson, APNIC Senior R&D Scientist
JAPAN IPv6 Update by Takahiro Kono, Advisor on ICT Policy?(JICA Expert)
Thailand IPv6 Status Update โดยสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย
10.30- 12.00 น. การเสวนา "การสร้างความพร้อมและแผนรับมือสู่โครงสร้างพื้นฐาน IPv6"
ตัวแทนภาคการศึกษา (UniNet)
ตัวแทนภาครัฐ (สรอ)
โครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ (CAT, ToT)
โครงสร้างพื้นฐานภาคเอกชน (Mobile Operator, ISP)
ดำเนินการเสวนาโดยสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย
12.00- 13.00 น. อาหารกลางวัน
13.00- 14.30 น. การเสวนา "การสร้างความพร้อมและแผนรับมือสู่ภาคบริการ IPv6"
Web App (Pantip.com, Kapook.com, คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ Tarad.com)
ตัวแทน TISPA
ภาคบริการประชาชน (ตัวแทน กรรมสรรพากร)
ภาคส่งเสริมอุตสาหรกรรมซอฟท์แวร์และบริการ (ตัวแทน SIPA)
ดำเนินการเสวนาโดยสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย
14.30- 14.45 น. อาหารว่าง
14.45- 16.15 น. IPv6 Solutions
ยกระดับประสิทธิภาพอินเทอร์เน็ตให้องค์กร”
การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานในองค์กรให้รองรับ IPv6”
IPv4 and IPv6 Transition solution (Veno Technology)
16.15- 16.30 น. สรุปประเด็นสำคัญ
“แนวทางการปฏิบัติ ข้อความคำนึงและการรับมือกับปัญหา”
โดยสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย
16.30 น. ปิดการสัมมนา
** กำหนดเวลาและรายชื่อวิทยากร อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เนื่องจากอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากวิทยากร **
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สถาบันวิทยาการ สวทช. (คุณรัชราพร/คุณสุรีย์) โทรศัพท์ 0 2642 5001 ต่อ 129, 120
จัดโดย
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (สวทช)
http://www.nstdaacademy.com/conference/ipv6/