ปัจจุบันนอกจาก พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 พระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2547 พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ประเทศไทยมีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงของรัฐอีก เช่น
ประมวลกฎหมายอาญา
บัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานกบฏ ไว้ใน มาตรา 114
ความผิดเกี่ยวกับการตระเตรียมก่อการกบฏในมาตรา 115
ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรในมาตรา 119 ถึงมาตรา 129
ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายในมาตรา 135/1 ถึงมาตรา 135/4
และความผิดอื่นๆ อีก เช่นฐานฆ่าผู้อื่น ฐานชุมนุมกันก่อความวุ่นวาย ฯลฯ
ซึ่งบางความผิดมีโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 78 และมาตรา 92 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมบุคคลหรือเข้าค้นในเคหสถานได้ ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนโดยไม่ต้องมีหมายศาล
ฯลฯ
Comments
เหตุการณ์ฉุกเฉินในบ้านเมือง ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี หากเรามีอดินารีนให้กับเจ้าหน้าที่บ้างครับ กำลังตามกฎหมายอาญาอย่างเดียวคงจะไม่สามารถรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ดีหรอกครับ
มันมีบริบทเรื่อง"อำนาจ"เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก ทหารเป็นบริบทที่สำคัญและรุนแรงในประเทศไทย แทบเรียกได้ว่า"ไม่ว่าคุณจะเป็นใครมาจากไหน ถ้าทหารไม่ชอบคุณ คุณอาจตายได้ทันที" มันต้องไปแก้ที่บริบทนั้นด้วย ผมเองยังสงสัยอยู่ว่า ผบ.ทบ.ตำแหน่งแค่"เจ้ากรม"ทำไมใหญ่คับแผ่นดินนัก