Articles

First Three Steps Back to Democracy
แม้ปัจจุบันกติกาทางการเมืองจะยังไม่ปกติ แต่เราก็สามารถสร้างการเมืองที่ชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของประชาชนได้ โดยเริ่มจากการมีรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีที่มีที่มาและคุณสมบัติตามครรลองประชาธิปไตย เพื่อก้าวแรกในการพาประเทศไทยกลับสู่ “ประชาธิปไตยเต็มใบ” ผ่านสามข้อเสนอต่อไปนี้
Open Data Day
4 มีนาคม 2566 เนื่องในวันเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ WeVis จัดงาน “Open Data Day 2023 - Open Data การเมืองไทย” ภายในงานประกอบไปด้วยสองวงเสวนาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะโดยเฉพาะในการเลือกตั้งทั่วไป 2566 จากตัวแทนพรรคการเมือง สื่อมวลชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม
หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การคำนวนจำนวน ส.ส. จะต้องคำนวณโดยเอาเฉพาะจำนวนราษฎรที่มีสัญชาติไทยมาคำนวณเท่านั้น ส่งผลให้ กกต. ต้องคำนวณจำนวน ส.ส.ใหม่ และผลที่ตามมาคือ ต้องมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ซึ่งถ้ามีการยุบสภาในระหว่างที่การแบ่งเขตเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ ก็จะส่งผลให้ให้บางเขตไม่สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ และเกิดภาวระสูญญากาศทางการเมือง
Decree to delay the enforcement of the anti-torture bill
การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา พ.ร.ก. แก้ไข พ.ร.บ. ป้องกันการทรมานและอุ้มหายฯ ทำให้สภาไม่มีโอกาสได้ลงมติ ซึ่งในระหว่างนี้บางมาตราของ พ.ร.บ. ป้องกันการทรมานและอุ้มหายฯ ก็จะถูก “อุ้มหาย” ไปด้วย รวมถึงรัฐบาลที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาก พ.ร.ก. ไม่ได้รับความเห็นชอบก็จะหมดอายุตามสภาไปแล้ว
Digital Rights
24 กุมภาพันธ์ 2566 อ็นเกจ มีเดีย นำเสนอวาระและอภิปรายภายใต้หัวข้อ “4 วาระสิทธิดิจิทัลสำหรับพรรคการเมืองไทย” โดยมีผู้แทนจากพรรคการเมืองเข้าร่วมอภิปรายประกอบด้วย ศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส. จังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย วรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ โฆษกพรรคไทยสร้างไทย
15 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกระเบียบใหม่จำนวนสามฉบับ หนึ่งในนั้นคือ ระเบียบ กกต. ว่าด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานของนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งสาระสำคัญของระเบียบดังกล่าวคือ การเร่งรัดกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง โดยกำหนดกรอบเวลาให้ไม่เกิน 67 วัน นับตั้งแต่วันที่รับเรื่องร้องเรียน
Election Inspector
ทำความรู้จัก "ผู้ตรวจการเลือกตั้ง" ที่คอยตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ตรวจสอบการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และรายงานความผิดปกติต่อ กกต. เพื่อให้การเลือกตั้งสุจริตและเป็นธรรม 
23 กุมภาพันธ์ 2566 13.00 น. คณะประชาชนทวงคืนความยุติธรรม 2553 (คปช.53) เข้ายื่นหนังสือกับตัวแทนพรรคฝ่ายค้าน เสนอนโยบายเพื่อทวงความยุติธรรมให้คนเสื้อแดงและประชาชนที่ถูกกระทำจากการเป็นผู้เห็นต่างทางการเมือง รวมถึงการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่อาคารรัฐสภา เกียกกาย
ก่อนการเลือกตั้งในปี 2566 อุณหภูมิทางการเมืองเริ่มสูงขึ้น หลัง รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคก้าวไกล ได้เปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า พรรครวมไทยสร้างชาติที่ประกาศสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ตั้งที่ทำการพรรคอยู่บนที่ดินของบุคคลที่ใกล้ชิดกับขบวนการค้ายาเสพติดและฟอกเงินของกลุ่มทุนมินลัต ในขณะที่พรรคพลังประชารัฐที่นำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนจีนสีเทาอย่าง 'ตู้ห่าว' หรือ ชัยณัฐร์ กรณ์ชายานันท์ ที่ได้บริจาคเงินให้กับพรรค ซึ่งทั้งสองกรณีเข่าข่ายจะถูกยุบพรรคได้ทั้งคู่
กกต.ออกระเบียบเลือกตั้งส.ส. 2566 คงโครงสร้างเนื้อหาของระเบียบฉบับก่อนหน้าใหม่และปรับเนื้อหาบางอย่างให้สอดคล้องกับกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ความถดถอยสำคัญของระเบียบนี้คือ การยกเลิกการรายงานผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการผ่านแอพพลิเคชั่น