สนช.กำลังพิจารณาร่างพ.ร.บ.จัดตั้งศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษ และร่างกฎหมายรวม 9 ฉบับ เพื่อจัดระบบอุทธรณ์คดีให้เป็นระบบเดียวและสอดคล้องกับการแก้ไขป.วิแพ่ง ให้อุทธรณ์ไปที่ศาลอุทธรณ์เท่านั้น และคดีที่จะไปยังศาลฎีกาได้ต้องได้รับอนุญาตก่อน
ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการขอทานฉบับใหม่ที่กำลังจะเข้าสู้สภานิติบัญญัติแห่งชาตินี้ จะถูกนำมาใช้แทนร่างเดิมที่ใช้มานานกว่า 74 ปี โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจเช่น กำหนดนิยาม "ขอทาน" ชัดเจน, กำหนดให้ผู้ที่จะเล่นดนตรีในที่สาธารณะต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก่อน เป็นต้น
กองทุนยุติธรรม เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่รัฐบาลนำมาใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีคุณภาพและช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ทว่า เมื่อเปรียบเทียบกับร่างฉบับประชาชนบางฉบับแล้ว ชวนให้ตั้งขอสงสัยว่าในทางปฎิบัติจะก่อให้เกิดปัญหาหรือเปล่า
กว่า 25 ปีที่ร่างกฎหมายป่าชุมชนถูกผลักดันจากภาคประชาชน จนมาถึงปัจจุบันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หยิบยกร่างกฎหมายนี้ขึ้นมาอีกครั้ง แต่ผลตอบรับจากภาคประชาชนกลับเป็นเสียงคัดค้าน ด้วยเหตุผลว่าร่างของ สปช. บิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชน
แม้จะมีเสียงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ถอดหรือชะลอการพิจารณา "พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ" แต่ดูเหมือนว่าเสียงเหล่านั้นจะไร้ความหมาย เพราะกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านวาระ 3 ท่ามกลางข้อถกเถียงที่ยังไม่ได้รับแก้ไข เราจึงขอยกประเด็นเหล่านี้มาให้ทบทวนอีกครั้ง
สนช.แก้ไขร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องการค้ำประกันจำนอง ประเด็นสำคัญคือคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนองที่ต้องชำระหนี้แทนลูกหนี้ แม้กฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้แต่ด้วยกระแสกดดันจากธนาคารทำให้ สนช.ต้องนำมาแก้ไขอีกรอบหนึ่ง
เสียงกดดันจากธนาคารพาณิชย์ส่งผลให้ สนช.ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องการค้ำประกันจำนอง มาแก้ไขใหม่ ทั้งที่กฎหมายยังไม่ทันบังคับใช้ โดยประเด็นสำคัญคือการแก้ไขให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเป็นลูกหนี้ร่วมได้
พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ มีจุดมุ่งหมายที่จะเปิดโอกาส ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำทรัพย์สินที่ยังมีความจำเป็นต้องครอบครองเพื่อใช้สอยทำประโยชน์มาเป็นหลักประกันกู้ยืมได้ ไม่ว่าจะเป็น กิจการ สิทธิเรียกร้อง ทรัพย์ของผู้ให้หลักประกัน ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 22 และ 23 ที่ประกาศใช้แล้ว มีเนื้อหาที่น่าสนใจ เช่น การเพิ่มความความผิดเกี่ยวกับศพ การปรับอัตราโทษของความผิดลหุโทษ การนิยามคำว่า “เจ้าพนักงาน” เป็นครั้งแรก และการเพิ่มโทษปรับคดีข่มขืนเด็ก
วันนี้ (24 มีนาคม 2558) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและภาคประชาชนมากกว่า 20 องค์กร เดินทางไปยื่นข้อเสนอและคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ สร้างเงื่อนไขในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม การตัดอำนาจศาลปกครอง เรื่องการรับผิดร่วมระหว่างผู้ชุมนุมและผู้จัดการชุมนุม เป็นต้น