หลักการ
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เครือข่ายคนดูหนังนัดประชุมครั้งที่ 3 เพื่อหารือเกี่ยวกับจุดยืนของสมาชิกเครือข่ายฯ ที่มีต่อพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551
จุดหนึ่งที่ทุกคนมีร่วมกันเป็นทุนเดิม คือไม่อยากให้ประเทศไทยมีการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ เพราะนอกจากการเซ็นเซอร์จะเป็นตัวบ่อนทำลายทางความคิดแล้ว ยังมีผลกระทบต่ออนาคตของมุมมองด้านศิลปะทั้งต่อผู้สร้างและเสพอย่างแน่นอน

ภาพจากเครือข่ายคนดูหนัง ในโครงการประกวดภาพ หัวข้อ "พอ หรือ ยัง ตัด บัง เบลอ"
งานนี้ สมาชิกของเครือข่ายคนดูหนังนัดพบกันที่ร้านชาของมูลนิธิหนังไทย ที่ชั้น 3 หอศิลป และวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร หากใครอยู่ในเหตุการณ์วันนั้นก็จะเห็นภาพของกลุ่มคนที่นิยมชมชอบในโลกของ เซลลูลอยด์ แต่มานั่งกุมขมับหยิบจับกฎหมาย แล้วถกกันแบบมาตราต่อมาตรา
มีหลายเรื่องที่อาจไม่ได้ คิดตรงกันนัก และมีหลายเรื่องที่เห็นปัญหาแต่ยังวาดภาพทางออกได้ไม่ชัดเจนนัก แต่โดยรวมแล้วสามารถสรุปออกมาเป็นหลักการคร่าวๆ ที่อยากเสนอแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ดังนี้
หลักการของการเสนอแก้ไขพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ....
กฎหมายภาพยนตร์ ควรหันมาใช้ระบบเรทติ้งแบบเต็มรูปแบบ แล้วยกเลิกการเซ็นเซอร์ การตัด บัง เบลอ ในภาพยนตร์
กฎหมายนี้น่าจะส่งเสริมให้วงการภาพยนตร์ไทยเติบโตแบบใจกว้าง ซึ่งสามารถทำได้โดย
- ไม่ทำให้การทำหนังและการฉายหนังเป็นเรื่องยาก เปิดกว้างให้คนทั่วไปเช่น คนทำหนังอิสระ นักศึกษา บุคคลทั่วไป ที่สนใจอยากผลิตภาพยนตร์หรืออยากฉายภาพยนตร์ สามารถทำกิจกรรมได้โดยไม่ต้องเจอขั้นตอนที่ซับซ้อน
- ทำลายกำแพงพรมแดนประเทศออกไป นั่นคือ คนทำหนังในไทย สามารถส่งภาพยนตร์ออกไปต่างประเทศได้ และคนจากต่างประเทศก็สามารถมาสร้างภาพยนตร์ในไทยได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของรัฐ
- ภาพยนตร์ที่ผ่านการอนุญาตแล้ว น่าจะถือเป็นการอนุญาตที่เนื้อหา ไม่ใช่สื่อหรืิอวัสดุที่ใช้บรรจุภาพยนตร์
- กฎหมายนี้ควรคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคทั่วไป การแลกเปลี่ยนภาพยนตร์กันเองระหว่างผู้บริโภคจึงไม่ควรกำหนดต้องขออนุญาต
การทำงานของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการภายใต้กฎหมายนี้ ต้องมีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน เปิดเผย เป็นธรรม และมีกลไกการรับผิด
- การอุทธรณ์คำตัดสินใดๆ ผลของการอุทธรณ์ต้องไม่สร้างโทษที่หนักกว่าคำตัดสินเดิม เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครกล้าอุทธรณ์
- เจ้าหน้าที่จะสั่งหยุดการสร้างภาพยนตร์ได้ ก็ต่อเมื่อมีคำสั่งศาล ห้ามบุกสั่งด้วยวาจา
- คณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์ น่าจะมีองค์ประกอบที่ชัดเจนและหลากหลาย มีแนวทางการทำงานที่ชัดเจนเปิดเผย รวมทั้งมีกลไกการรับผิดด้วย
โทษสูงสุดของกฎหมายนี้ ควรปรับให้เบาลง และควรยกเลิกโทษจำคุก เพราะการแสดงความเห็นและการผลิตงานศิลปะใดๆ หากกำหนดโทษไว้สูงเกินไปจะสร้างบรรยากาศการเซ็นเซอร์ตัวเองขึ้น
แก้ไขหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับภาพยนตร์ โดยตัดสิ่งที่ซ้ำซ้อนในกฎหมายอื่นๆ ด้านพาณิชย์ออก เพราะโดยรวม โทษของกฎหมายนี้ค่อนข้างสูง และตัดเงื่อนไขที่ว่า ผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นคนทำหนัง คนทำร้านเช่า คนขายหนัง จะต้องไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยด้านเพศ เพราะการเขียนกฎหมายไว้เช่นนี้ถือเป็นการใส่อคติไว้ในกฎหมาย
