คณะนิติราษฎร์เสนอ ยกเลิกมาตรา 112 แก้ไขเพิ่มเติมม.หมิ่นฯ

คณะนิติราษฎร์เสนอ ยกเลิกมาตรา 112 แก้ไขเพิ่มเติมม.หมิ่นฯ

เมื่อ 27 มี.ค. 2554

หลักการ

ไฟล์แนบขนาดไฟล์
ร่างพระราชบัญญัติแก่ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (นิติราษฎร์).pdf37.58 KB

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 54 คณะนิติราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันได้แก่ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ธีระ สุธีวรางกูร สาวตรี สุขศรี และปิยบุตร แสงกนกกุล ได้แถลงข้อเสนอเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท

คณะ นิติราษฎร์ได้จัดทำร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) โดยมีข้อเสนอให้แก้ไขกฎหมายอาญาใน 7 ประเด็น คือ หนึ่ง ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร สอง เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สาม แบ่งแยกการคุ้มครองสำาหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำาหรับตำ าแหน่งพระ ราชินี รัชทายาท หรือผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์

สี่ กำหนดโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุด ห้า เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดกรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต หก เพิ่มเหตุยกเว้นโทษกรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความ จริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และเจ็ด กำหนดให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น

อ่านข้อเสนอเพื่อแก้ไขและเหตุผลที่ด้านล่างนี่ และอ่าน ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. ... (ร่างต้นตำรับนิติราษฎร์) ได้ที่นี่

............................................


ข้อเสนอ


การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยตระหนักว่ามนุษย์ ไมว่าจะชาติกำาเนิดใด ดำรงตำแหน่งสถานะใด ย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์


มีเสรีภาพ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีเหตุผล มีความสามารถอดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง และในสังคมประชาธิปไตย เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพที่จะขาดเสียมิได้ หากจะมีการจำกัดเสรีภาพดังกล่าว รัฐต้องกระทำาเท่าที่จำาเป็น และจะจำากัดจนถึงขนาดกระทบต่อสารัตถะแห่งเสรีภาพนั้นมิได้

กฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ มีความไม่เหมาะสมทั้งในแง่ของโครงสร้างของบทบัญญัติ อัตราโทษ และการบังคับใช้ ประกอบกับกฎหมายดังกล่าวไม่มีการยกเว้นความผิดในกรณีที่บุคคลติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริตเพื่อรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อีกทั้งในปัจจุบันปรากฏชัดว่ากฎหมายดังกล่าวเปิ ดช่องให้บุคคลนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือนำาไปใช้โดยไม่สุจริตและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย

เพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ คณะนิติราษฎร์ จึงเห็นควรเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ ดังนี้

ความเป็นมา: 

ตำแหน่งที่ได้รับการคุ้มครอง

แบ่งแยกการคุ้มครองสำาหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำาแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

อ่านต่อ

อัตราโทษ

ไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ และลดอัตราโทษให้เป็นจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และลดอัตราโทษให้เป็นจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดต่อพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

อ่านต่อ

เหตุยกเว้นความผิด

เพิ่มเติมเหตุยกเว้นความผิด สำหรับการติชมและแสดงความคิดเห็นหรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ

อ่านต่อ

เหตุยกเว้นโทษ

เพิ่มเติมเหตุยกเว้นโทษ ต่อความผิดที่พิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์แก่ประชาชน
 

อ่านต่อ

ผู้มีอำนาจกล่าวโทษ

ให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษ ว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

อ่านต่อ
0

Comments

7
yingcheep's picture

ไม่แน่ใจว่าในทางเทคนิคกฎหมายสามารถเขียนอย่างนี้ได้หรือเปล่า

เพราะไม่รู้ว่าจะเป็นความผิดอาญาแผ่นดินหรือเป็นความผิดต่อส่วนตัวกันแน่ มันกำกึ่ง น่าจะต้องฟันลงไปด้วยว่าเป็นความผิดประเภทไหน ไม่ใช่สถาปนาประเภทความผิดใหม่ขึ้นมา

ไม่รู้ในประเทศไทยมีตัวอย่างกฎหมายที่กำหนดให้มีผู้มีอำนาจกล่าวโทษเป็นการเฉพาะอย่างนี้อยู่บ้างไหม นึกไม่ออก?

2
yingcheep's picture

เออ อันนี้ดี เห็นด้วย

แต่ไม่รู้ว่าทำไมไม่ย้ายไปอยู่ในหมวดเดียวกีบความผิดต่อชื่อเสียง กรณีอื่นๆ เลย

1
Aowpow's picture

กฎหมายมาตรานี้ยังจำเป็น ถึงการเอามาใช้จะมีปัญหาบ้างก็ตาม แต่พระมหากษัตริย์ยังไงก็ต้องมีกฎหมายคุ้มครอง ไม่เห็นด้วยที่จะให้ยกเลิก ยิ่งทุกวันนี้มีคนจ้องจะหมิ่นมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา จะเอาอะไรมาจัดการล่ะ

1
dumpsuan129's picture

press like

1

เค้าก็บอกอยู่นี่ครับว่ากฏหมายนี้เป็นช่องโหว่วให้การเมืองมาใช้ประโยชน์

ถ้าวันนึงคุณไปขัดแย้งใคร แต่เค้าบิดเบือนว่าคุณมีเจตนาอย่างอื่นคุณจะทำอย่างไรครับ

1
Hayate's picture

ไม่เข้าใจเลย แค่ที่มาบอกว่ามาจากคณะปฎิวัติ แล้วต้องแก้ เพียงแค่คนคนหนึ่งโดนกฎหมายข้อนี้ขวางไว้ต้องถึงกับยกเลิกเลยอย่างนั้นหรือ เพราะกฎหมายที่มาจาก คำประกาศของคณะปฏิวัติมีมากมายเหลือเกิน แต่ทำไมต้องเจาะจงประเด็นนี้ด้วยสงสัยจัง

1
dumpsuan129's picture

+1

0
dumpsuan129's picture

ไม่อยากให้ยกเลิก แต่น่าจะย้ายไปอยู่หมวดพระมหากษัตริย์เสีย จะได้รวมไว้ด้วยกัน (รวมถึงมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง น่าจะย้ายไปไว้หมวดเดียวกัน) และควรจะกำหนดโทษไว้ที่สูงสุด โดยไม่มีขั้นต่ำ (เช่นจำคุกตลอดชีวิต ประหาร 7 ชั่วโคตรอย่างนี้เป็นต้น) เพราะถือว่า 1. เป็นภัยความั่นคงกับประเทศ 2.เป็นกบฎต่อราชอาณาจักรไทย 3.ดูหมิ่นสิ่งที่เคารพรัก และสักการะของคนไทย แต่ก็เห็นด้วยกับหัวข้อที่ว่า ให้ยกเว้นโทษ กับผู้ที่เสนอแนะ แนะนำ สิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือควรจะปรับปรุง ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหมิ่น เป็นต้น

และน่าจะมีตย. กฎหมายให้เห็นกันไปเลยว่า ถ้าพูด-เขียน หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เห็นว่าหมิ่น ..นั่นละผิด แต่ถ้าเสนอแนะ เป็นต้น ... ถือว่าทำได้ ไม่ผิด

โดยยกตัวอย่าง อย่างละข้อ(คือผิดกับไม่ผิด) เป็นตัวอย่างให้เห็นพอ

0
ณัฐพัชร์'s picture

ไม่เห็นจำเป็นอะไร  ของเดิมดีอยู่แล้ว  ถ้าจะเปลี่ยนควรเพิ่มเติม บทลงโทษให้ชัดเจน  ที่ผิดในเรื่องต่างๆ อย่าละเอียด รวมถึงเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับการชี้นำให้องค์พระมหากษัตริย์เสรื่อมเสียด้วย

1
Y@H@'s picture

-ประเด็นที่คณะนิติราษฎร์จะสื่อคงเป็น ที่มาของตัว ปอ 112 ขัดกับหลักนิติรัฐละมังครับ เนื่องจากมีที่มาจากคณะรัฐประหาร มิได้มาจากความยินยอมของประชาชนหรือก็คือมิได้มาจากสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนมังครับ

