ไฟล์แนบ | ขนาดไฟล์ |
---|---|
รัฐธรรมนูญ 2540.PDF | 4.96 MB |
รัฐธรรมนูญ 2550.pdf | 872.94 KB |
รัฐธรรมนูญ 2560.pdf | 581.52 KB |
การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน เป็นสิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เช่นเดียวกับปัจจุบัน รัฐธรรมนูญ 2560 ก็ระบุ ให้ประชาชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมทางการเมืองในการกำหนดอนาคตของตนเองและประเทศ ผ่านการเข้าชื่อเสนอกฎหมายด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน สามารถรวมตัวกันเข้าชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของชาวไทยและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐต่อสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้การเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีหลักการสำคัญสามประการที่ประชาชนผู้ต้องการเสนอกฎหมายควรรู้
ตารางเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ2540-2550-2560 ประเด็นสิทธิ-การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย |
ประเด็น | รัฐธรรมนูญ 2560 | รัฐธรรมนูญ 2550 | รัฐธรรมนูญ 2540 |
คุณสมบัติและจำนวนของผู้มีสิทธิเสนอร่างพ.ร.บ. | มาตรา 133 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า10,000 คน | มาตรา 163 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน | มาตรา 170 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน |
ร่างพ.ร.บ.ที่ประชาชนมีสิทธิเสนอ | มาตรา 133 ประชาชนมีสิทธิเสนอ ร่างพ.ร.บ. เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ใน หมวด 3สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หมวด 5หน้าที่ของรัฐ | มาตรา 163 ประชาชนมีสิทธิเสนอ ร่างพ.ร.บ. เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ใน หมวด 3สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ | มาตรา 170 ประชาชนมีสิทธิเสนอ ร่างพ.ร.บ. เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ใน หมวด 3สิทธิและเสรีภาพของประชาชน หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ |
ข้อยกเว้น ร่างพ.ร.บ.ที่ประชาชนมีสิทธิเสนอ | มาตรา 133 หากเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวกับเงินต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี | มาตรา 163 หากเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวกับเงินต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี | มาตรา 171 หากเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวกับเงินต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี |