ขอเพิ่มแค่คำเดียว "ภิกษุณีสงฆ์"

ขอเพิ่มแค่คำเดียว "ภิกษุณีสงฆ์"

เมื่อ 7 ก.พ. 2554
ไฟล์แนบขนาดไฟล์
แบบฟอร์มเพื่อเสนอรายชื่อแก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์102.42 KB
ร่างพ.ร.บ.แก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์1.77 MB
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505.pdf141.72 KB

ทั้งที่ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยอนุญาตให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี หรือนักบวชในศาสนาพุทธได้ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย ก็รับรองไว้ว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม โดยไม่จำกัดว่าเฉพาะชายหรือหญิง

 

แต่ในประเทศไทย ผู้หญิงยังไม่สามารถบวชเป็นภิษุณีได้ เพราะไม่ได้รับการรับรองจากมหาเถรสมาคม โดยเหตุเพราะมี พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ พ.. 2471 ห้ามไว้ และยีงมี คำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในการประชุมครั้งที่ 28/2527 และครั้งที่18/2530 ห้ามภิกษุสงฆ์ทำพิธีอุปสมบทให้สตรีเป็นภิกษุณี ดังนั้นหากวัดใดทำการบวชภิกษุณี จึงอาจถือว่าละเมิดระเบียบคณะสงฆ์ไทย และถูกตัดขาดจากมหาเถรสมาคมได้ ดังเช่น วัดโพธิญาณ เมื่อปี พ..2552

นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ..2505 ยังไม่มีการบัญญัติรับรองสถานะของภิกษุณี ไว้แม้แต่ที่เดียว ทำให้วันนี้ หากหญิงคนใดต้องการบวชเป็นภิกษุณีก็จะไม่มีกฎเกณฑ์ใดรับรองสถานะได้

..ไพบูลย์ นิติตะวัน จึงเสนอให้แก้ไข พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ..2505 แบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ชุ่น ไม่ต้องถึงกับให้ "ภิกษุณี" รวมเป็นหนึ่งใน "คณะสงฆ์" ของไทย แต่เสนอให้เพิ่มคำว่า "คณะภิกษุณี" ลงในนิยามของคำว่า "คณะสงฆ์อื่น"

 

หรือ เสนอแก้ไข มาตรา 5 ของ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ..2505

จาก

คณะสงฆ์อื่นหมายความว่า บรรดาบรรพชิตจีนนิกาย หรือ อนัมนิกาย

เป็น

คณะสงฆ์อื่นหมายความว่า บรรดาบรรพชิตจีนนิกาย อนัมนิกาย คณะภิกษุณีสงฆ์ศรีลังกาวงศ์

 

เพียงเท่านี้ แม้มหาเถรสมาคมยังไม่ยอมรับการบวชเป็นภิกษุณีในทันที ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันต่อไป แต่อย่างน้อยก็เป็นการรับรองสถานะการมีอยู่ของภิกษุณีตามกฎหมายไทยได้

 

ผู้ที่เห็นด้วยกับการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ..2505 ในประเด็นดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเข้าชื่อเสนอกฎหมายจากเอกสานแนบด้านบนได้ และ

  1. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ให้ครบถ้วน

  2. ถ่ายเอกสารสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

  3. ส่งมาที่ "เครือข่ายส่งเสริมสถานภาพทางกฎหมายของภิกษุณีสงฆ์เพื่อเติมเต็มพุทธบริษัท 4" สว.ไพบูลย์ นิติตะวัน ตู้ปณ. 4 บางนา กรุงเทพฯ 10260

เมื่อรวบรวมรายชื่อประชาชนได้ครบ 10,000 ชื่อแล้ว ก็จะนำเสนอร่างแก้ไขพ...คณะสงฆ์ให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป โดยตั้งเป้าจะรวบรวมให้ได้ครบภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2554

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ เว็บไซต์มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง

 

 

Comments

สนับสนุนให้มีภิกษุณี การปฎิบัติธรรมเรื่องเพศญ.หรือชาย มิใช้ปัญหาในการบรรลุธรรม การจะห้ามไม่ให้มีการบวช
ภิกษุณีเพียงเพราะอ้างวินัยบางข้อดูไม่มีน้ำหนักพอ ในเมื่อไม่มีภิกษุณีในเมืองไทยที่จะบวชให้ ก็ยังมีภิกษุณีจากปท.อื่น
เพราะจริงๆเริ่มแรกแม้แต่ภิกษุไทยก็บวชมาจากภิกษุปท.อื่น ดังนั้นในกรณีภิกษุณีก็เช่นเดียวกัน

