9 ปีคสช. รัฐบาลประยุทธ์อำนาจเต็มมือแต่ยังออกพ.ร.ก. 31 ฉบับ

9 ปีคสช. รัฐบาลประยุทธ์อำนาจเต็มมือแต่ยังออกพ.ร.ก. 31 ฉบับ

เมื่อ 22 พ.ค. 2566

 

เป็นเวลา 9 ปีเต็มแล้ว ที่พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าสู่อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 และอยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องมายาวนาน ตลอดระยะเวลานี้พล..ประยุทธ์ อาศัยอำนาจคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนด (...) ทั้งหมด 31 ฉบับ แบ่งออกเป็น 16 ฉบับออกในสมัยที่หนึ่งหลังรัฐประหารปี 2557 (22 พฤษภาคม 2557 ถึง 9 มิถุนายน 2562) และ15 ฉบับออกในสมัยที่สองหลังการแต่งตั้งโดยรัฐสภาในปี 2562 (9 มิถุนายน 2562 ถึงปัจจุบัน) 

 

ทั้งที่ตลอดระยะเวลานี้ พล..ประยุทธ์ ถือครองอำนาจในการออกกฎหมายไว้ได้ตลอด ในช่วงหลังการรัฐประหารก็แต่งตั้งพวกพ้องตัวเองทำหน้าที่ออกกฎหมายในนามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และยังมีอำนาจออกประกาศและคำสั่งตามมาตรา44” ได้อยู่แล้ว ส่วนในยุคต่อมาก็ถือเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรพร้อมสมาชิกวุฒิสภาที่คัดสรรมาเองอีก 250 คน แต่อำนาจออกกฎหมายแบบลัดขั้นตอน" ก็ยังถูกใช้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอดีตของนายกรัฐมนตรี 10 คนก่อนหน้านั้นนับตั้งแต่สมัยบรรหาร ศิลปอาชา จนถึงสมัยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้อำนาจออกพ... รวมกันไป 40 ฉบับ

 

รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 บัญญัติไว้ว่าในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้ 

 

หมายความว่า การออกกฎหมายเป็น ... นั้นจะต้องเป็นกรณีมีเงื่อนไขที่ครม. “เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้เจตนารมณ์ของมาตรานี้ คือการให้อำนาจครม. ออกพ... ซึ่งเป็นกฎหมายระดับเดียวกับพระราชบัญญัติ ในกรณีที่เกิดเหตุเร่งด่วนอันรัฐบาลจะต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนไว้โดยไม่ล่าช้า เพราะว่าการออกกฎหมายพระราชบัญญัติอาจใช้ระยะเวลาที่นานกว่าและบางกรณีจะไม่สามารถแก้ปัญหาฉุกเฉินนั้นทันเวลาอันสมควร

 

 

 

... 16 ฉบับที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาออกในสมัยที่หนึ่งมีดังต่อไปนี้

 

1) ...การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย .. 2558 

 

เหตุผลที่การออก ... ฉบับนี้ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 คือ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ประเมินว่าประเทศไทยขาดประสิทธิภาพในการกำกับและดูแลความปลอดภัยของการบินพลเรือนในประเทศ ซึ่งขัดต่อมาตรฐานการบินพลเรือนสากลอันส่งผลเสียหายต่อกิจการการบินพลเรือนต่างๆ ในประเทศไทย

 

... ฉบับนี้จึงจัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นหน่วยงานกำกับ ดูแล ควบคุม ส่งเสริม และพัฒนากิจการการบินพลเรือนและนโยบายการบินพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตราฐานการบินพลเรือนสากล นอกจากนี้แล้ว สำนักงานการบินพลเรือนก็มีหน้าที่ออกกฎระเบียบข้อบังคับและคำสั่งเกี่ยวกับการบินพลเรือนให้เป็นไปตามมาตฐานสากล

 

 

2) ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ .. 2497 .. 2558

 

เหตุผลที่ออกการออกพ... นี้ คือ เพื่อปรับโครงสร้างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ ICAO กำหนด เนื่องจากมีพ... ที่จัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยแล้ว จึงต้องแก้ไขให้พ...การเดินอากาศ .. 2497 มีการเสริมเพิ่มเติมบทบาทและหน้าที่ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยให้ชัดเจนมากขึ้น

 