จากหลักการเหล่านี้ นำมาสู่การแก้ไขข้อความในกฎหมายเดิม และดังที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่า บางเรื่องไม่ได้คิดตรงกัน บางเรื่องเห็นปัญหาแต่ยังไม่แน่ใจเรื่องทางออก จึงขอเปิดกว้างให้ทุกคนช่วยกันระดมความเห็น โดยการแสดงความเห็นแนบท้าย จากนั้น เครือข่ายคนดูหนังจะนำไปประมวลออกมาเป็นร่างฉบับสมบูรณ์
หมายเหตุ:
เราใช้วิธี ขีดเส้นฆ่าตรงกลาง ลงบนข้อความที่ไม่ต้องการ แล้ว ขีดเส้นใต้ ที่ข้อความใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้น
ข้อความที่ถูกขีดฆ่า มีสองเหตุผล คือ อาจเป็นข้อความที่ตัดออกเพราะเนื้อหาไม่ดี หรือเป็นข้อความที่ตัดออกเพราะเชื่อมโยงกับข้อความที่ถูกตัดไปก่อนหน้า
คุณอาจงงเมื่อเห็นตัวเลขมาตราเต็มไปหมด ดังนั้น เพื่อความสะดวก แนะนำให้เปิดพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ฉบับปัจจุบันเทียบไปด้วยกันได้ ที่นี่
ความเป็นมา:
ยกเลิกเรทส่งเสริม (เรท ๑) และเรทห้ามฉาย (เรท ๗), ยกเลิกอำนาจของคณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์ไม่ให้สั่งห้ามฉายหนังได้, เปิดกว้างให้หนังกลางแปลงฉายหนังได้มากขึ้น
อ่านต่อ
นิยามความหมายของโรงภาพยนตร์ให้ชัดขึ้น, ลดเงื่อนไขเพื่อให้ภาพยนตร์ไทยเทศเดินทางสะดวก, ส่งเสริมคนทำหนังอิสระ, การแลกหนังกันดูไม่ใช่อาชญากรรม
อ่านต่อ
เปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้คนของรัฐมีไม่เกินครึ่งหนึ่ง, ลบอำนาจสั่งห้ามสร้างหนัง, ย้ำกระบวนการทำงาน จะบุกค้นจับต้องมีหมายศาล, เพิ่มกลไกตรวจสอบและควบคุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์, กลไกอุทธรณ์ ห้ามทำให้โทษยิ่งสูงขึ้น
อ่านต่อ
ทำให้โทษปรับเบาลง โดยเปลี่ยนสำนวนการเขียนกฎหมาย จากแบบเดิมที่เป็น "โทษปรับ XXXXXX บาท ถึง XXXXXXXX บาท" มาเป็น "โทษปรับไม่เกิน XXXXX บาท" และตัดโทษจำคุกออก
อ่านต่อ
ตัดข้อความที่ไม่จำเป็นออก เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของคนทำหนัง คนทำร้านเช่า คนขายหนัง
อ่านต่อ
Comments
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=463258
อ่านแล้วคิดยังไงกัน?
แต่ประเทศนี้ก็มัวแต่สนใจและถนัดไปไล่บี้รายย่อย ไม่เห็นช่วยแก้โจทย์กลไกราคาเลย
- หนังนั้นๆ ต้องผ่านคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์
- คนที่จะขายหนังได้ ก็ต้องได้รับใบอนุญาต
แบบนี้ ผู้ค้ารายย่อยน่าจะหมดสิทธิ์ คนทำหนังอินดี้ก็คงไปขายแผ่นตามกิจกรรมต่างๆ ลำบาก
อยากรู้เดี๋ยวเล่าให้ฟังหลังไมค์ ว่ามันน่้าละอาจกว่าที่คิดนะ
การณีอย่างนี้จะไม่เกิดกับผู้ค้าทั่วไป เนื่องจากว่าขณะจับกุมจะมีเจ้าหน้าที่ลิกขสิทธิ์กับตำรวจมาด้วยกัน เจ้าหน้าที่ลิกขสิทธิ์จะชี้ให้ตารวจจับกุมยึดสินค้า cd vcd dvd แผ่นที่ผิกกฎหมายที่จ้าหน้าที่ลิกขสิทธิ์ชี้ให้จับกุมเอาทั้งสินค้า และคนขายไปสถานนีตำรวจท้องที่ ก็จะเกิดการต่อรองเรียกเงินกัน ของจ้าหน้าที่ลิกขสิทธิ์หากต้องการยุติเรื่อง ซึ่งผู้ค้าทั่วไปที่ไม่ใช่รายใหญ่ต่างก็ต้องการยุตเรื่องด้วยการจ่ายเงินแล้วออกไปขายใหม่ ก็ต้องจ่าย
ในกรณีที่เป็นผู้ค้าที่มีแผงขายประจำ มักจะมีการจ่ายส่วยรายเืดือนให้........... เวลาจ้าหน้าที่ลิกขสิทธิ์จะให้ไปจับ (หลังจากข้บรถตรวจตระเวนหาแผงผู้ค้าและส่งคนลงไปล่อซื้อ ที่จริงผู้ค้าก็พอรู้เนื่องจากเป็นคนแปลกหน้าไม่ใช่ลูกค้าประจำ ) ก็จะโทรแจ้งให้ผู้ค้าที่จ่ายส่วยทราบก่อนไป
อีกกรณีจ้าหน้าที่ลิกขสิทธิ์ จะเรียกเงินกับผู้ค้าเองเลยต้องจ่ายเดือนละเท่าไรต่อรองตกลงกันได้ ถ้าตอลงกันไม่ได้ ผู้ค้าก็ต้งย้ายที่ขาย หรือเปลี่ยนวิธีการขาย บางรายสู้ไม่ไหว ก็เลิกขายไปเลยก็เป็นผลงานของเจ้าหน้าที่ลิกขสิทธิ์ และเป็นผลดีกับเจ้าของลิกขสิทธิ์
กรณีนี้ก็รองคิดคูเอาว่าทำไมถึงถูกจับดำเนินคดี การแก้กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวจะสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่
1.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นทั่วไป
2.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