-กรณีข้อเสนอเป็นการเสนอแก้ไขอัตราโทษให้ต่ำลงให้พอเหมาะพอควรกับสภาพการกระทำผิดและสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ไม่ได้เสนอยกเลิกครับ ซึ่งผมว่าเป็นการประนีประนอมที่สุดแล้ว

 

0
Y@H@'s picture

กรณี มาตรา 112 ผมว่าคงไม่น่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงนะครับ เพราะ มิได้ทำให้การดำรงอยู่ของความเป็นราชอาณาจักรไทยถึงกับสั่นคลอน ซึ่งเทียบจากความผิดฐานปลงพระชนม์หรือประทุษร้าย ซึ่งคงไม่มีใครโต้แย้งว่าเป็นเรื่องความมั่นคงอย่างแน่แท้ ดังนั้นโทษที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงถือว่าสูงเกินและไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์อย่างชอบธรรมเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เว้นเสียแต่เป็นกรณีที่เป็นการดูหมิ่นหรือกล่าวว่าร้ายใส่ความจึงจะเป็นความผิด ส่วนตัวผมเห็นว่ามาตรานี้มีปัญหาอยู่มากทีเดียว

1

เข้าใจว่าเค้าไม่ได้เสนอให้ไม่มีกฎหมายที่เอาไว้ลงโทษคนที่หมิ่นสถาบันนะครับ  แต่เป็นการยุบมาตรา 112 (เนื่องจากอยู่ในลักษณะของความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง) จะได้ไปกฎหมายอีกข้อนึงซึ่งอยู่ในลักษณะของ ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์

น่าจะเป็นยกเลิกก่อน เพื่อจะได้บัญญัติเป็นลักษณะใหม่น่ะครับ 

 

5
ณัฐพัชร์'s picture

 เหตุของการยกเว้นได้ เพื่อองค์กษัตริย์เท่านั้น จึงไม่ควรยกเว้นให้กับประโยชน์วิชาการ กับสาธารณะ  เพราะเหตุผลคือ  เกิดความผิดขึ้นมาแล้วไม่ควรยกเว้น   ถ้ายกเว้นก็จะไม่มีความผิดเลยแต่เห็นด้วยกับความผิดโดยสุจริตเพื่อรักษาไว้ด้วยการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้ได้รับโทษที่ไม่ใช้ อาญา 

0
gina4cat's picture

อยากตอบว่า นิติรัดกำลังเเสดงอาการล้มเจ้าชัดเจน เพาะเพิ่มความผิดในฐานหมิ่นพระเกียรติ ซึ่งเปนนามธรรม เเล้ว เอาอะไรมาวัด ว่า การกระทำใดๆนั้นเปนการทำให้เสียพระเกียรติ ซึ่งไม่ได้เขียนให้ชัดเจน ..เเถมยังเอากม.หมิ่นทั่วไปมาเปนบรรทัดฐานในส่วนของการ เรียกร้องให้ตรวจสอบหาผู้โดนฟ้อง พูดความจริง ของท่านเเล้วไม่โดนลงโทษเปนความผิดไปนี่สิ (ความจริงของมันที่พูดคือการใส่ร้ายพระองค์ท่าน)



เเค่เขียนมาเเค่นี้ ก็อยากเอาไม่ไปตีหัวมันเเล้วว่าขัดต่อหลักสิทธิ เสรีภาพ ของปชต.ชัดเจนมากๆ

0
Y@H@'s picture

ขอแสดงความเห็นแย้งนะครับ

1)เอาอะไรมาวัด ว่า การกระทำใดๆนั้นเปนการทำให้เสียพระเกียรติ ซึ่งไม่ได้เขียนให้ชัดเจน

>> ผมว่าในส่วนนี้ชัดเจนอยู่แล้วนะครับ เพราะตามแนวเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ คือ การนำมาตรา 112 มาบัญญัติในหมวดใหม่ คือ การกระทำในลักษณะที่ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ เป็นการนำข้อความในถ้อยบัญญัติเดิมของมาตรา 112 มาบัญญัติไว้ในหมวดใหม่เท่านั้น ไม่ได้มีการแก้ไขข้อความในถ้อยบัญญัติแต่อย่างใด ทั้งลักษณะองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนี้ก็มีเพียง 3 การกระทำ คือ การดูหมิ่น หมิ่นประมาท และการแสดงความอาฆาตมาดร้าย  ซึ่งมีความชัดเจนอยู่แล้ว

การกระทำในลักษณะที่เป็นการดูหมิ่น คือ การกล่าวว่าร้ายในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หรือเป็นการด่า เหยียดหยาม เช่น การด่าฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสัตว์ต่างๆ (ใช้แนวบรรทัดฐานเดียวกันกับความผิดฐานดูหมิ่นตาม มาตรา 393)

การกระทำในลักษณะที่เป็นการหมิ่นประมาท คือ การกล่าวใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 เป็นการกล่าวที่ประกอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง หรือ ถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม เช่น การใส่ความผู้อื่นว่าเป็นคนขี้โกง ทุจริต ทั้งๆที่บุคคลนั้นเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต (ใช้แนวบรรทัดฐานเดียวกันกับความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม มาตรา 326)

ส่วนการกระทำในลักษณะที่เป็นการอาฆาตมาดร้าย นั้นย่อมแสดงความหมายในตัวเองอยู่แล้ว การกระทำในลักษณะนี้เช่น การขู่จะประทุษร้าย หรือ ขู่ฆ่า

ดังนั้นการจะพิจาณาว่าการกระทำใดเป็นความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นการทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติย่อมสามารถพิจารณาได้ในถ้อยบัญญัติของมาตรา 112 ซึ่งมีความชัดเจนเพียงพอแล้ว

2)เเถมยังเอากม.หมิ่นทั่วไปมาเปนบรรทัดฐานในส่วนของการ เรียกร้องให้ตรวจสอบหาผู้โดนฟ้อง พูดความจริง ของท่านเเล้วไม่โดนลงโทษเปนความผิดไปนี่สิ (ความจริงของมันที่พูดคือการใส่ร้ายพระองค์ท่าน)

>>ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจก่อนว่า กรณีการกล่าวใส่ความผู้อื่นซึ่งประกอบข้อเท็จจริงนั้น หากมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ฯลฯ ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเหตุยกเว้นความผิด(ดู มาตรา 329) ซึ่งจะถือว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดเลย การกระทำย่อมเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม 326

แต่แม้การกระทำจะถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทแต่หากพิสูจน์แล้วพบว่าข้อความนั้นเป็นเรื่องจริง(แต่ห้ามพิสูจน์กรณีที่ข้อความนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ)ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษนั้น(ดู330) กล่าวคือ การกระทำนั้นกฎหมายยังเห็นว่าเป็นความผิดอยู่ แต่กฎหมายไม่ประสงค์จะลงโทษ เพราะไม่มีความจำเป็นที่ต้องลงโทษผู้ที่พูดความจริงในเรื่องที่เป็นประโบชน์ต่อสาธารณะแม้จะทำให้ผู้อื่นเสียหาย

การที่นิติราษฎร์เสนอให้มาตรา 112 ต้องมีเหตุยกเว้นความผิดและเหตุยกเว้นโทษ เช่นเดียวกับความผิดฐานหมิ่นประมาททั่วไป ย่อมสมเหตุผล เพราะแม้เขาจะได้กล่าวร้ายต่อสถาบันอันถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทสถาบัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดตาม112 แต่หากเรื่องที่เขากล่าวร้ายต่อสถาบันนั้นเป็นเรื่องประโยชน์สาธารณะและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง เขาก็ไม่ควรรับโทษ เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่า บุคคลไม่ควรถูกลงโทษในเมื่อเขาพูดเรื่องจริงที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแม้ต้องทำให้บุคคลอื่นต้องเสียชื่อเสียงก็ตาม

***ในทางตรงข้ามหากเรื่องที่เขากล่าวร้ายต่อสถาบันนั้นเป็นเรื่องไม่จริงหรือเป็นเรื่องจริงแต่ไม่เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งกฎหมายห้ามพิสูจน์ เขาย่อมต้องรับโทษตามมาตรา 112 อยู่แล้ว

ดังนั้นการเสนอแก้ไขมาตรา 112 ผมจึงไม่เห็นว่าจะเป็นการล้มล้างสถาบันในลักษณะใด อีกทั้ง ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิ เสรีภาพ ตามระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด กลับกันจะเป็นการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ที่อยู่ในกรอบของกฎหมายเสียมากกว่า

ปล ขออภัยที่เขียนซะยืดยาว = =a

0
ณัฐพัชร์'s picture

ผมมีเสียงเดียว  พร้อมกับคำพูดเดียว  ผมจะสู้ต่อเพื่อสถาบันฯ  1 เสียง , เสียงของคุณด้วยมั้ย จะสู้คน 200 เสียงได้อย่างไร  แต่ผมจะลบการลงนาม 1 หมื่่นชื่อที่ให้ยกเลิกมาตรา 112 ได้หรือ 

1
ณัฐพัชร์'s picture

ข้อเสนอ 8 ข้อ เพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์



ปฏิบัติตาม 8 ข้อนี้ ผลลัพท์ ไม่ใช่การล้มสถาบันกษัตริย์ แต่ทำให้สถาบันฯมีลักษณะเป็นสถาบันฯสมัยใหม่ ในลักษณะไม่ต่างจากยุโรป เช่น สวีเดน, เนเธอร์แลนด์ (ผมตระหนักในความแตกต่างบางอย่างของข้อเสนอนี้ กับยุโรปอยู่ เช่น ผมเข้าใจว่า เรื่องมาตราแบบ รธน. 2475 ในข้อแรก ไม่มีในยุโรปเหมือนกัน แต่นี่เป็นข้อเสนอที่อิงอยู่บนความเฉพาะของไทยทีผ่านมา)



1. ยกเลิก รธน. มาตรา 8 เพิ่มมาตรา ในลักษณะเดียวกับ รธน.27 มิย 2475 (สภาพิจารณาความผิดของกษัตริย์)

2. ยกเลิก ประมวลกฎหมายอาญา ม.112

3. ยกเลิก องคมนตรี

4. ยกเลิก พรบ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491

5. ยกเลิก การประชาสัมพันธ์ด้านเดียวทั้งหมด การให้การศึกษาแบบด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันทั้งหมด

6. ยกเลิก พระราชอำนาจ ในการแสดงความเห็นทางการเมืองทั้งหมด (4 ธันวา, 25 เมษา "ตุลาการภิวัฒน์" ฯลฯ)

7. ยกเลิก พระราชอำนาจ ในเรื่อง โครงการหลวง ทั้งหมด

8. ยกเลิก การบริจาค / รับบริจาค โดยเสด็จพระราชกุศล ทั้งหมด







หมายเหตุ: กระทู้นี้ ความจริงเป็น "ของเก่า" ที่ผมเคยเขียนในบริบทของกระทู้อื่นๆมาก่อน แต่ผมขออนุญาตตั้งเป็นกระทู้ต่างหากชัดๆแบบนี้ เผื่อสำหรับประโยชน์ของการอ้างอิงโดยสะดวกในอนาคต อย่างน้อยสำหรับผมเอง (หรือสำหรับคนอยาง ส.ว.คำนูญ ที่นำความคิดผมเรื่องนี้ไปเขียนถึงหลายครั้งในระยะหลัง โดยไม่ระบุชื่อและไม่มีการอ้างอิงชัดเจน คราวหน้า เผื่อท่าน ส.ว.จะได้สามารถทำ "เชิงอรรถ" ได้ชัดๆ - ฮา)

.....................................................................

 

           นี่ของกลุ่มคนที่บอกว่าคณะนิติราษฏร์ พวกคุณว่าเหมาะสมหรือปาวครับ เข้าไปดูการชี้นำในเว๊ปนี้เองเถอะ  และการโพสข้อความต่อจากหัวข้อก่อให้เกิดความเกลียดชังทั้งนั้น  สำหรับเว๊ปที่รัฐบาลบ๊อค  http://weareallhuman2.info/index.php?showtopic=41941

จากเว๊ปดังกล่าวใครขอความคิดว่าใช้หรือ  วันนั้นคิดแบบนั้นสร้างความเกลียดชังให้กับคนไทยกันเองแล้ว  และวันนี้คิดยังไง กลับลำเรือไม่ยกสมอเรือหรือปาว  สิ่งที่จะป้องกันองค์พระมหากษัตริย์ได้คือต้องมี ม.112 แบบเดิม

0
Y@H@'s picture

ผมได้อ่านลิงค์ ทีคุณณัชพัชร์ ให้มาโดยคร่าวๆแล้วครับ และผมก็ทราบถึงข้อเสนอ 8 ข้อ ของ อ.สมศักดิ์อยู่แล้ว จึงขอแยกตอบคุณณัชพัชร์ดังนี้นะครับ

1)การโพสต์ข้อความในเวบบอร์ดดังกล่าว มีลักษณะเป็นการเสนอแนวคิดทางวิชาการครับ ย่อมทำได้ ตามเสรีภาพในทางวิชาการและไม่เป็นการละเมิดกฎหมายแต่อย่างใด เพราะข้อความดังกล่าวไม่ได้เข้าองค์ประกอบภายนอกของมาตรา 112 เลย เนื่องจากไม่มีข้อความใดที่เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอฆาตมาดร้ายฯ แต่อย่างใด  อีกทั้งเท่าที่ผมกวาดสายตาดูข้อความที่โพสก็ไม่พบเห็นลักษณะข้อความที่เป็น Hate Speech หรือถ้อยคำในลักษณะหยาบคายซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความเกลียดชังเลยครับ ดังนั้นจะกล่าวว่าข้อความในบอร์ดดังกล่าวทำให้คนในสังคมไทยเกลียดชังกันคงฟังไม่ถนัดนัก

2)โดยส่วนตัวใน 8 ข้อ ของอาจารย์สมศักดิ์ ผมเห็นด้วยเพียง 5 ข้อ ในข้อ 7 นั้นผมว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประชาชนจึงไม่ควรยกเลิก และในข้อ 8 นั้นผมก็เห็นว่าเป็นเรื่องความสมัครใจโดยส่วนตัวของบุคคลซึ่งมีอิสระในการตัดสินใจ ซึ่งใน 2 ข้อหลังนั้นไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือหลักการประชาธิปไตยจึงไม่ควรยกเลิก

ส่วนในข้อ 2 ผมเห็นว่าถึงอย่างไรพระมหากษัตริย์ก็ยังคงเป็นประมุขของรัฐ จึงควรมีกฎหมายคุ้มครองตัวประมุขของรัฐ ดังเช่นที่ประเทศสากลทั่วโลกเค้ามีกัน แต่กฎหมายนั้นก็ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ รัฐธรรมนูญรับรองไว้ (ตามทฤษฎีลำดับชั้นของกฎหมาย)

ผมจึงเห็นด้วยในร่างแก้ไขมาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ที่ไม่ได้ให้ยกเลิกแต่ให้แก้ไขมาตรา 112 แม้โดยส่วนตัวผมจะเห็นว่าโทษในลักษณะการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทนั้นไม่ควรมีโทษจำคุกเลยก็ตาม ควรมีแต่โทษปรับเท่านั้น (ซึ่งถ้าหากจะแก้ให้มาตรา 112 มีเพียงโทษปรับคงต้องแก้กฎหมายหมิ่นในลักษณะอื่น ไม่ว่าจะเป็นการหมิ่ยประมาทบุคลธรรมดา หรือหมิ่นศาล ฯลฯ ให้เหลือเพียงโทษปรับด้วยเช่นกัน)

ดังนั้นในความเห็นของผมการที่จะคุ้มครองสถาบันได้คงไม่อาจใช้มาตรา 112 อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้อีกแล้ว เพราะมาตรา 112 นั้นมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทั้งเฃิงโครงสร้างของตัวบท โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิด การใช้การตีความในลักษณะขยายความตัวบทซึ่งขัดต่อหลักการตีความกฎหมายอาญา

0
ณัฐพัชร์'s picture

           แบบนี้ยังไม่เรียกว่านำคนอื่นสร้างความเสรื่อมเสียงให้กับองค์กษัตริย์อีกหรือครับ  และไม่แตกแยกอีกหรือครับ  ทะเลอะกันจะฆ่ากันตายในบอร์ดนั้น  ส่วนที่บ๊อคไว้หนักกว่านี้อีก  ผมไม่รู้เจตนาของพวกคุณคืออะไรอย่าที่แน่นอนที่สุด เพราะที่เข้าใจและ ผมบอกเลยว่าผิด  ผิดที่คุณนำพระเจ้าอยู่หัวมาเทียบเท่าฐานความผิดอย่างคนธรรมดา   การพูดนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องระวังของนักพูด คือ การพูดแล้วไม่เดือดร้อนคนอื่นหรือไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน

ส่วนที่ ๑ ความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

        ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ บัญญัติว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" (แบบคนธรรมดา)

..................................................................