... ฉบับนี้เพิ่มบทบาทของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยไปในพ...การเดินอากาศ .. 2497 เพื่อเป็นหน่วยงานรัฐที่มาทำหน้าที่แทนที่กรมการบินพลเรือนซึ่งถูกยุบไป และมีการเพิ่มเติมกฎหมายข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการเดินอากาศและความปลอดภัยทางการเดินอากาศ

 

 

3) ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม .. 2545 .. 2558

 

เหตุผลที่ออกการออกพ... ฉบับนี้ คือ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่ ICAO ประเมินด้วยการปรับโครงสร้างราชการของหน่วยงานเกี่ยวกับการบินพลเรือน ซึ่งจะส่งผลให้หน่วยงานการที่เกี่ยวกับการบินพลเรือนต่าง ของประเทศไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่ ICAO กำหนด

 

... ฉบับนี้กำหนดขอบเขตหน้าที่ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยให้รวมถึงการช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย งานนิรภัยการบิน และการสอบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับอากาศยาน ซึ่งกำหนดขอบเขตหน้าที่นี้ก็มาพร้อมกับการปรับโครงสร้างราชการด้วยโอนสิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน หน้าที่ งบประมาน บุคคลากร ข้าราชการ พนักงาน กฎระเบียบ และข้อบังคับจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานรัฐอื่นๆ  กล่าวคือการโอนสิ่งข้างต้นระหว่างหน่วยงานรัฐเพื่อให้หน่วยงานรัฐได้ทำหน้าที่ตามจุดประสงค์และมีประสิทธิภาพ

 

 

4) ...การประมง .. 2558

 

...ฉบับนี้ ออกมายกเลิกพระราชบัญญัติการประมงที่เพิ่งประกาศใช้ก่อนหน้านั้นในปีเดียวกัน เหตุผลที่ต้องเออกเพื่อ มุ่งจัดระเบียบการประมงในประเทศและน่านน้ำทั่วไปเพื่อป้องกันการประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU Fishing) และคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรมประมง กำหนดกรอบเวลาในกรณีกระทำความผิดซ้ำซากที่ชัดเจนและกำหนดโทษที่รุนแรงขึ้น

 

... ฉบับนี้เพิ่มข้อกฎข้อบังคับในการประมงให้เคร่งครัดมากขึ้นเพื่อเป็นไปตามหลักและมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้มีการเพิ่มข้อกำหนดต่างๆ มากมาย เช่น ห้ามผู้ไร้สัญชาติทำการประมง เพิ่มเติมสิทธิและสวัสดิการของชาวประมง เพิ่มระเบียบในขอใบอนุญาตทำการประมง สร้างคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติเพื่อกำกับ ดูแล และส่งเสริมอุตสาหกรรมการประมง กำหนดขอบเขตที่สามารถทำการประมงและค้าขายสินค้าจากการประมง ฯลฯ

 

 

5) ...ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร .. 2558

 

เหตุผลที่ออกการออกพ... ฉบับนี้ คือ สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เติบโตอย่างล้าช้า ครม. จึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อที่รัฐบาลจะได้มีข้อมูลบัญชีและงบการเงินของ SME ที่สะท้อนสภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง โดยครม. ของพล..ประยุทธ์อ้างว่า เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีอากรอันจำเป็นที่ต้องมีการพิจารณาโดยด่วน

 

... ฉบับนี้ยกเว้นการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรต่อ SME โดยที่ SME ที่มีสิทธิได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรดังกล่าวก็จะต้องทำกระบวนการขั้นตอนตามที่กำหนดเพื่อยกเว้นการเสียภาษีอากร อย่างไรก็ตาม SME ดังกล่าวก็ยังมีหน้าที่ในการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจอย่างแท้จริงแม้จะถูกยกเว้นการเสียภาษีอากรไว้แล้วก็ตาม

 

 

6) ...การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ .. 2559

 

เหตุผลที่ออกการออกพ... ฉบับนี้ คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ส่งผลให้ภาคเอกชนจ้างแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก จึงทำให้กฎหมายและมาตรการควบคุมการจ้างแรงงานต่างด้าวไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างเป็นผล นอกจากนี้แล้วยังมีการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบหรือถูกลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายหรือเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์

 

... ฉบับนี้วางระเบียบขั้นตอนการนำคนต่างด้าวเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศ โดยกำหนดคุณสมบัติที่ธุรกิจและแรงงานต่างด้าวต้องมี รวมถึงวางหลักหน้าที่ของธุรกิจผู้จ้างแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ให้มีขั้นตอนกฎหมายต่างๆ เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของแรงงานต่างด้าวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทย

 

 

7) ...พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 6) .. 2559

 

เหตุผลที่ออกการออกพ... ฉบับนี้ คือ การปฏิบัติตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขการจำแนกประเภทสินค้าในตารางพิกัดอัตราศุลกากรในพ...พิกัดอัตราศุลกากร .. 2560 ให้มีความทันสมัยสอดคล้องต่อมาตรฐานสากลและการค้าระหว่างประเทศ

 

... ฉบับนี้ยกเลิกภาค 2 ในพิกัดฉบับที่ 5 และเพิ่มภาคใหม่เข้าไปเพื่อเป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาดังกล่าว

 

 

8) ...การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว .. 2560

 

...ฉบับนี้ ออกมาในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี เพื่อใช้แทนพ...ฉบับก่อนหน้าในเรื่องเดียวกัน เหตุผลที่ออกการออกพ.. ฉบับนี้ คือ ความครอบคลุมของพ...การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว .. 2559 ต่อปัญหาแรงงานต่างด้าวนั้นไม่เพียงพอต่อปัญหาที่ประสบ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจและสถานภาพของแรงงาน

 

.. ฉบับนี้เพิ่มเติมระเบียบข้อบังคับต่าง จากเดิมให้ครอบคลุมปัญหากว่าฉบับเก่า อาทิ การสร้างกลไกร้องทุกข์ต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่ชาวต่าวด้าวสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การเพิ่มเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานต่างด้าว การเพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างให้เคร่งครัดขึ้นซึ่งรวมถึงการมีกลไกร้องทุกข์ให้แก่ลูกจ้างชาวต่างด้าวด้วย และการกำหนดอัตราโทษทางอาญาต่อผู้ละเมิดที่รุนแรงขึ้น

 

 

9) ...การประมง (ฉบับที่ 2) .. 2560

 

เหตุผลที่ออกการออกพ... ฉบับนี้ คือ ...การประมง .. 2558 นั้นไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาการประมงที่พบเจอ และการที่บทบัญญัติดังกล่าวไม่สะท้อนถึงสภาพการประมงที่แท้จริง นอกจากนี้แล้ว การออกพ... ฉบับนี้ก็มีเหตุเพื่อให้สหภาพยุโรปยกเลิกการแบนผลิตภัณฑ์ที่มาจากอุตสาหกรรมการประมงไทย

 

... ฉบับนี้ปรับปรุงมาตรการคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรมการประมงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กำหนดการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำที่จะสามารถนำไปสู่การประมงที่ยั่งยืนได้ นอกจากนี้แล้วยังเพิ่มโทษทางอาญาต่อผู้ละเมิดอีกเช่นกัน

 

 

10) ...การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) .. 2561

 

เหตุผลที่ออกการพ... คือ ...การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว .. 2560 นั้นได้วางหลักหน้าที่และโทษของผู้อนุญาตให้ชาวต่างด้าวเข้ามาทำงาน นายจ้าง และแรงงานต่างด้าวที่จำกัดสิทธิเสรีภาพเกินไป ซึ่งเกินความจำเป็นต่อการแก้ไขสถานการณ์ที่เร่งรัดของปัญหาแรงงานดังกล่าว

 

.. ฉบับนี้ยกเลิกและปรับปรุงระเบียบข้อบังคับต่างๆ ให้เหมาะสมแก่สถานการณ์ และจำกัดสิทธิเสรีภาพน้อยลง นอกจากนี้แล้ว ขั้นตอนและหน้าที่ต่างๆ ของผู้จ้างและแรงงานต่างด้าวก็มีการแก้ไขให้เคร่งครัดและยุ่งยากน้อยลง

 

 

11) ...แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) .. 2561

 

เหตุผลที่ออกพ.. ฉบับนี้ คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล ซึ่งการลงทุนนี้ยังไม่ได้มีกฎหมายในการกำหนดหน้าที่การจ่ายภาษีของนักลงทุนที่ได้กำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลส่งผลให้ภาครัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างครอบคลุมครบถ้วน

 

... ฉบับนี้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรด้านการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้รวมถึงเงินได้ที่มาจากกำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลอีกด้วย และวางหลักเกณฑ์การคำนวนภาษีสำหรับรายได้ที่มาจากกำไรดังกล่าว

