การขัดขวางผู้อื่นไม่ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จนไปใช้สิทธิไม่ได้หรือไม่ทันเวลา มีโทษหนักปรับ-จำคุก และตัดสิทธิเลือกตั้งถึง 10 ปี นอกจากนี้ กรณีนายจ้างที่กระทำการขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว หรือไม่ให้ความสะดวกพอสมควรแก่ลูกจ้างในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก็มีโทษเช่นกัน
การเลือกตั้ง'66 วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ภายใต้โครงสร้างอำนาจเดิมของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่มุ่งสืบทอดอำนาจให้คสช. มาพร้อมระบบเลือกตั้งใหม่ กติกาใหม่มากมาย กลไกการสืบทอดอำนาจที่มีอยู่ยังอาจเคลื่อนไหวเพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งให้เกิดความ "ไม่ปกติ" ขึ้นได้ประชาชนจึงอาจต้องช่วยกันทำมากกว่าแค่การไปออกเสียงหนึ่งเสียงของตัวเอง
ประเด็นของการแบ่งเขตเลือกตั้งที่สลับซับซ้อนเกิดจาก กกต.กำหนด ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.หนึ่งคนของแต่ละเขต ต้องไม่ต่างกันเกิน 10% โดยเฉพาะในพื้นที่ 33 เขต ของกรุงเทพมหานคร ที่การแบ่งเขตเลือกตั้งครั้งนี้แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา
ภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม 16 องค์กรนำโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และกรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมจัดเวที “เลือกตั้ง: ฟังเสียงนโยบายจากภาคประชาสังคม (Civil Society’s Agenda for the 2023 Thailand Election)”
ชวนย้อนดูกฎหมายเลือกตั้งในช่วงปี 2541 เป็นต้นมาพบว่า ตัวการสำคัญที่สร้างความยุ่งเหยิงในระบบเบอร์เลือกตั้งจากเบอร์เดียวทั้งประเทศเป็นระบบหลากเบอร์ คือ คณะรัฐประหารในปี 2549 และ 2557 ทั้งยังเป็นปัญหาที่คลี่ไม่ออกจนถึงปัจจุบัน
การเลือกตั้ง 2566 เป็นหมุดหมายสำคัญที่จะพาประเทศไทยหลุดพ้นจากอำนาจรัฐประหาร และพาการเมืองไทยกลับสู่ครรลองประชาธิปไตย โดยมีตำแหน่งนายกฯ เป็นเดิมพัน ในแง่ที่มาตำแหน่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ยังคงเป็นข้อถกเถียงถึง "ความชอบธรรม" ของการไม่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ให้ชัดเจน
หากเขาได้ไปต่อโดยไม่มีการแก้รัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์จะเหลือเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้นานเท่าใด
แอป ThaID สิ่งยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะสามารถใช้แสดงบัตรประชาชน-ทะเบียนบ้าน ยังสามารถใช้งานเพื่อยืนยันตัวตนบนเว็บไซต์ต่างๆ ของหน่วยงานรัฐ ได้อีกด้วย
การยุบสภาฯ ทำให้เข้าสู่โหมดการเลือกตั้งอย่างเต็มตัว แต่รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังคงทำหน้าอยู่ในฐานะรัฐบาลรักษาการ ในระหว่างหาเสียงเลือกตั้งรัฐบาลรักษาการมีหน้าที่อย่างไร และอะไรที่ห้ามทำระหว่างรักษาการ
ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หลักการให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป โดยมีทั้งในประเทศที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมาย หรือประเทศที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