กรุณาบอกผมด้วยว่าตรงไหนฟ้าเดียวกันไม่ใช้  ผมจะ Copy ในนั้นมาตีความให้ชัดเจนกันไปเลย

   กษัตริย์ขี้เมา 

  • Advanced Member
    • Group: เสรีชน
    • Posts: 375
    • Joined: 10-January 09

    Posted 25 January 2010 - 05:47 PM

    ตัวจริง ของจริง อ สมศักดิ์



    เห็นด้วย แม้นแต่ในสภาผู้แทนไม่มีใครแกว่างตีนไปหาเสี้ย

    (ระคายเคืองพระบาท)



    นับถือ อสมศักดิ์ ในข้อนี้



    สถาบันพระมหากษัตริย์ โปรดจงฟังเสียงของประชาชนบ้าง ?



    ถึงเป็นเสียงสักหนึ่งเสียงสถาบันกษัตริย์ก็ต้องรับฟัง โปรดฟังเสียงของเราบ้าง



    ถ้ามีปัญหาเรื่องกฎหมาย ผมว่าอ เป็นที่ปรึกษาให้ได้ (อันนี้ต้องถาม อ เอาเอง)

    เพราะกฎหมายก็คือข้อความบันทึกลงในกระดาษนั้นเอง



    คนเขียนขึ้นมา สนับสนุนในทางที่ผิด บั่นทอนการเป็นประชาธิปไตย และดูถูกคน



    ยุคสมัยเปลื่ยนไป สมควรปฎิรูปประเพณีอันล้าสมัยเก่าครำครึ ได้แล้ว

    มันสุดโต้ง และกดขี่ เพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน



    ถ้าเราเป็นราชา เราอายเด็กสมัยใหม่จริงๆ ครับ



    (เสียงอีกหนึ่งเสียง) ...........................................................แค่ตั้งชื่อมันของเจ้าคน ๆ 1 ทำเอาคนไทยตะลึงไปเลย  แล้วผมถามหน่อยไอ้เจ้าคนนี้อ้างโยงถึงสมศักดิ์ ฯ โดยตรงเพราะ  สมศักดิ์ ฯ เป็นหัวข้อให้กระทู้ โพส  การกระทู้การโพส  คนที่มีเจตนาแนวทางที่ดีจริงเค้าไม่หลบทำกันแบบนี้หรอกนะครับ   ต้องมีสือมวลชน          การอ้างว่าพระองค์ไม่ฟังเสียงของประชาชนคือการใส่ความพระองค์ทำให้เกิดด้านลบต่อคนอ่านโดยทั่วไป   ผมจะไม่มานั่งเถียงอะไรกับพวกคุณอีก  แต่ผมอยากจะบอกว่า  ใครก็ตามที่สร้างเงื้อนไขแบบนี้ผมว่าคิดไม่ดีกับประเทศไทยโดยตรง 







     



     

    0
    Y@H@'s picture

    ประเด็นของคุณคือ ชื่อล๊อกอินกับเนื้อความที่เขาโพสใช่ไหมครับ ถ้าเป็นเช่นนั้นผมจะแยกประเด็นตอบ

    1)ชื่อล๊อกอินของเขานั้น ถ้าเป็นการระบุเจาะจงตัวบุคคลให้แน่ชัด เขาย่อมผิดตาม 112 แน่นอนครับ ในส่วนองค์ประกอบของหมิ่นประมาท แต่ชื่อล็อกอินของเขาคือ "กษัตริย์ขี้เมา" ย่อมไม่อาจระบุเจาะจงตัวได้ว่าเขาหมายถึงใคร เพราะไม่ได้ชี้ชัดไปว่ากษัตริย์พระนามอะไรที่ขี้เมา เป็นกษัตริย์ของชาติใด  แม้ใจจริงเขาจะต้องการสื่อถึงใครซึ่งอาจเป็นความผิดตาม 112 ก็ตาม แต่หากเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเขานั้นเจาะจงจะสื่อถึงใคร การจะกล่าวหาว่าเขาทำผิดตาม 112 จะฟังดูอ่อนเกินไป เนื่องด้วยในกระบวนพิจารณาคดีอาญานั้นการจะนำสืบว่าจำเลยเป็นผู้ผิด โจทก์จะต้องนำสืบจนศาลแทบจะหมดข้อสงสัย หรือศาลเชื่อแน่ว่าจำเลยกระทำผิดถึง 80-90% เนื่องด้วยโทษในทางอาญานั้นมีลักษณะไปทำต่อเนื้อตัวร่างกาย สิทธิเสรีภาพ หรือทรัพย์สินของผู้ต้องหาว่ากระทำผิดหรือจำเลย

    2) อย่างที่เคยกล่าวมาแล้วการกระทำใดจะผิด 112 ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบภายนอก 3 ประการคือ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้าย เท่านั้น การกระทำนอกเหนือจากนี้แม้เป็นการไม่สมควรก็ไม่เป็นความผิด ตาม112

    หากคุณตั้งธงไว้ข้างต้นและพิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางจะไม่พบว่าข้อความดังกล่าวมีลักษณะองค์ประกอบภายนอกของ 112เลย

    "สถาบันพระมหากษัตริย์ โปรดจงฟังเสียงของประชาชนบ้าง ?" ข้อความดังกล่าว เป็นไปในลักษณะเรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์ฟังเสียงของประชาชน ไม่ได้มีความหมายอย่างที่คุณกล่าวอ้างว่า เขากล่าวหาว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ฟังเสียงประชาชน

    ***ปล ในความเห็นของผมข้อความดังกล่าวไม่เป็นข้อความที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่สำหรับคนทั่วไปอาจเป็นข้อความที่ไม่สมควรในบางกรณี ถ้าหากพิจารณาถึงวัฒนธรรมประเพณีของชนชาติเรา

    1
    โยเย's picture

            ถ้าบอกว่า  ม.112 กำเนิดมาจาก (พ.ศ.2519) คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทั้งๆที่เรามี "รัฐธรรมนูญ"  จะเรียกว่าขัดต่อประชาธิปไตย  ผมว่ายังขัดแย้งอยู่ในตัวเองหลายประการ  ความขัดแย้งที่ 1 ผมเกิดมา ไม่ทัน (พ.ศ.2519) จึงไม่รู้เหตุการในตอนนั้น  คงต้องไปศึกษาดู

    ประการที่ 2 เราใช้ ม.112 อยู่มายาวนานมากเพราะอะไร ทั้งๆที่เรามีระบบ นิติรัฐ ฯ ผมขอเรียนแบบเข้าใจว่า ประชาธิปไตยเป็นของคนไทยทุกคน เพราะฉนั้นคนไทยคงพอใจที่จะดำรงอยู่ของ ม.112  ปัญหาเกิดจากการเรียกร้องสิทธิของประชาชน โลกรูปแบบที่เรียกกลุ่มประเทศตนว่าอารยธรรมที่ดี แบบอย่างของประเทศที่เจริญแล้ว  