 

 

12) ...การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล .. 2561

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ บทบาทในสังคมและเศรษฐกิจของสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยที่ประชาชนสนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นไม่มีกฎหมายที่กำกับดูแลใด การมีบทบาทของเทคโนโลยีในเศรษฐกิจก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลให้มีการออกกฎหมายนี้เพื่อให้เทคโนโลยี กฎหมาย และเศรษฐกิจสอดคล้องกัน

 

.. ฉบับนี้เพิ่มเติมหลักใหม่เข้ามาในกฎหมายไทย ซึ่งก็คือสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีการให้คำนิยามและกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อคุ้มครองประชาชนและนักลงทุนที่มีส่วนร่วมในการซื้อขายและเปลี่ยนในสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างแพร่หลาย ทั้งคริปโตเคอร์เรนซี หรือโทเคนดิจิทัลและการระดมทุนสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้แล้ว มีการกำหนดมาตรฐาน ข้อบังคับ และการขอใบอนุญาตของการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และการเก็บรักษาสินทรัพย์ของประชาชนผู้ใช้งานธุรกิจดังกล่าว

 

 

13) ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง .. 2522 .. 2561

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ การประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระดับไร้ฝีมือในอุตสาหกรรมต่างๆ ...คนเข้าเมือง .. 2522 นั้นมีข้อกำหนดหลายช้อเพื่อจำกัดการเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวในระดับไร้ฝีมือ ที่ทำอาชีพกรรมกรและรับจ้างทำงานด้วยกำลังกายโดยไม่ต้องอาศัยวิชาความรู้หรือการฝึกทางวิชาการ จึงทำให้อุตสาหกรรมในภาคต่างๆ ขาดแรงงานประเภทนี้

 

... ฉบับนี้ยกเลิกข้อจำกัดดังกล่าวเพื่อขยายขอบเขตอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถเข้ามาทำงานได้ในประเทศไทยและเปลี่ยนข้อกำหนดเรื่องการห้ามประกอบอาชีฟระหว่างมีการอาศัยอยู่ในประเทศไทย

 

 

14) ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ..2561

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ การปรับปรุงระบบารจดทะเบียนเรือประมง สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของเจ้าเรือหรือผู้ครอบครองเรือประมง โดยประกอบกับการบังคับใช้พ...การประมง .. 2558 เพื่อป้องกันการประมงและการเดินเรือที่ผิดกฎหมาย และเพื่อให้มาตรฐานการประมงไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล

 

... ฉบับนี้แก้ไขและเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับเรือประมงในพ...เรือไทย .. 2481 เพิ่มขั้นตอนและเกณฑ์ในการจดทะเบียนเรือประมงและเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ และเพิ่มเติมโทษหากเจ้าเรือหรือผู้ครอบครองเรือประมงไม่ทำตามที่กำหนดไว้

 

 

15) ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 (ฉบับที่ 2) .. 2561 

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ หลังจากที่พ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 .. 2561 หรือฉบับก่อนหน้านี้ ปรากฎว่ามีเรือที่เจ้าเรือโอนให้คนอื่นไปแล้วหรือไม่ได้ครอบครองเรืออีกต่อไปแล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้มีผู้ที่ครอบครองเรือดังกล่าวไปใช้ในการประมง ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือสนับสนุนการประมงอย่างผิดกฎหมาย

 

... ฉบับนี้เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มมาตรการการป้องกันการนำเรือดังกล่าวมาใช้อย่างผิดกฎหมายการประมง ซึ่งรวมถึงการเพิ่มนิยามของเรือสนับสนุนการประมง การเพิ่มระเบียบในการเพิกถอนและจดทะเบียนทะเบียนเรือ ใบอนุญาตการเดินเรือ และใบอนุญาตใช้เรือ การกำหนดให้เจ้าเรือแจ้งสถานการณ์ที่ประสบทำให้สูญเสียการครอบครองเรือ และการเพิ่มโทษสำหรับผู้ใช้เรือที่ถูกเพิกถอนทะเบียน

 

 

16) ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ .. 2551 .. 2562

 

เหตุผลที่ออกพ.. ฉบับนี้ คือ การขาดบทบัญญัติว่าด้วยมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกบังคับใช้แรงงานหรือบริการโดยการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