3.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
4.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่13 ปีขึ้นไป
5.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
6.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และ
7.วีดิทัศน์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร
ในกม.ฉบับนี้ "วิดีทัศน์" หมายถึงเกมและคาราโอเกะ
การกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์อนุญาตให้จำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น เกม คาราโอเกะ และภาพยนตร์ ล้วนอยู่ใน "พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551" แต่ตอนที่ออกกฎหมาย ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องเรทติ้งของเกมและคาราโอเกะ มีแต่รายละเอียดเรทติ้งของภาพยนตร์เท่านั้น
ทางกท.วัฒนธรรมจึงได้เสนอเรทติ้งวิดีทัศน์ทั้ง 7 ระดับไปให้กฤษฎีกาพิจารณาแล้ว และคาดว่าจะส่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และเข้าสู้สภาผู้แทนฯ เพื่อแก้ไขมาตรา 47 วรรคหนึ่ง
หากยังไม่ลืมข่าวคนเก็บขยะขายซีดีที่ถูกปรับเงินแสนตามกฎหมายนี้ ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและนอกวงการกฎหมาย หากกระแสดังกล่าวไม่ได้ถูกลืม ก็มีแนวโน้มที่กฎหมายนี้อาจจะถูกแก้ไขรวดเร็วขึ้น และหากเป็นแบบนั้น แน่นอนว่า มาตรา 47 ที่ว่าด้วยเรื่องเรทติ้งเกม ก็คงถูกเพิ่มเข้ามาในการแก้ไขนี้ด้วย
และหากมีการแก้ไขมาตรา 47 ว่าด้วยเกมและคาราโอเกะ ขั้นตอนต่อไปคือการออกกฎกระทรวงที่จะมากำหนดเงื่อนไข ที่ร้านค้าที่ประกอบการด้านเกมและคาราโอเกะในระดับต่างๆ ต้องปรับตัวตามกฎหมายต่อไป
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2552 นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างกฎหมายการกำหนดประเภทของเกม หรือเรตติ้ง เพื่อบรรจุลงในพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ในมาตรา 47/1 ว่า ขณะนี้ร่างกฎหมายการกำหนดประเภทของเกมหรือเรตติ้ง ได้ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ซึ่งมีการปรับแก้ข้อความให้ชัดเจนมากขึ้นและประเภทของเรตติ้งใหม่ โดยมี 7 ประเภท ดังนี้ 1.เกมที่เหมาะสมกับผู้เล่นทุกวัย 2.เกมที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุ 3 ปีขึ้นไป 3.เกมที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุ 6 ปีขึ้นไป 4.เกมที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุ 13 ปีขึ้นไป 5.เกมที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุ 15 ปีขึ้นไป 6.เกมที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุ 20 ปีขึ้นไป และ 7.เกมที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร
“หากผ่านความเห็นชอบจาก ครม.จะเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ เพื่อแก้ไขพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ใน มาตรา 47/1 นอกจากนี้กระทรวงจะจัดทำร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดรายละเอียดของเรตติ้ง เหมือนกับการจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ อย่างไรก็ตามหากร่างกฎหมายการกำหนดประเภทของเกมมีผลบังคับใช้ จะมีการแบ่งประเภทผู้ประกอบธุรกิจเกม และประเภทของเกม เพื่อเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการควบคุมเกมรุนแรงที่เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ที่สำคัญยังเป็นการควบคุมระดับความรุนแรงของเกม อายุผู้เล่นได้ด้วย” นายธีระ กล่าว
ผมว่าัปัญหาคือการแจ้ง และเข้มงวดของภาครัฐในการจัดเรต กรณีหนังแผ่น หรือแม้แต่โรงหนังชั้นสองเท่าที่ผมเห็นมา เขายังไม่ค่อยทราบเลยครับว่ามีการจัดเรตให้หนังแผ่น แล้วต้องตรวจบัตร ส่วนหนึ่งเพราะหนังเรต ฉ 20- ซึ่งภาครัฐบังคับให้ตรวจบัตรมันน้อยมาก