    ประการที่ 3.กฏหมาย ม.112 ไม่ได้มีไว้ทำลายหรือใช้เป็นเครื่องมือของใคร การกล่าวโทษว่าคนนั้นใช้ผิดประสงค์ ที่จริงแล้วคงต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม ทุกรายไป สิ่งที่สำคัญของตัวกฎหมายนี้ใช้เพื่อประโยชน์ขององค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น   ตัวอย่างของคุณ ณัฐพัชร์ คงจะคัดค้านการทำการทั้ง 8 ข้อของ อ.สมศักดิ์ ที่ส่งผลให้สถาบันฯ อยู่แบบไม่ต้องมีอะไร  ทั้งเงินทอง  บารมี  ราชกิจ  รวมถึงความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของคนไทย ศูนย์หายไปหมด เหมือนกับเสาที่ถูกเลื่อยทิ้งไป ผมขอถามหน่อยเถอะว่าเป็นการบังควรอย่าถูกต้องแล้วหรือ  ทำแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับการยกอำนาจทั้งหมดให้สภา การกระทำเช่นนี้ไม่ต่างอะไรกับคำว่านายกรัฐมนตรีที่จะเรียกใหม่ว่าปธานาธิปดี แบบนี้จะถือว่าก่อกบฏในดวงใจของคนไทยทั้งมวลได้หรือไม่

    ประการที่ 4 สถาบันฯ ไม่ใช้สัญลักษณ์  จากข้อ3. การก่อปัญหาทางสังคม หรือใครจะแอบอ้างใช้ ม.112 เพื่อประโยชน์ตนกับพวก  หรือเพื่ออยากจะยกเลิก 8 ข้อ ของ อ.สมศักดิ์ ฯ หรือกลุ่มของเค้า

    ผมขอความเข้าใจความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดเกี่ยวกับสถาบันฯ ไม่เคยเกิดขึ้น  จนกระทั้งกลุ่มคนในเว๊ปไซต์ต่างที่คุณ บอกว่า รัฐปิดหูปิดตา  ยกตัวอย่างเวปของคุณณัฐพัชร์ ยกออกมาให้ดู มันน่าปิดจริงๆ  กล่าวหาโจมตีสถาบันฯ อย่างไม่มีมูลเหตุ ต้องรู้ด้วยนะว่าตัวเองเป็นใครใกล้ชิดสถาบันฯ แค่ไหนตนเองเขียนซะอย่างกับรู้ไปทุึกเรื่อง การปกปิดหรือปิดบังไม่เกี่ยวกับการวิจารณ์ได้หรือไม่ได้ คนละอย่างกันเลย   การชี้นำของนักศึกษา หรือการชีนำของ อ.สมศักดิ์ ฯ ผมว่าไม่สมควร "กล่าวหา"ทำให้เสื่อมเสียพระเกียติตลอดเวลา   เพราะว่าการพิมพิ์ นี้ถ้าไม่ลบออกไป ก็จะคงอยู่ตลอดกว่ามันจะถูกลบไปได้  สถาบันของเราชาวไทยมีแต่สร้างสรรค์สิ่งดีให้กับคนไทยทุกคน

    ประการที่ 5 ผมขอทำความเข้าใจเรื่อง ของการชี้นำ   ถ้าการชี้นำโดยการตั้งหัวข้อไว้ในเว๊ปไซต์ต่างๆ แล้วมีคนมาโพสต่อๆกัน  คือหมิ่นแล้วไม่ลบ ผมว่าต้องบอกเลยว่าคุณชีนำแบบผิดๆ คุณต้องรับผิดชอบ

    ผมก็ฝากคนไทย  ฟังหูไว้หูจะดีกว่า   คนที่ยกเิลิกหรือเปลี่ยนแปลง ม.112 นี้นัยล้มล้างสถาบันโดยตรง ด้วยเหตุผลตามประการที่ 3 ของผม สถาบันจะอยู่ได้แค่เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น 

    ผมจึงไม่เห็นด้วย และสนับสนุนคนที่คัดค้าน  การรู้ความจริงไม่ใช่แค่ได้ยิน  แต่ต้องมองเห็นด้วยตา สิ่งที่เห็นคือสถาบันฯ มีพระคุณอเนกอนันต์มากมายเหลือเกิน

     

     

     

     

    1
    Y@H@'s picture

    ประเด็นของเรื่อง 112 ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาโดยนิติราษฎร์ เป็นประเด็นปัญหา "ข้อกฎหมาย" ครับ จะใช้อารมณ์ความรู้สึกของคนทั่วไปมาตัดสิน โดยไม่อิงหลักการของกฎหมายไม่ได้ ต่อไปนี้ผมจะขอเสนอความเห็นแย้งท่าน ซึ่งจะอธิบายโดยอิง "หลักการของกฎหมาย"นะครับ

         1)ประเด็นเรื่อง ที่มา ของ 112 ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นั้นมาจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หรือ เรียกง่ายๆก็คือคณะรัฐประหาร นั้นขัดต่อหลักการของกฎหมายในเรื่อง หลักนิติรัฐ ครับ

    หลักนิติรัฐ นั้นจุดมุ่งหมายจะอยู่ที่การควบคุมอำนาจรัฐเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า เนื่องด้วยประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชนเป็นเจ้าของออำนาจอธิปไตย หรือำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และในการบริหารประเทศหรือการทำภารกิจของรัฐนั้นเป็นการใช้อำนาจมหาชน ในการบังคับเอกชนให้กระทำการใด หรืองดเว้นกระทำการใดโดยไม่ต้องอาศัยความสมัครใจของเอกชน การกระทำดังกล่าวย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงควรต้องขออนุญาตประชาชนเสียก่อนที่จะกระทำการที่จะกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนเจ้าของประเทศ แต่โดยสภาพแล้วไม่อาจของความยินยอมจากประชาชนเป็นรายๆไปได้ทุกคน จึงต้องอาศัยกระบวนการขออนุญาตจากผู้แทนปวงชน หรือก็คือ สส ที่จะมอบอำนาจให้รัฐกระทำการใดๆได้ โดยออกมาในรูปของการตรากฎหมายซึ่งเป็นทั้งที่มาและกรอบการจำกัดอำนาจของรัฐ

    จากความหมายของหลักนิติรัฐข้างต้น จึงสรุปความได้ว่า กฎหมายใดที่ไม่ได้มาจากความยินยอมของประชาชนหรือกล่าวคือ ไม่ได้มาจากกระบวนการนิติบัญญัติ ย่อมเป็นกฎหมายที่ขาดความชอบธรรม ตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย นั่นเอง ดังนั้น 112 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จึงไม่ชอบด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง

         2)ประเด็นที่ว่า เหตุใดถึงมีการใช้ 112 อย่างยาวนานทั้งๆที่ถ้าว่ากันตามหลักกฎหมายเป็นตัวบทหนึ่งในอีกหลายตัวบทที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ ก็เพราะตามลักษณะสังคมและวัฒนธรรมประเพณีของชนชาติเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความผูกพันกับกษัตริย์อย่างมาก ทั้งคนทั่วไปในสังคมไม่ได้เข้าใจหลักการประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐอย่างแท้จริง และหากในอดีตจะมีผู้ใดกล้าเสนอให้ยกเลิกหรือแก้ไขในดังเช่นในปัจจุบันก็คงจะโดนโจมตีว่า "ไม่จงรักภักดีบ้าง ล้มเจ้าบ้าง" อย่างที่โดนกันในปัจจุบัน บุคคลในทางการเมืองทั้งหลายจึงไม่อยากยุ่งกับมาตรานี้ เพราะจะโดนแรงสะท้อนจากสังคมอย่างรุนแรง

          3)ประเด็นเรื่องที่ว่า "ไม่ได้มีไว้ทำลายหรือใช้เป็นเครื่องมือของใคร การกล่าวโทษว่าคนนั้นใช้ผิดประสงค์ ที่จริงแล้วคงต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม ทุกรายไป สิ่งที่สำคัญของตัวกฎหมายนี้ใช้เพื่อประโยชน์ขององค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น" ก็ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป

    หากจะยกตัวอย่างกรณีเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมืองก็มีให้เห็นในกรณ๊ของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่นิยมระบอบกษัตริย์และในอีกหลายข้อหาที่เกี่ยวข้องในแนวทางเดียวกับ 112