... ฉบับนี้เพิ่มลักษณะการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์และบังคับใช้แรงงานหรือบริหารเพื่อครอบคลุมขอบเขตของฐานความผิดดังกล่าวมากขึ้น เพิ่มเติมมาตรการการคุ้มครองผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงาน การบังคับใช้บริการ และการค้ามนุษย์ และการเพิ่มโทษของผู้ที่กระทำผิดฐานดังกล่าวให้รุนแรงขึ้น  

 

 

จะเห็นได้ว่า พระราชกำหนดทั้ง 16 ฉบับที่ออกในสมัยรัฐบาลพล..ประยุทธ์ 1 เป็นกฎหมายที่ถูกจัดว่าเร่งด่วนเพื่อปรับตัวให้ประเทศไทยทันสมัยหรือสามารถยืนอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติได้ ทั้งเรื่องการบินพลเรือนที่ต้องการให้กฎหมายไทยได้มาตรา ICAO หรือเรื่องการทำประมงที่ต้องการปลดใบเหลืองจากการทำประมงผิดกฎหมาย และละเมิดสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ จึงต้องแก้ไขกฎหมายทั้งเรื่องการรเดินเรือ เรื่องการประมง แรงงานข้ามชาติ และการค้ามนุษย์หลายฉบับประกอบกัน หรือประเด็นการออกกฎหมายเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อให้ประเทศไทยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลด้วย

 

มีข้อสังเกตว่า มีพ...อย่างน้อย 4 ฉบับที่ออกมาเพื่อแก้ไขกฎหมายเดิมในเรื่องเดียวกันที่เพิ่งออกมาก่อนหน้านั้น เมื่อประกอบกับการออกประกาศและคำสั่งของ คสช. อีกหลายฉบับในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน แสดงให้เห็นว่า การพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ของรัฐบาลพล..ประยุทธ์ มีลักษณะเร่งรีบและร้อนรนนอกจากจะใช้อำนาจพิเศษลัดขั้นตอนออกกฎหมายและยังต้องแก้ไขกลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง

 

 

 

 

 

... 15 ฉบับที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาออกในสมัยที่สองมีดังต่อไปนี้

 

1) ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว .. 2562 .. 2562 

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ ความไม่พร้อมด้านบุคคลากร เนื่องจากบุคคลากรจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จึงทำให้มีจำนวนไม่เพียงพอในการบังคับใช้พ...ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว .. 2562

 

... ฉบับนี้เลื่อนการบังคับใช้ของพ...ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว .. 2562 ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับครม. ว่าเห็นควรบังคับใช้เมื่อไร ซึ่งเมื่อผ่านมาอีกสี่ปีให้หลังพ...ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว ก็ยังคงไม่ถูกบังคับใช้

 

 

2) ...โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการ ในพระองค์ .. 2562 

 

เหตุผลที่ออกพ.. ฉบับนี้ คือ การสนับสนุนความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ ด้วยการโอนบรรดาอัตรากำลังพลแลละงบประมานบางส่วนไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

 

... ฉบับนี้บัญญัติให้โอนกำลังพลและงบประมานดังกล่าวในกรมทหารราบที่ 1 และกรมทหารราบที่ 11 ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ กล่าวคือการบังคับบัญชากำลังพลและบริหารงบประมานดังกล่าวจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับกองทัพบกแต่จะขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์

 

 

3) ...การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ส่งผลให้ผู้ประกอบวิสาหกิจขาดรายได้ ซึ่งส่งผลพวงต่อการจ้างงานโดยตรง ทำให้เกิดสภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรงและการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นมาก

 

... ฉบับนี้เพิ่มมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อเพิ่มเติมต่อสถาบันการเงินเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนเพียงพอ ซึ่งกำหนดขั้นตอนและข้อกำหนดในการขอสินเชื่อเพิ่ม และเพิ่มมาตรการการชะลอการชำระหนี้สำหรับบุคคลทั่วไปที่ทำธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางการเงิน กล่าวคือเป็นการที่ลูกหนี้สามารถเลื่อนเวลาชำระหนี้ออกไปโดยไม่ถือว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัดและไม่ถือว่าเป็นการปลดหนี้

 

 

4) ...การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ .. 2563

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลตลาดตราสารหนี้เกิดการหยุดชะงักทำให้ผู้ประกอบการที่ลงทุนและระดมทุนในตราสารหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงอาจก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ต่อตราสารหนี้ที่ครบกำหนดกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจ

 

... ฉบับนี้จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องตัวของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพดังกล่าว ซึ่งเป็นกองทุนที่ภาคเอกชนสามารถลงทุนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนี้แล้วยังให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินของตลาดตราสารหนี้

 

 

5) ...ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ .. 2563

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ การบังคับใช้มาตรการต่าง เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด 19 อาทิ การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) การจำกัดการเดินทาง (lockdown) การกักตัว (quarantine) และการทำงานที่บ้าน (work from home) ทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถพบปะบุคคลอื่น ได้ทางกายภาพ

 

... ฉบับนี้บัญญัติให้การประชุมตามที่กำหนดโดยกฎหมาย เช่น การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี สามารถทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้โดยผู้ที่เข้าประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องไม่เสียสิทธิ กล่าวคือสิทธิต่างๆ ของผู้เข้าร่วมประชุมก็ยังเหมือนเดิมเสมือนประชุมทางกายภาพปกติ และบัญญัติให้สามารถส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

 

 

6) ...ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวนมากเพื่อบังคับใช้มาตรการต่างๆ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด 19 และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้งบประมาณแผ่นดินมากขึ้น

 

... ฉบับนี้อนุญาตให้กระทรวงการคลังกู้เงินบาทหรือเงินต่างประเทศ และออกตราสารหนี้ในนามรัฐบาลเพื่อนำเงินกู้ให้รัฐบาลนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด 19 การเยียวยาประชาชนผู้ที่รับผลกระทบจากโควิด 19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจเท่านั้น โดยการบริหารเงินกู้นั้นต้องเป็นไปตามที่พ... ฉบับนี้กำหนด

 

 

7) ...การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2564 

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปกติ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในระบบเครดิตของการเงินประเทศ ดังนั้นจึงเป็นอันสำคัญที่จะมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินอันจะทำเป็นการป้องกันสภาวะขาดสภาพคล่องและสภาวะผิดนัดชำระหนี้อย่างแพร่หลาย

 

... ฉบับนี้อนุญาตให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้สถาบันการเงินกู้ยืมเงินเพื่อปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำไปใช้เพื่อฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 โดยมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมแหละการวางหลักประกันต่างๆ นอกจากนี้แล้วมีการเพิ่มมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบธุรกิจและมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันอีกด้วย

 

 

8) ...แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ .. 2564

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลให้เกิดการผิดนัดมากขึ้น ส่งผลให้ลูกหนี้ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยผิดนัดมากเกินไป ประกอบกับเหตุที่ SME หลายรายมีการผิดนัด หากไม่ลดอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจประเทศได้ จึงจำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยผิดนัดให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ 

 

... ฉบับนี้บัญญัติให้ลดอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เหลือ 3% ต่อปีภายใต้มาตรา 7 ... และกำหนดให้มีอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเป็น 2% กล่าวคือดอกเบี้ยผิดนัดจำกัดอยู่ที่ 5% ตามขั้นตอนการคำนวณที่บัญญัติไว้

 

 

9) ...ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 2564 

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลให้สังคมประชาชนทั่วไปได้รับผลพวงเศรษฐกิจที่ตามมา จึงจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มเพื่อดำเนินการมาตรการการแก้ไข เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม

 

... ฉบับนี้อนุญาตให้กระทรวงการคลังกู้เงินบาทหรือเงินต่างประเทศ และออกตราสารหนี้ในนามรัฐบาลเพื่อนำเงินกู้ให้รัฐบาลนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด 19 การเยียวยาประชาชนผู้ที่รับผลกระทบจากโควิด 19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจเท่านั้น โดยการบริหารเงินกู้นั้นต้องเป็นไปตามที่พ... ฉบับนี้กำหนด

 

 

10) ...พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) .. 2564 

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ การปฏิบัติตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขการจำแนกประเภทสินค้าในตารางพิกัดอัตราศุลกากรในพ...พิกัดอัตราศุลกากร .. 2560 ให้มีความทันสมัยสอดคล้องต่อมาตรฐานสากลและการค้าระหว่างประเทศ

 

... ฉบับนี้ยกเลิกภาค 2 ในพิกัดฉบับที่ 6 และเพิ่มภาคใหม่เข้าไปเพื่อเป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาดังกล่าว

 

 

11) ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา .. 2555 .. 2564 

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกปรับปรุงประมาลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ส่งผลให้พ...ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางกีฬา .. 2555 ไม่เพียงพอต่อการถูกระเบียบตามประมวลดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้นักกีฬาไทยไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติและประเทศไทยอาจไม่สามมารถจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติได้ อันเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจประเทศ

 

... ฉบับนี้เพิ่มบทบัญญัติกำหนดให้คณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาปฏิบัติตามบทบัญญัติพ...ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางกีฬา .. 2555 เพื่อบังคับใช้มาตรการป้องกันไม่ให้นักกีฬาใช้สารต้องห้ามที่กำหนด เช่น การเก็บตัวอย่างเลือดหรือปัสสาวะของนักกีฬาเพื่อนำไปตรวจสอบสารต้องห้ามนอกจากนี้แล้ว ... ฉบับนี้มีการกำหนดเพิ่มโทษสำหรับผู้ที่ฝ่านฝืนมาตรการดังกล่าว

 

 

12) ...ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง .. 2565 

 

เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ สภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้นเช่นกัน และส่งผลกระทบต่อค่าครอบชีพของประชาชนเช่นกัน สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจึงกู้เงินเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาร้ำมันเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังไม่สามารถค้ำประกันการชำระหนี้ให้สำนักงานกองทุนน้ำมันได้ตามพ...การบริหารหนี้สาธารณะ .. 2548

 

... ฉบับนี้ผ่อนผันมาตรา 18 แห่งพ...การบริหารหนี้สาธารณะ .. 2548 อนุญาตให้กระทรวงการคลังค้ำประกันหนี้ให้การกู้เงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ เพื่อแก้วิกฤตราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงอันเป็นภาระต่อประชาชน

 

 

13) ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย .. 2565 .. 2566 

 

...ฉบับนี้ออกมาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีความสามารถที่เพียงพอในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ไม่มีความพร้อมด้านงบประมาณ และไม่มีความพร้อมในการอบรบเจ้าหนี้ที่ตำรวจในการปฏิบัติตามมาตรา 22 ถึงมาตรา 25 แห่งพ...ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย .. 2565 (...อุ้มหายฯ)

 

... ฉบับนี้เลื่อนการบังคับใช้มาตรา 22 ถึงมาตรา 25 แห่งพ...อุ้มหายฯ เป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2566 และให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ กล่าวคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งมือเตรียมความพร้อมให้ปฏิบัติตามมาตราดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพและโดยเร็ว ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การออกพ... ฉบับนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะไม่เข้าเงื่อนไขเหตุจำเป็นเร่งด่วน จึงถูกยกเลิกไป

 

 

14) ...มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี .. 2566

 

...ฉบับนี้ออกมาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ไม่กี่วันก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีเพื่อหลอกลวงประชาชน เช่น แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ส่งผลให้ประชาชนหลายรายเสียทรัพย์สิน ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากทรัพย์สินขแงประชาชนที่สูญเสียไปเป็นจำนวนมหาศาล

 

... ฉบับนี้บัญญัติมาตรการต่างๆ เพื่อลดการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีเพื่อให้ประชาชนได้รับความเสียหาย อาทิ ให้สถาบันการเงินระงับการเคลื่อนไหวทางบัญชีเมื่อพบความผิดปกติหรือเจ้าของบัญชีรายงานว่าถูกหลอกลวงให้โอนเงิน และให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีที่เกี่ยวข้องที่ถูกหลอกเพื่อนำไปใช้ในการสืบสวนคดี

 

 

15) ...การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร .. 2566 

 

...ฉบับนี้ออกมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบแล้ว เหตุผลที่ออกพ... ฉบับนี้ คือ ประเทศไทยเป็นภาคสมาชิกของ Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes ซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิบัติตามพันธกรณีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากรภายในเดือนกันยายน 2566 พันธกรณีดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งใหม่และมีความซับซ้อนจึงจำเป็นต้องออกพ... ฉบับนี้เพื่อให้สถาบันการเงินเตรียมข้อมูลบัญชีทางการเงินให้พร้อมเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเพื่อความโปร่งใสทางภาษีอากรระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยอาจถูกจัดเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือโดยสหภาพยุโรปได้หากไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าว

 

