เห็นว่าอำนาจพิเศษของเจ้าหน้าที่รัฐ ในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง เพียงพอกับการป้องกัน ปราบปราม ภัยที่อาจคุกคามหรือไม่ หรือมากเกินไปจนอาจกระทบสิทธิของปัจเจกชนหรือไม่ และมีข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร

เก็บอาวุธทหาร: ยกเลิกกฎหมายความมั่นคง

เมื่อ 12 พ.ย. 2552
ออกแบบ
3

เห็นว่าอำนาจพิเศษของเจ้าหน้าที่รัฐ ในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง เพียงพอกับการป้องกัน ปราบปราม ภัยที่อาจคุกคามหรือไม่ หรือมากเกินไปจนอาจกระทบสิทธิของปัจเจกชนหรือไม่ และมีข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร


เก็บอาวุธทหาร: ยกเลิกกฎหมายความมั่นคง

 

พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ..2457
เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น เกณฑ์ ห้าม ยึด เข้าอาศัย ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และขับไล่(มาตรา 8)
กล่าวโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจค้นตัวบุคคล ยานพาหนะ จดหมาย สิ่งพิมพ์ เคหสถาน หรือที่ใดๆ ไม่ว่าเวลาใดๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 9) มีอำนาจที่จะเกณฑ์พลเมือง ยวดยาน เสบียงอาหาร ให้ช่วยในราชการทหาร (มาตรา 10) มีอำนาจสั่งห้ามมั่วสุมกัน ห้ามเผยแพร่สิ่งพิมพ์ วิทยุ ห้ามใช้ทางสาธารณะ ห้ามออกนอกเคหสถาน (มาตรา 11) มีอำนาจเข้าพักอาศัยในที่ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ราชการทหารทุกแห่ง (มาตรา13) มีอำนาจเผาบ้านและสิ่งซึ่งเห็นว่าจะเป็นกำลังแก่ราชศัตรูได้ (มาตรา 14) มีอำนาจขับไล่ผู้ที่มีความสงสัยให้ออกไปจากเมืองนั้นได้ (มาตรา 15)

 
พระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ..2547
กรณีที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนดเพื่อ ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย ทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือหรือสื่ออื่นใด ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเกิดความไม่สงบ ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะที่กำหนด ห้ามใช้อาคารหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ หรืออพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด (มาตรา 9)
ในกรณีที่ประกาศให้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่เพิ่มเติมขึ้น สามารถจับกุมบุคคลใดที่ต้องสงสัย ออกคำสั่งเรียกบุคคลใดมาให้ข้อมูล ออกคำสั่งยึดอาวุธ หรือสินค้าใดๆที่ต้องสงสัย ออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ทำลายอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ตรวจสอบจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ยับยั้งการสื่อสารใดๆ สั่งห้ามผู้ใดเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ฯลฯ (มาตรา 11)
ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลสามารถควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวัน (มาตรา 12) (ในกรณีปกติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ควบคุมตัวได้ไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง)

 
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ..2551
ผู้อำนวยการ กอ.รมน. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ห้ามเข้าไปในบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนด ห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ (มาตรา 18)

 

Comments

น้ำใส's picture
เห็นว่าเป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไปจริงๆในหลายเรื่องทีเดียว คือโดยสรุปแล้วเหมือนกับว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะทำอะไรก็ได้ทั้งสิ้นแม้จะเป็นการละเมิดสิทธิต่างๆของปัจเจกชน ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐสามารถมีดุลยพินิจได้เองโดยไม่ต้องขอหมายค้นจากศาลใดๆทั้งนั้น แล้วประชาชนถ้าไม่เห็นด้วยกับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐก็จะไม่มีสิทธิคัดค้านอะไรได้เลย ถ้าให้สิทธิกันขนาดนี้ เช่นมาตรา15แค่เพียงสงสัยก็สามารถขับไล่ออกจากเมืองได้เลย ทั้งๆที่ยังไม่ได้ตรวจสอบหรือพิสูจน์ความจริงและข้อมูลอะไรเลย
koyar_ni's picture
เมื่ออำนาจมีมาก สิทธิของประชาชนก้อถูกละเมิดมากเช่นกัน ดังนั้นการให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่มากเกินไปจึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เป็นเพียงแต่การอำนวยความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ซึ่งผลของการปฏิบัติงานไม่สามารตอบโจทก์อะไรได้เลย
opop's picture
อยากรู้ว่าแล้วมันช่วยอำนาวนความสะดวกให้เจ้าหน้าที่จับคนร้ายได้จริงบ้างหรือเปล่
ถ้ามันมีประโยชน์อยู่บ้างก็น่าคิดนะครับ