เลือกตั้ง66.: ทำไม กกต. เคาะเลือกตั้ง 7 พ.ค. 66 ตัวเลขนี้มายังไง?

เลือกตั้ง66.: ทำไม กกต. เคาะเลือกตั้ง 7 พ.ค. 66 ตัวเลขนี้มายังไง?

เมื่อ 10 ต.ค. 2565
วาระสี่ปีของสภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เข้าใจของประชาชนด้วยทั่วไป ว่าเมื่อครบระยะเวลาสี่ปีแล้วจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ อย่างไรก็ตาม การกำหนดวันเลือกตั้งในการปกครองระบบรัฐสภาก็ไม่ได้มีความแน่นอนและการรันตีว่าเมื่อครบสี่ปีแล้วจะมีการเลือกตั้ง เพราะยังมีอำนาจของนายกรัฐมนตรีในการยุบสภาผู้แทนฯ ที่อาจทำให้การเลือกตั้งเร็วขึ้นหรือช้าลงได้อีก
 
ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 การกำหนดการเลือกตั้งว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร และจะเลือกตั้งช้าหรือจะเร็วเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขสองประการ คือ กรณีครบวาระสภาผู้แทนราษฎร และกรณีนายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎร โดยทั้งสองเงื่อนไขแตกต่างกันดังนี้
 
 
 
วันเลือกตั้งในกรณีครบวาระสภาผู้แทนฯ
 
รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 102 กำหนดว่า “เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุด...”
 
ขณะที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2561 มาตรา 12 กำหนดว่า “ภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งทั่วไปบังคับใช้”  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดวันเลือกตั้งโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
 
ตัวอย่าง ในกรณีสภาผู้แทนราษฎรชุดที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 อยู่จนครบวาระสี่ปี ซึ่งวันครบวาระจะตรงกับวันที่ 23 มีนาคม 2566 ดังนั้นเมื่อสภาครบวาระ กกต.จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในห้าวันหลังจากสภาครบวาระ คือ ตั้งแต่วันที่ 24 – 28 มีนาคม 2566 โดย กกต. ต้องเลือกวันใดวันหนึ่งภายใน 45 วันหลังจากวันที่สภาสิ้นสุดเป็นวันเลือกตั้ง ซึ่งวันดังกล่าวต้องไม่เกินวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2556 ทั้งนี้โดยธรรมเนียมทั่วไป กกต.จะเลือกวันอาทิตย์เป็นวันเลือกตั้ง
 
 
กรอบระยะเวลาการเลือกตั้งกรณีสภาผู้แทนฯ อยู่ครบวาระ
 

อาทิตย์

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

ปี 2566

 

23

(ครบวาระ)

24

(สภาฯ สิ้นสุด)

25

มีนาคม

26

27

 

28

(ประกาศ
วันเลือกตั้ง)

29

30

31

 

 

1

เมษายน

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

 

 

 

 

 

 

 

1

2

3

4

5

6

พฤษภาคม

7

(ครบ 45 วัน)

8

9

10

11

12

13

 

วันเลือกตั้งในกรณีนายกฯ ยุบสภาฯ
 
การกำหนดวันเลือกตั้งในกรณีนายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนฯ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 103 กำหนดว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสภาฯ ให้ กกต. ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษาภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ โดยกรอบระยะเวลาในการกำหนดวันเลือกตั้งต้องไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ
 
จะเห็นได้ว่า หากมีการยุบสภาฯ กรอบระยะเวลาในการกำหนดเลือกตั้งของ กกต.จะขยายจากกรณีครบวาระที่กำหนดภายใน 45 วัน เป็นไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน
 
ด้วยเหตุนี้ หากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภาฯ ในช่วงใกล้ครบอายุของสภาผู้แทนฯ คือระหว่างวันที่ 8 – 23 มีนาคม 2566 จะทำให้กรอบระยะเวลาในการกำหนดวันเลือกตั้งจะเกินวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จะกำหนดเป็นวันเลือกตั้งในกรณีสภาอยู่ครบวาระ
 
 
ทั้งนี้ หากพลเอกประยุทธ์ ตัดสินใจยุบสภาฯ ในวันสุดท้ายของสภาผู้แทนฯ คือวันที่ 23 มีนาคม 2566 จะทำให้กรอบระยะเวลาในการกำหนดวันเลือกตั้งจะไปสิ้นสุดในวันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2566 ดังนั้นถ้าหากใช้วิธีนี้ วันเลือกตั้งอย่างช้าที่สุดก็น่าจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2566
 
 
กรอบระยะเวลาการเลือกตั้งกรณียุบสภาวันสุดท้ายของสภาผู้แทนฯ
 

อาทิตย์

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

ปี 2566

 

8

9

10

11

มีนาคม

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

(ยุบสภา)

24

 

25

26

27

(ประกาศ
วันเลือกตั้ง)

28

 

29

30

31

 

 

1

เมษายน

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

 

 

 

 

 

 

 

1

2

3

4

5

6

พฤกษาคม

7

8

(ครบ 45 วัน)

9

 

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

(ครบ 60 วัน)

 

 

 

 

 

 
 
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่การยุบสภาฯ สามารถทำได้ตลอดเวลาตามที่นายกฯ ต้องการ ทำให้การเลือกตั้งสามารถเร็วขึ้นกว่ากรณีครบวาระ หรือการไปยุบสภาฯ ในช่วงใกล้ครบวาระก็ได้
 
ดังนั้นหากเชื่อกันว่าจะมีการยุบสภาฯ หลังการจัดประชุมเอเปค ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน 2565 ก็จะทำให้การเลือกตั้งเกิดเร็วขึ้นได้อีก
 
สมมุติว่า พลเอกประยุทธ์ ยุบสภาฯ หลังจบเอเปค โดยเลือกวันที่ 1 ธันวาคม 2565 เป็นวันยุบสภาฯ กกต. ก็จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในกรอบระยะเวลา 45 – 60 วัน นับจากที่มีการยุบสภาฯ ซึ่งวันเลือกตั้งจะต้องอยู่ระหว่างวันที่ 14 – 29 มกราคม 2566 โดยวันอาทิตย์ของช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะมีโอกาสเป็นวันเลือกตั้งในกรณีนี้
 
 
กรอบระยะเวลาการเลือกตั้งกรณียุบสภาหลังการประชุมเอเปค
 

อาทิตย์

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

เดือน

 

 

1

(ยุบสภา)

2

3

 

 

 

 

ธันวาคม

2565

 

 

4

5

(ประกาศ
วันเลือกตั้ง)

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

1

2

3

4

5

6

7

มกราคม 2566

8

9

10

11

12

13

14

(ครบ 45 วัน)

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

(ครบ 60 วัน)

30

31