ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่มีผู้แทนประชาชน ไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผลิตกฎหมายจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพราะขาดการตรวจสอบถ่วงดุล และการมีส่วนร่วม ทำให้มีกฎหมายที่เป็นปัญหาและส่งผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ร่วมติดตามกฎหมายสำคัญที่ผ่าน สนช.และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
ร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพหรือ ร่างพ.ร.บ.จีเอ็มโอ ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีท่ามกลางเสียงท้วงติงจากภาคประชาชนและหน่วยงานรัฐเองหลายประเด็น เช่น การใช้จีเอ็มโอในสภาพควบคุมหรือในภาคสนามที่ไม่ต้องทำ EIA หรือผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดชอบถ้าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย รวมถึงการเขียนกฎหมายแบบเปิดโอกาสให้มีการใช้จีเอ็มโออย่างเสรี
สนช.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีการแก้ไขหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องกักขังเฉพาะกรณีที่จำเป็น การให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจดหมาย เอกสาร และสกัดกั้นการสื่อสาร การกำหนดมาตรการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องกักขังหญิงที่ตั้งครรภ์ รวมถึงการเพิ่มโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิดต่อสถานที่กักขัง
หลัง สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง ทำให้เกิดกระแสคัดค้านในโลกออนไลน์เป็นจำนวนมาก กฎหมายนี้มีศัพท์เทคนิคที่อ่านแล้วยังมีข้อสงสัยจำนวนมาก เราจึงยกหูโทรศัพท์ไปสอบถาม พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร สมาชิก สนช. เพื่อคลายข้อสงสัยที่มีอยู่มากมายในโลกออนไลน์
สนช.ร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง โดยเนื้อหาให้ทหารกองหนุน กลับมาฝึกวิชาทหารอีกครั้งพื่อการเตรียมความพร้อมในกิจการของกระทรวงกลาโหม โดยหากฝ่าฝืนไม่เข้ารับราชการทหารมีโทษสูงสุดติดคุกสี่ปี ในส่วนของนายจ้างหากไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างซึ่งต้องรับราชการทหารในวันลามีโทษปรับสองหมื่นบาท
สนช.เพิ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา โดยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวและจำกัดการเดินทางแทนการจำคุก โดยหวังว่าจะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่มีรัพย์สินเป็นหลักประกันได้สิทธิปล่อยตัวชั่วคราวและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลนักโทษ อย่างไรก็ตามยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนำมาใช้กับคดีลักษณะใดหรือนักโทษกลุ่มใด
ปัญหา "คนล้นคุก" เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงกันมาอย่างยาวนาน แต่ทว่า ทางออกของปัญหาไม่แน่ใจว่าอยู่ที่ตรงไหน อย่างไรก็ดี สนช. พยายามแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการ "รอการลงโทษฯ" แต่กฎหมายดังกล่าวจะตอบโจทย์ได้จริงหรือไม่ ไปดูรายละเอียดกัน
สนช.กำลังพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพราะการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การทำแท้งที่ผิดกฎหมาย ส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจ ชวนมาทบทวนเนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวกับ จิตติมา ภาณุเตชะ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ จากมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
ผู้ช่วย รมว.ไอซีทีชี้แจงความคืบหน้าชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล 8 ฉบับ ว่ามีหลายฉบับที่นำกลับมาทบทวนเพราะมีความเห็นต่างจากหลายฝ่าย แต่ยืนยันว่าจะเดินหน้าออกกฎหมายให้เสร็จภายใน สนช. ชุดนี้ ขณะที่นักวิชาการนิติศาสตร์ยังคงแสดงความกังวลว่าชุดกฎหมายดังกล่าวจะกระทบสิทธิประชาชน
สมาคมเพศวิถีศึกษาชำแหละกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายอุ้มบุญ, พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ และร่าง พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พบปัญหาหลายข้อ ทั้งการละเมิดสิทธิเด็ก/ผู้หญิง/กลุ่มเพศทางเลือก การเขียนกฎหมายให้ตีความได้กว้างเกินไปจนอาจบังคับใช้ไม่ได้ผล