    ตัวอย่างของการใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองก็มีในกรณีที่คุณนวมินทร์ใช้ต่อรองกับคุณโชติศักดิ์ในคดีไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ ว่าหากฟ้องเขาเป็นคดีอาญา เขาก็จะฟ้องคุณโชติศักดิ์ตาม 112 (จากคำสัมภาษณ์ของคุณโชติศักดิ์) “คู่กรณีจะแจ้งความผมกับเพื่อนในข้อหา “หมิ่นพระบรมฯ” ถ้าผมกับเพื่อนจะดำเนินคดีคู่กรณี" >>ที่มา http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000048141

    ทั้งการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ ของคุณโชติศักดิ์ ถ้าว่ากันตามหลักกฎหมายแล้วเขาไม่ควรจะถูกดำเนินคดีตาม 112 เนื่องด้วย ไม่ได้กระทำการใดที่บัญญัติเป็นความผิดตาม 112 เลย การกระทำจึงขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิด(โปรดดูที่ผมวินิจฉัยไว้ในความเห็นที่ตอบคุณ ณัฐพัชร์ ประกอบด้วยนะครับ http://www.ilaw.or.th/node/956#comment-35642) การกระทำของเขาจึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย

    ***ส่วนประเด็นที่ว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อวัฒนธรรมประเพณีและความรู้สึกของคนไทย นั้นเป็นประเด็นในทางสังคม ไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมาย สิ่งที่เขาควรได้รับคือ มาตราการทางสังคม เช่น คนในสังคมตั้งแง่รังเกียจ แต่เขาไม่ควรจะถูกลงโทษทางกฎหมาย

         4) ที่คุณกล่าวว่า "ผมขอถามหน่อยเถอะว่าเป็นการบังควรอย่าถูกต้องแล้วหรือ  ทำแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับการยกอำนาจทั้งหมดให้สภา การกระทำเช่นนี้ไม่ต่างอะไรกับคำว่านายกรัฐมนตรีที่จะเรียกใหม่ว่าปธานาธิป ดี แบบนี้จะถือว่าก่อกบฏในดวงใจของคนไทยทั้งมวลได้หรือไม่" และ "สถาบันฯ ไม่ใช้สัญลักษณ์" ผมจะขออธิบายรวมไว้ในข้อนี้นะครับ

    ในประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีรูปของรัฐเป็นราชอาณาจักรหรือก็คือมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐนั้น จะมีหลักการ "The King Can Do No Wrong" ปรากฎอยู่ (ของไทยเราปรากฎใน รธน ม 195)

    หลักการดังกล่าวมีสะาระสำคัญว่า การจะใช้อำนาจใดๆในทางการเมือง ของกษัตริย์นั้นจะต้องมีผู้เสนอให้กษัตริย์พิจารณา กล่าวคือ กษัตริย์จะริเริ่มใช้อำนาจทางการเมืองหรือกระทำการใดๆในทางการเมืองด้วยพระองค์เองไม่ได้ จะต้องมีผู้เสนอขึ้นมา การใช้อำนาจของกษัตริย์จึงอยู่ในรูป Passive และจะต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กล่าวคือ จะต้องมีผู้กระทำการนั้นแทนกษัตริย์ ในกรณีที่กษัตริย์เห็นชอบตามที่บุคคลนั้นเสนอมา ดังนั้นจึงมีคำกล่าวที่ว่า "กษัตริย์ทรงไม่ต้องรับผิดใดๆในทางการเมือง นั่นก็เพราะพระองค์ไม่ได้กระทำการใดๆเลย" ผู้ที่จะต้องรับผิดหากเกิดความเสียหายก็คือผู้ที่เสนอเรื่องให้กษัตริย์พิจารณาหรือผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั่นเอง

    ***ดังนั้นถ้าจะว่ากันตามหลักการ สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันในลักษณะสัญญลักษณ์ของประเทศ เพราะมิได้มีอำนาจใดๆในทางการเมือง เพราะหากให้สถาบันฯ มีอำนาจทางการเมือง สถาบันฯจะต้องมีความรับผิดทางการเมืองตามมาด้วย

    ในข้อที่ว่าเป็นการมอบอำนาจทั้งหมดให้สภาก็ไม่ถูกต้องครับ เพราะตามหลักการดังกล่าวนั้นกษัตริย์ไม่ได้ทรงมีพระราชอำนาจทางการเมืองอยู่แล้ว และตาม รธน ก็กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนหรือก็คือ อำนาจในการปกครองเป็นของประชาชน ทั้งยังมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจสภาสามารถประกาศใช้กฎหมายได้ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยอาศัย เสียง สส จำนวนตามที่กำหนดใน รธน ยืนยันกลับไปให้ประกาศในราชกิจจาฯได้ ดังนั้นมันจะเป็นการก่อกบฎในหัวใจปวงชนชาวไทยได้อย่างไร เพราะมันเป็นไปตามหลักการของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญครับ

          5)ผมได้ให้หลักการพิจารณาไว้แล้วนะครับว่าจะพิจารณาอย่างไรว่าการกระทำใดเป็นความผิดตาม 112 ซึ่งผมก็ได้พิจารณาให้เห็นแล้วว่าข้อความทั้งหลายนั้นไม่ได้เข้าองค์ประกอบภายนอกของความผิดตาม 112 เลย ข้อความดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อความที่ผิดกฎหมาย แม้ว่าคุณจะรู้สึกขัดใจกับข้อความบางข้อความก็ตาม แต่หากว่ามีข้อความที่เป็นความผิดตาม 112 ก็จำเป็นต้องลบอย่างแน่นอนอยู่แล้วครับ

    ผมยังขอยืนยันนะครับว่าการแก้ไขหรือยกเลิก 112 (ในส่วนตัวผมเห็นด้วยกับการแก้ไขมากกว่า) ไม่ได้เป็นการล้มล้างสถาบันแต่อย่างใด เพราะ ไม่ได้กระทำการใดๆให้ที่ทำให้บูรณภาพของสถาบันกษัตริย์สั่นคลอน ดังเช่นการประทุษร้ายหรือการลอบปลงพระชนม์ ซึงเป็นความผิดตาม ม113 เลย

     

    1
    ณัฐพัชร์'s picture

       ก่อนอื่นต้องออกตัว ว่าหนักหัวเวียนหัวเมารถ  เมาเรือเอาอย่ามากแต่ก็เดินทางกลับมาโดยสวัสดิภาพ

    ความเป็นของคุณ โยเยฯ ถูกต้องมากที่สุดแล้วครับ  ก่อนอื่นต้องมองกฏหมายไทยเรา ถ้าเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ก็ต้องเกี่ยวหมดไม่ว่าจะจารีต วัฒนธรร ธรรมเนียม  ศิลธรรม ศาสนา เรียกได้ว่านี่ก็คือสัญลักพิเศษ ที่ผมไม่ขอพูดต่อเกี่ยวกับ นายโชติศักดิ์ ฯ ส่วนตัวผมไม่คิดว่าศาลคงจะตัดสินให้ผิดในมาตรา 112 ป.อาญา แน่     

    อยากให้คุณลอง ไปดูแบบ ม.ปลายเค้าเรียนกันก่อน และเพื่อให้ง่ายสำหรับการเข้าถึงและเข้าใจคุณ โยเย  ลิ้งนี้  http://nucha.chs.ac.th/1.5.htm และผมจะไม่ขอพูดอะไรอีก เพราะอาจเป็นเรื่องความคิดตามนี้ก็เป็นได้ เพราะการตีกรอบคำและหาความหมาย "หมายถึง...?" มันยากกว่าการ กาตอบคำถาม

    ส่วนเรื่องการกลั่นแกล้งทางการเมือง  ผมไม่มีข้อคิดแย้งคุณเลย  ผมยังเห็นว่าขัดกันระหว่างหลัก"นิติรัฐ"กับ"นิติธรรม"  มันไม่สอดคล้องกัน แต่โดยส่วนตัวผมยังเชื่อมันในระบอบประชาธิปไตยต่อบวนการของศาล  ในการตัดสินตามความผิดด้วยมาตราของกฏหมาย