... ฉบับนี้มีการเพิ่มบทบัญญัติของการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอนั้น คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศไทยและคู่สัญญา (ประเทศอื่นที่มีข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศไทย) ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีหรือการสอบสวนและการดำเนินคดีทางภาษีอากรของประเทศที่ร้องขอแลกเปลี่ยนข้อมูล ส่วนการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัตินั้น คือ คู่สัญญาไม่ต้องร้องขอเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศไทย แต่ข้อมูลนั้นจำต้องถูกรายงานก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นเป็นของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศคู่สัญญา

 

 

ในยุคสมัยรัฐบาลของพล..ประยุทธ์ 2 ยังใช้อำนาจลัดขั้นตอนออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนดอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นความพยายามแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสถานการณ์โควิด19 ถึง 9 ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เข้าใจได้ว่าจำเป็นต้องรีบออกให้ทันสถานการณ์ แต่เนื่องจากสังคมเห็นพ้องต้องกันในการแก้ไขปัญหาแบบเร่งด่วน หากเสนอให้สภาพิจารณาออกเป็นพระราชบัญญัติก็ไม่น่าติดขัดหรือใช้เวลามากเกินไป

 

นอกจากนี้การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ประเทศไทยทันสมัยก็ยังคงใช้ช่องทางการออกพ... อยู่ ทั้งเรื่องภาษีศุลกากรที่ต้องทำตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ หรือเรื่องสารต้องห้ามทางการกีฬา ซึ่งกฎหมายทั้งหมดนี้สามารถใช้ช่องทางการออกกฎหมายตามปกติได้ โดยเฉพาะสามฉบับสุดท้ายที่ออกมาก่อนหมดเวลาของรัฐบาลนี้เพียงแค่อึดใจเดียว ทั้งที่รัฐบาลสามารถเร่งออกกฎหมายในขณะที่สภายังทำงานอยู่ได้

 

 

 

 

การออกพระราชกำหนด เป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารแทนฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลและเงื่อนไขพิเศษเท่านั้นจึงจะสามารถออกได้ และหากใช้อำนาจเช่นนี้บ่อยๆ ก็จะทำให้หลักการแบ่งแยกอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเสื่อมเสียไป ดังจะเห็นว่าในรัฐบาลอื่นๆ ก่อนหน้านี้การใช้อำนาจออกพระราชกำหนดเไปอย่างจำกัด

 

เป็นเวลาเกือบ 20 ปี ภายใต้นายกรัฐมนตรี 10 คน มีการออกพระราชกำหนดไป 40 ฉบับ ดังนี้

 

ปี 2538-2539 รัฐบาลของบรรหาร ศิลปอาชา ออกพ... 0 ฉบับ

 

ปี 2539-2540 รัฐบาลของพล..ชวลิต ยงใจยุทธ์ ออกพ... 10 ฉบับ

 

ปี 2540-2544 รัฐบาลของชวน หลีกภัย 2 ออกพ... 10 ฉบับ

 

ปี 2544-2548 รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ออกพ... 8 ฉบับ

 

ปี 2548-2549 รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ออกพ... 1 ฉบับ

 

ปี 2549-2551 รัฐบาลของพล..สุรยุทธ จุลานนท์ ออกพ... 1 ฉบับ

 

ปี 2551 รัฐบาลของสมัคร สุนทรเวช ออกพ... 0 ฉบับ

 

ปี 2551 รัฐบาลของสมชาย วงษ์สวัสดิ์ ออกพ... 0 ฉบับ

 

ปี 2551-2554 รัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกพ... 3 ฉบับ

 

ปี 2554-2557 รัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกพ... 7 ฉบับ

 

ปี 2557-2566 รัฐบาลของพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกพ... 31 ฉบับ

 

 

เห็นได้ว่า รัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการใช้อำนาจครม. ในการออกพ... บ่อยครั้งกว่าค่าเฉลี่ยของรัฐบาลยุคก่อนหน้านี้ ทั้งที่เวลาครึ่งหนึ่งมีอำนาจเต็มในมือในฐานะคณะรัฐประหารอยู่แล้วด้วย จนกลายเป็นความเคยชินของการออกกฎหมายตามอำเภอใจ โดยไม่พิจารณาจากความจำเป็นเร่งด่วนและเสนอกฎหมายเข้าตามระบบ แต่อาศัยช่องทางลัดใช้อำนาจที่ไม่อาจมีผู้ใดคัดค้านได้

 

 

 

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: