เวทีเสวนา “ปรากฏการณ์ชั้นที่ ๒๘ จากอเมริกาถึงไทย : ความสำคัญของพรบ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ กรณีการคุกคามทางเพศ”

ขอเชิญร่วมเวทีเสวนา “ปรากฏการณ์ชั้นที่ ๒๘ จากอเมริกาถึงไทย : ความสำคัญของพรบ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศกรณีการคุกคามทางเพศ”

ณ ห้องประชุมเพชรรัตน์ ชั้น ๓

โรงแรมเฟิสต์ ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

วันที่  ๓ มิถุนายน ๒๕๕๔  เวลา  ๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.

จัดโดย

เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย  เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ และ

โครงการเยาวชนและสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สนับสนุนโดย

โครงการสุขภาวะผู้หญิง   

 

หลักการและเหตุผล

          การ คุกคามและล่วงละเมิดทางเพศเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอแทบทุก เมื่อเชื่อวันในบริบทและระดับต่างๆของสังคมทั่วโลกและในสังคมไทย โดยมีผู้เสียหายเป็นผู้หญิงและเด็กเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งองค์กรพัฒนาเอกชนด้านผู้หญิงของไทยได้ให้ความสำคัญและรณรงค์มาอย่างต่อ เนื่อง มีข่าวคราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่เป็นข่าวใหญ่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในระยะสิบปี เศษที่ผ่านมา ตั้งแต่ได้มีพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ระบุการคุ้มครองแรงงานหญิงและเด็ก จากการล่วงละเมิดทางเพศ  เช่น กรณีที่เกิดขึ้นกับสาวทำงานบ้านในบ้านพักของทูตประเทศคูเวต (๒๕๔๒)  กรณีที่เกิดขึ้นกับนักข่าว (กรณีชั้นที่ ๒๘ ของโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ) )  และผู้ประกาศข่าว โดยนักการเมืองระดับสูง พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ และพล ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นจำเลย และมีกรณีที่เกิดขึ้นกับนักเรียน นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ถูกละเมิดโดยครู อาจารย์  ได้แก่ ในโรงเรียน และสถาบันการศึกษาระดับสูง เช่น ที่โรงเรียนในเขตสายไหม กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นกับคนงานหญิงในโรงงานต่างๆ  และเกิดขึ้นในชุมชนจำนวนมาก ที่อาจไม่ตกเป็นข่าว

จากรายงานของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และรายงานขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านผู้หญิงในประเทศไทย ผู้เสียหายที่เป็นหญิงและเด็กในคดีการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศมักประสบ ความกดดันและปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและใจ เช่น มีความเครียด นอนไม่หลับ ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน บางคนท้องและติดเชื้อเอชไอวี ผู้เสียหายมักถูกให้ออกจากงาน หรือลาออกจากงานเอง เมื่อไม่สามารถหาทางออกให้ตนเองได้ ทำให้เกิดการสูญเสียรายได้และความเสียหายทางเศรษฐกิจ  และยังสูญเสียเกียรติยศ ความภาคภูมิใจ ความมั่นใจในตนเอง  บางคนมีอาการซึมเศร้า ไม่ยอมพูดจา และบางคนถึงกับคิดฆ่าตัวตาย             

