มาตรา ๒๓ ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องดำเนินการสร้างภาพยนตร์ในลักษณะที่ไม่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง และเกียรติภูมิของประเทศไทย
มาตรา ๒๖ ในการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ตามมาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์กำหนดด้วยว่าภาพยนตร์ดังกล่าวจัดอยู่ในภาพยนตร์ประเภทใด ดังต่อไปนี้
(๑) ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู
(๒) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป
(๓) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบสามปีขึ้นไป
(๔) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป
(๕) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีขึ้นไป
(๖) ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีดู
(๗) ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร
ความใน (๖) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ดูซึ่งบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส
หลักเกณฑ์ในการกำหนดว่าภาพยนตร์ลักษณะใดควรจัดอยู่ในภาพยนตร์ประเภทใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๙ ในการพิจารณาอนุญาตภาพยนตร์ตามมาตรา ๒๕ ถ้าคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์เห็นว่าภาพยนตร์ใดมีเนื้อหาที่ เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทยให้คณะ กรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์มีอำนาจสั่งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขหรือตัด ทอนก่อนอนุญาต หรือจะไม่อนุญาตก็ได้
ภาพยนตร์ที่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตตามมาตรา ๒๕ มิให้ถือว่าภาพยนตร์นั้นมีลักษณะที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๙ การอนุญาตให้นำภาพยนตร์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ไม่คุ้มครองผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๒๕ ให้พ้นจากความรับผิดในทางแพ่ง ทางอาญา หรือจากการกระทำที่ต้องรับผิดตามกฎหมายอื่นอันเกิดจากการฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์
มาตรา ๔๖ การฉายภาพยนตร์ในสถานที่ที่บุคคลทั่วไปสามารถดูได้ ต้องไม่เป็นภาพยนตร์ที่จัดอยู่ในประเภทตามมาตรา ๒๖ (๑) หรือ (๒)(๖)
Comments
1.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นทั่วไป
2.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
3.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
4.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่13 ปีขึ้นไป
5.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
6.วีดิทัศน์ที่เหมาะสมกับผู้เล่นอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และ
7.วีดิทัศน์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร
ในกม.ฉบับนี้ "วิดีทัศน์" หมายถึงเกมและคาราโอเกะ
การกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์อนุญาตให้จำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น เกม คาราโอเกะ และภาพยนตร์ ล้วนอยู่ใน "พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551" แต่ตอนที่ออกกฎหมาย ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องเรทติ้งของเกมและคาราโอเกะ มีแต่รายละเอียดเรทติ้งของภาพยนตร์เท่านั้น
ทางกท.วัฒนธรรมจึงได้เสนอเรทติ้งวิดีทัศน์ทั้ง 7 ระดับไปให้กฤษฎีกาพิจารณาแล้ว และคาดว่าจะส่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และเข้าสู้สภาผู้แทนฯ เพื่อแก้ไขมาตรา 47 วรรคหนึ่ง
หากยังไม่ลืมข่าวคนเก็บขยะขายซีดีที่ถูกปรับเงินแสนตามกฎหมายนี้ ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและนอกวงการกฎหมาย หากกระแสดังกล่าวไม่ได้ถูกลืม ก็มีแนวโน้มที่กฎหมายนี้อาจจะถูกแก้ไขรวดเร็วขึ้น และหากเป็นแบบนั้น แน่นอนว่า มาตรา 47 ที่ว่าด้วยเรื่องเรทติ้งเกม ก็คงถูกเพิ่มเข้ามาในการแก้ไขนี้ด้วย
และหากมีการแก้ไขมาตรา 47 ว่าด้วยเกมและคาราโอเกะ ขั้นตอนต่อไปคือการออกกฎกระทรวงที่จะมากำหนดเงื่อนไข ที่ร้านค้าที่ประกอบการด้านเกมและคาราโอเกะในระดับต่างๆ ต้องปรับตัวตามกฎหมายต่อไป