            การที่พูดต่อไปนี้เหมือนวิจารณ์ ฯ มากกว่าคิด  ผมเองไม่ชอบความคิดและการกระทำของคุณ ตะวัน ฯ (สีแห่งพระอาทิตย์)เหมือนคนเห่าหอน โน้มนาวชักจูงคิดแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 50 โดยไม่ผ่านรัฐสภา ที่คิดลิปลอนสิทธิ์ของพระองค์ ในชื่อว่า "รู้เท่าทันรัฐธรรมนูญ" ผมอยากบอกเจ้าคนนี้จริงๆ เด็ก ม.4 เข้าก็รู้

            ผมก็แสดงความคิดโดยมีเจตนาบริสุทธิ์  ควรมิควรโปรดอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

    1
    Y@H@'s picture

    ก่อนอื่นผมขออกตัวก่อนนะครับ ว่า ผมไม่แน่ใจว่าที่คุณแสดงความคิดเห็นมานั้น คุณแสดงความคิดเห็นโต้แย้งความคิดเห็นผม หรือ เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นในอีกเรื่อง และหากคุณโต้แย้งผมผมก็ไม่ทราบว่าคุณแย้งผมในเรื่องอะไร เพราะข้อความของคุณเป็นไปในลักษณะเหมือนจะโต้แย้งแต่ก็ไม่ได้โต้ในประเด็นหลักๆ อีกทั้งไม่ได้แยกประเด็นที่จะโต้แย้งผมให้ชัด  ดังนั้น ผมจึงขอแกะประเด็นที่ผมพอจะจับได้จากความคิดเห็นของคุณ เพื่อแสดงความคิดเห็นแย้งในบางประเด็นนะครับ

    1)ในเรื่องพระราชอำนาจของกษัตริย์ ผมยังยืนยันว่ากษัตริย์ตามระบอบประชาธิปไตยนั้นพระองค์ไม่ทรงมีอำนาจใดๆในทางการเมือง ตามหลัก The King can do no wrong ซึ่งเป็นหลักการสากลที่มีประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีรูปของรัฐเป็นราชอาณาจักรหรือมีกษัตริย์เป็นประมุข

    พระราชอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญ พระองค์จึงไม่อาจริเริ่มใช้พระราชอำนาจใดๆในทางการเมืองได้ การจะยกอ้างจารีตประเพณีในเรื่องพระราชอำนาจของกษัตริย์ในอดีตบางประการมาเทียบเคียงนั้นไม่อาจทำได้ เพราะ ในอดีตนั้นเราปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่ง พระราชอำนาจของกษัตริย์อยู่ในลักษณะที่ "เด็ดขาด(Absolute)" ไม่ถูกจำกัดด้วยอำนาจใดๆ

    ส่วนในเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชน ตาม มาตรา 3 รธนนั้น ปรากฎในลักษณะดังนี้

    อำนาจนิติบัญญัติ โดย การลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายซึ่ง มีผู้เสนอขึนมา เช่น ประธานวุฒิสภา

    อำนาจบริหาร เช่น การลงพระปรมาภิไธย แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีในการบริหารประเทศ ซึ่งมีประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองฯ

    อำนาจตุลาการ เช่น การแต่งตั้งผู้พิพากษาและตุลาการ

    หากสังเกตจะพบว่าการกระทำทุกอย่างนั้นจะต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หรือกล่าวได้ว่าจะต้องมีผู้เสนอขึ้นไปให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย พระองค์มิได้ริเริ่มทำการนั้นๆเองแต่อย่างใด ซึ่งเป็นไปตามหลักการข้างต้นที่กล่าวไว้

    ส่วนพระราชอำนาจที่ไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แม้จะเป็นไปตามจารีตฯ ซึ่งไม่ได้ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย แต่ก็มิใช่อำนาจในทางการเมือง

    ดังนั้น สถาบันกษัตริย์จึงเป็นองค์กรหนึ่งของรัฐที่มีลักษณะเป็น สัญลักษณ์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในรัฐ และมิได้มีอำนาจใดๆในทางการเมือง

    2) ในเรื่อง นิติรัฐ และนิติธรรม นั้นผมไม่ทราบว่าคุณเข้าใจตรงกับผมหรือไม่และผมไม่ทราบว่า นิติรัฐและนิติธรรม ตามเข้าใจของคุณเป็นเช่นใด หากหลักการที่ผมอธิบายไปไม่ตรงกับความเข้าใจของคุณก็โปรดอธิบายหลักดังกล่าวตามความเข้าใจของท่านมาพร้อมแหล่งอ้างอิง เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะเป็นอย่างที่คุณกล่าว การตีกรอบคำหรือการให้คำนิยามนั้น เป็นเรื่องยาก  แต่ในเบื้องต้นผมขออธิบายง่ายๆดังนี้

    หลักนิติรัฐ(The Rule of law)ประกอบด้วย(ในการแบ่งหลักการย่อยอาจมีการแบ่งที่ต่างจากนี้)

    1.หลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ                      

    2.หลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน                                                                                    

    3.หลักการแบ่งแยกอำนาจ                                                                                      

    4.หลักความเป็นอิสระของตุลาการ                                                                           

    5.หลักความเป็นสูงสุดของรัฐธรรมนูญ                                                                                                

    หลักนิติธรรม(Rule of law) ประกอบด้วย

    1.ไม่มีบุคคลใดถูกลงโทษหรือถูกกระทบซึ่งสิทธิและร่างกาย เว้นแต่มีการกระทำซึ่งขัดต่อกฎหมายที่ตราขึ้นด้วยกระบวนการปกติธรรมดา และศาลปกติธรรมดาวินิจฉัยว่ามีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายนั้น นั่นหมายความว่า Rule of Law ตรงกันข้ามกับระบบการปกครองที่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจหรือ มีดุลพินิจ                                                                                                  2. ไม่มีบุคคลใดอยู่เหนือกฎหมาย บุคคลอยู่ภายใต้กฎหมายปกติธรรมดา และอยู่ภายใต้ระบบศาลปกติธรรมดาอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นการสร้างระบบศาลเฉพาะสำหรับฝ่ายปกครองจึงไม่เป็นไปตาม Rule of Law                                                                                                               3. สิทธิและเสรีภาพใน Rule of Law เกิดจากการรับรองโดยกฎหมายปกติธรรมดาหรือศาลปกติธรรมดา ไม่ใช่เกิดจากรัฐธรรมนูญ

    หลักการทั้ง 2 นั้นมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่หลักการทั้งสองก็มีสิ่งที่ต่างกัน

    "เมื่อพิจารณาทั้งสองข้อความคิดนี้แล้ว เราอาจสรุปความแตกต่างของ “นิติรัฐ” และ “นิติธรรม” ได้ดังนี้

    ๑. พิจารณาจากต้นกำเนิด ข้อความคิดเรื่อง “นิติรัฐ” มีวิธีการศึกษา (Approach methodology) ตั้งต้นเริ่มจากรัฐ เพราะเป็นธรรมเนียมของนักกฎหมายมหาชนและนักปรัชญาภาคพื้นยุโรปที่มุ่งเน้น ศึกษาทฤษฎีว่าด้วยรัฐเป็นสำคัญ กล่าวคือใช้ข้อความคิดว่าด้วย “รัฐ” เป็นวัตถุแห่งการศึกษา และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกฎหมายนั่นเอง ในขณะที่ข้อความคิดเรื่อง “นิติธรรม” นั้นมีต้นกำเนิดจากความหวั่นเกรงการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐ หลักนิติธรรมจึงมุ่งหมายไปที่การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชน กล่าวให้ถึงที่สุด หลักนิติรัฐเป็นมุมมองจากรัฐ แต่หลักนิติธรรมเป็นมุมมองจากปัจเจกชน

    ๒. พิจารณาทางภาษาศาสตร์ คำว่า Law ในภาษาอังกฤษ หากแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันแล้ว มีสองคำ หนึ่ง คือ Droit (ฝ.) หรือ Recht (ย.) ซึ่งหมายถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหมด และสอง คือ Loi ซึ่งหมายถึงเฉพาะกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ ในขณะที่คำว่า Droit ของฝรั่งเศสนั้น นอกจากจะหมายความว่า “กฎหมาย” (Law) ได้แล้ว ยังหมายความว่า “สิทธิ” (Right) อีกด้วย

    ๓. พิจารณาทางเนื้อหาสาระ หลักนิติรัฐเกี่ยวกับกรณีที่รัฐยอมตนลงมาอยู่ภายใต้กฎหมาย (หรือที่เรียกว่า Autolimitation ซึ่งความคิดนี้นักกฎหมายเยอรมัน เช่น Jellinek และ Ihering เป็นผู้ริเริ่มแต่นักกฎหมายฝรั่งเศสเช่น Duguit และ Hauriou ไม่เห็นด้วย) เป็นเรื่องของโครงสร้างลำดับชั้นทางกฎหมาย (Hiérarchie des normes) เป็นเรื่องของหลักความชอบด้วยกฎหมาย (Principe de légalité) ที่สถาปนาให้กฎหมายเป็นทั้งที่มาและข้อจำกัดของอำนาจมหาชน (Sources et limitations) เป็นเรื่องการแบ่งแยกอำนาจอย่างสมดุล (Séparation des pouvoirs) และเป็นเรื่องบทบาทขององค์กรตุลาการในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและ ความชอบด้วยกฎหมาย (Contrôle juridictionnel) ในขณะที่หลักนิติธรรมนั้น ไม่มีกรอบความคิดที่เป็นระบบระเบียบเท่ากับหลักนิติรัฐ แต่สร้างหลักขึ้นมาเฉพาะเรื่องเฉพาะราวตามแนวคิดเสรีนิยม เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้พ้นจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจของ รัฐ กล่าวให้ถึงที่สุด หลักนิติรัฐของภาคพื้นยุโรป เน้นที่รูปแบบ-โครงสร้าง (Forme-Structure) และวิธีการในการไปให้ถึงเป้าประสงค์ (Moyens) ในขณะที่หลักนิติธรรมของแองโกลแซกซอนเน้นที่เนื้อหา (Substance) และกระบวนการ (Procédure)

    ๔. พิจารณาจากสกุลกฎหมาย หลักนิติรัฐกำเนิดและพัฒนาในสกุลกฎหมาย Romano-Germanic ซึ่งยอมรับการแบ่งแยกกฎหมายเอกชน-กฎหมายมหาชน ยอมรับความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ในขณะที่หลักนิติธรรมกำเนิดในสกุลกฎหมายแองโกล-แซกซอน ซึ่งไม่มีการแบ่งแยกกฎหมายเอกชน-มหาชน ไม่มีการแบ่งแยกศาลยุติธรรม-ศาลปกครอง และยอมรับความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (Suprématie du Parlement)"

    ที่มา http://www.enlightened-jurists.com/directory/16/Rule%20of%20%20Law.html

    ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้ว แม้ทั้งสองหลักการจะมีสิ่งที่ต่างกันก็เป็นเพียงปัจจัยภายนอก ในเรื่องของสาระสำคัญของหลักการทั้งสองนั้น มิได้ต่างกัน คือมุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ด้วยการจำกัดอำนาจรัฐ การที่คุณกล่าวว่าหลักการทั้ง 2 ขัดกัน ไม่สอดคล้องกันผมจึงไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้นัก

    1
    โยเย's picture

    ผมเล่าเรื่องสมมุติ  วัตถุประสงค์ ฯ เพื่อความบันเทิง  ไม่ได้หลายถึงผู้ใด คนหนึ่งคนใด  ตัวละครจึงใช้ นาย ทุนใหญ่    กับนาย นิติศาสตร์   ดีมาก

    นาย นิติศาสตร์      ดีมาก   รับผลประโชนย์  จาก นาย ทุนใหญ่ เป็นที่ถูกสังคมประนามจนต้องออก และหนีไป นาย ทุนใหญ่  คนนี้อยากกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง  จ่ายเงินหลายล้านบาท เพื่อให้แก้ข้อกฏหมายหลายๆฉบับ และต้องให้่ได้  กลุ่มคนพวกนี้จะแก้กฏหมายหลายๆฉบับได้ยังไง   เลยจ้างคนจำนวนหนึ่งไม่มากนักเพราะว่าเสียดายตังค์   น้องๆ มาทำงานกับอา  สบายอยู่กลับบ้านก็ทำได้  มีอีเมลมั้ย ได้เยอะ เป็นพัน เป็นหมื่น อย่างคนนั้น (เรียนแบบขายตรง) 

    บอกไป โพสตามนี้เถอะ  รอด  ไม่ถูกดำเนินคดี  ใครละจะจับได้  ติดกลับเราแล้วด้วยเบ็ต ขนาด ม.112 เป็นอาวุธ คมแบบ 2 ด้านเลยฉับๆ ไปเลย  นาย ทุนใหญ่  จะได้กลับมาอย่างพระราชาเราจะได้เงินกันอีกบานเบ๊อะ 

    .................................................................

       ข้อความข้างบนถ้าไม่ใช้เพียงเพื่อความบันเทิง  แต่ถ้าเอาไปใช้ทำลายคนละ  ความเสียหายก็จะเกิดกับ นาย นิติศาสตร์  ดีมาก   อย่างเช่นการกล่าวในเว๊ปไซต์ต่างๆ ที่กล่าวหาสถาบัน ฯ อย่างทุกวันนี้

    1

    .....ในสังคมไทย..สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ..คือ...หลักเหตุผล..ความจริง...ความถุกต้อง..เป็นธรรม....การเปลี่ยนแปลงมีทุกยุคทุกสมัย...แต่ที่ต้องเรียนรู้การเข้าใจในราก...ของความสัมพันธ์ของระบบสังคมไทย...ประเด็นของการใช้การยอมรับ...ต้องอยู่บนรากฐานของความมีเหตุผลที่เป้นธรรม...แต่ประการหนึ่งที่สำคัญคือ...นิติธรรม..นิติรัฐ..กฎหมายอะไรไม่สำคัญเท่า...ความเป็นธรรม..ที่ผ่านการตรองด้วยเหตุผล...ที่ถุกต้องเป็นธรรม...สิ่งสำคัญที่คนไทยควรตระหนัก..คือการรู้รักสามัคคี...ความปรองดองของคนในชาติ...คือความั่นคงของชาติ...ในประเด็นที่จะถกกันในเชิงวิชาการ...อันนี้พอเข้าใจแต่อาจจะไม่สำคัญเท่าใดนักหากจะต้องตีความและยึดติดเพียงเป้าหมาย...แง่มุม..ในกรอบวิชาการ..ทีสำคัญ..ต้องเข้าใจบริบททางสังคม...ของความเป็นชาติ...การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อ...แต่ความเป็นชาติ...และความีศักดิืศรี....ต้องเรียนรู้เข้าใจ..อยากลองยกตัวอย่างให้เห็นชัด...ชาติไทยน่าชื่นชมยินดี..ขนาดไหน...ต้องสึกาาอย่างรอบด้าน..โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์...ที่สำคัญ...จะเห็นภาระกิจของผู้นำ..ที่ต้องประเมินรอบด้าน...เรียนรู้ความเป็นชาติไทยให้มาก...มีรากเหง้ามาอย่างไร..แตกต่างจากอเมริกา..เยอรมัน..อังกฤาอย่างไร..แง่มุมไหน...แต่ที่สำคัย...อยากให้ดู้...ประเทสภูฎาน....โดยสรุป...ผมคิดเห็นว่าำสหรับประเทสไทยนั้น...ต้องเรียนรู้ประวัติศาสตรืตนให้มากๆ....และจะรักประเทส...พี่น้องประชาชน...มากขึ้น..เข้าใจเข้าถึงพัฒนา...อย่้าติดหล่มทางความคิด....จนอยู่ในกับดักของความคิดตนเอง...แต่ให้มองประโยชนืดดยรวมของชาติเข้าไว้...ก่อนที่พื้นที่ความเสรีแห่งความเป็นไทยจะหมดไป...