เห็นควรให้มีภิกษุณี    แก้กฎหมายตามที่เสนอมานั้น รัดกุมดี ขอสนับสนุน

งั้นขอแสดงความคิดเห็นนิดนะคับ  เข้าใจคับ ว่าสิทธิ์ของชายหญิงเท่าเทียมกัน

       แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาติให้บวชภิกษุณีได้ จำเป็นต้องบวชในคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุณีและภิกษุ แต่เมื่อภิกษุณีขาดวงศ์ไปแล้ว สตรีผู้ประสงค์จะบวช ก็ย่อมไม่สามารถจะบวชได้ เพราะองค์ประชุมทั้งสองฝ่ายไม่ครบตามพระธรรมวินัย หากแต่ยังรั้นจะบวช ก็เป็นอันว่าขัดตามเจตนาแห่งพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาติไว้ เมื่อไม่ให้ความเคารพต่อพระธรรมวินัยแล้ว จะได้ชื่อว่าบวชเป็นภิกษุณีภายใต้คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้อย่างไร เพราะท่านยังไม่เคารพพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ แต่สตรีที่ต้องการบวชเป็นภิกษุณี่ก็บวชได้คับ แต่หาได้ชื่อว่าบวชเป็นภิกษุณีในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นประมุขไม่

ชาวพุทธเรา จะทำอะไรก็ต้องมีหลัก หาข้อมูล และจับประเด็นให้ได้ว่า ปัญหาจริงๆมันอยู่ที่ตรงไหน



ไม่ใช่ว่า อยากแต่จะแสดงความคิดเห็นกันไปเรื่อย แล้วก็มาเถียงกันไม่ถูกจุด เสียเวลาอีก

สมัยพุทธกาลเป็นอย่างไร ก็ทำอย่างนั้น ก็โอเคแล้ว

จะมาเพิ่มนั้น เพิ่มนี้ ก็เถียงกันอีก ก็เอาต้นน้ำเลย



ผู้ชายจะบวชได้ ก็ต้องมีคณะสงฆ์

ผู้หญิงก็บวชได้อยู่แล้ว และก็ต้องมีคณะภิกษุณีเช่นกัน

จะไปเถียง เรื่องสิทธิ อะไร ในเมื่อสมัยพุทธกาลก็บวชได้



แต่ปัญหาคือ ใครมีสิทธิบวชให้ผู้หญิง แล้วคนมีสิทธิบวช ในประเทศไทยมีหรือเปล่า

ถ้าไม่มีจะหามาจากไหน

 

อันนี้ไปเถียงกันอะไรก็ไม่รู้

ยิ่งเถียงยิ่งวุ่น



 

lordkey's picture

       สนับสนุนเหมือนกันครับ แต่มีประเด็นที่เราต้องมาดูกันก่อนว่า ความหมายของบรรพชิตจีนนิกายคืออะไร อนัมนิกายหมายรวมถึงภิกษุณีอนัมนิกายหรือไม่ และภิกษุณีที่นับถือนิกายวัชรยานรวมถึงหรือป่าว ไม่เช่นนั้นถ้าแก้ไขให้เป็น “คณะสงฆ์อื่น” หมายความว่า บรรดาบรรพชิตจีนนิกาย อนัมนิกาย คณะภิกษุณีสงฆ์ศรีลังกาวงศ์ ก็จะเกิดการตีความไปอีกไม่จบสิ้น  เพราะสุดท้ายแล้วก็คงยังไม่เกิดความเท่าเทียมอย่างแท้จริง เชื่อได้ว่า สังคมไทยก็ยังไม่ชัดเจนเรื่อง ภิกษุณี เพราะต่างคนก็ต่างอ้างว่าตนเองนั้นถูกมาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่เคยเห็นทั้งสองฝ่ายออกมาดีเบต แสดงความเห็นต่อหน้ากันซักที

       อีกประการหนึ่งก็คือ วัตรปฏิบัติของภิกษุณีของศรีลังกาวงศ์ เป็นเช่นไร ก็ต้องเอาให้ชัดตามพระวินัย เพราะพระพุทธศาสนาก็ล้วนมาจากรากเดียวกันว่าวัตรที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะสงฆ์ศรีลังกาวงศ์นั้นถ้าจะให้ถูกก็คือ นิกายเถรวาท ก็ต้องมาดูว่าแล้วเถรวาทละปฏิบัติเช่นไร เพราะเท่าที่เห็นว่าชัดก็มีแต่ภิกษุณีนิกายมหายาน ของเขานั้นชัดเจนว่าต้องปฏิบัติอย่างไร 

netiwit's picture

สนับสนุนให้มี "ภิกษุณี"เพื่อความเท่าเทียม