แม้ ประเทศไทยจะเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ต่อสตรีในทุกรูปแบบ ซึ่งห้ามการเลือกปฏิบัติในการงานอาชีพ และคุ้มครองด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน (มาตรา ๑๑) รวมทั้งมีข้อเสนอแนะทั่วไป (ข้อ ๑๙) เกี่ยวกับการคุ้มครองจากความรุนแรงต่อผู้หญิง ซึ่งรวมถึงการคุกคามทางเพศรูปแบบต่างๆ และในสถานที่ทำงาน และในภาคราชการของไทยจะมีระเบียบและวินัยเกี่ยวกับความประพฤติของข้าราชการ รวมทั้งกฎของข้าราชการพลเรือน ในเรื่องการคุกคามทางเพศ ที่ออกในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ และมีการคุ้มครองการล่วงละเมิดทางเพศแก่แรงงานหญิงและเด็ก ในพรบ.คุ้มครองแรงงานสำหรับภาคเอกชน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ แต่ก็ยังไม่เคยมีการฟ้องร้องโดยผู้เสียหายตามกฎหมายนี้  ในปัจจุบัน มีการปรับปรุงกฎหมายนี้ เป็นฉบับปี ๒๕๕๑ และขยายการครอบคลุมไปถึงคนงานทุกกลุ่ม  แต่ความซับซ้อนของคดี และโดยเฉพาะในประเด็นเพศสภาพ ที่จะสร้างมลทินแก่ผู้เสียหายและการเสื่อมเสียต่อเกียรติยศ ชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล รวมทั้งปัญหาอิทธิพลและอำนาจของผู้กระทำการ ซึ่งมักเป็นผู้ที่อยู่สถานะที่สูงกว่าผู้เสียหาย ปัญหาในกระบวนการยุติธรรม ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้มีปัญหาในการคุ้มครองและมีคำถามเกี่ยวกับการบังคับ ใช้กฎหมายและระเบียบวินัยอย่างได้ผล  ซึ่งเป็นเรื่องที่หนักใจแก่ผู้เสียหาย

เหตุการณ์ การคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นกับพนักงานสาวของโรงแรมโซฟีเทล ที่เกาะแมนฮัตตัน กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมีผู้นำขององค์การการเงินระหว่างประเทศ นายโดมินิค สเตราส์-คานซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ตกเป็นจำเลย  เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๔ และถูกจับ นำตัวออกจากเครื่องบิน และถูกจองจำไว้  ต่อมาศาลอนุญาตให้สามารถประกันตัวได้ ในการร้องขอครั้งที่สอง แต่ต้องถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่และปัจจุบันถูกกักตัวอยู่ในที่พักอาศัย ในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเป็นเรื่องที่จุดประกาย ท้าทาย และน่าสนใจที่จะศึกษาต่อการทำงานรณรงค์ขององค์กรพัฒนาเอกชนของไทยที่ทำงาน ด้านสิทธิของผู้หญิง  ซึ่งกำลังเคลื่อนไหวผลักดันร่างพรบ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคของสตรี โดยเฉพาะในกรณีการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ

 

วัตถุประสงค์

๑.เพื่อเสวนาถึงกฎหมายและแนวทางการคุ้มครองสิทธิความเสมอภาคของสตรีในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในกรณีการคุกคามทางเพศ

๒.เพื่อผลักดันร่างพรบ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคของสตรีในประเทศไทย

 

 

ผู้เข้าร่วมการเสวนา

๑.สมาชิกและตัวแทนเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย และองค์กรผู้หญิงต่างๆ

๒.ผู้แทนองค์กรภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเสมอภาคของผู้หญิง

๓.สื่อมวลชนและสาธารณชนทั่วไป

 

กำหนดการ

๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.ลงทะเบียน

๐๙.๓๐ – ๑๑.๐๐ น.เวทีเสวนา “ปรากฏการณ์ชั้นที่ ๒๘ จากอเมริกาถึงไทย : ความสำคัญของ พรบ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ กรณีการคุกคามทางเพศ” โดยวิทยากรรับเชิญ

-  คุณวณี บางประภา ธิติประเสริฐ  เครือข่ายวิจัยและรณรงค์เพื่อสตรีมูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม

-  คุณนัยนา สุภาพึ่ง มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร

-  คุณทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการบ้านกาญจนา

-  คุณอุษา เลิศศรีสันทัด ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิผู้หญิง

-  เสียงจากพนักงานในบริษัทหรือองค์กรที่มีการคุกคามทางเพศ                      

ดำเนินรายการโดย  ผู้แทนเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย

 

๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.อภิปรายแลกเปลี่ยน

สรุปผลการเสวนา และแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน