-
คณะก้าวหน้า เปิดตัวข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชื่อว่า “ปลดล็อคท้องถิ่น” โดยเสนอให้ “รื้อ” หมวด 14 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วเขียนเรื่องการกระจายอำนาจใหม่ทั้งหมด ให้อำนาจท้องถิ่นเป็นหลัก และให้ส่วนกลางเข้ามาแทรกแซงเป็นข้อยกเว้น เปิดให้ประชาชนที่เห็นด้วยเข้าชื่อกันให้ครบ 50,000 ชื่อ
-
องค์กรภาคประชาชนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมได้รวมตัวกันจัดทำร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ... (ฉบับประชาชน) ขึ้นมา เพื่อปรับปรุงกฎหมายของไทยให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิศรี (CAT) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (CED)
-
กิจกรรมการรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยอาศัยช่องทางเข้าชื่อ 50,000 คน เริ่มขึ้นแล้วโดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวสองกลุ่ม กลุ่มแรกเสนอแก้ไขมาตรา 256 เรื่องเดียวเพื่อปิดทาง ส.ว. มาร่วมลงมติ กลุ่มที่สองขอเอารัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ทั้งฉบับ ใครเห็นด้วยกับข้อเสนอใดก็ร่วมเข้าชื่อกันได้
-
ภาคประชาชนในนามเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ พยายามผลักดันร่างกฎหมาย "พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ" เพื่อยกระดับให้ประชาชนทุกคนเมื่ออายุถึง 60 ปี จะมีสิทธิได้รับบำนาญแห่งชาติอย่างเสมอภาคกัน และให้คณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยภาคประชาชนจากกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ผู้สูงอายุ เด็กและสตรี คนพิการ ฯลฯ คอยกำกับทิศทาง เช่น ช่วยพิจารณาจัดสรรงบประมาณและทำแผนแม่บทเปลี่ยนเงินสงเคราะห์ต่างๆ ที่ซ้ำซ้อนมาพัฒนาระบบสวัสดิการถ้วนหน้า
-
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับใหม่ที่ออกในปี 2562 ได้เปลี่ยนสถานะของกัญชาและกระท่อมให้ใช้ทางการแพทย์ได้ แต่ในทางกฎหมายพืชทั้งสองชนิดยังคงเป็นยาเสพติดและยังมีข้อจำกัดอยู่ตามกฎหมายใหม่ ทำให้เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาสังคมร่วมกันผลักดัน "ร่าง พ.ร.บ.พืชยากัญชา กระท่อม" เพื่อยกเลิกสถานะกัญชาและกระท่อมออกจากยาเสพติด
-
เนื่องจากสลากกินแบ่งรัฐบาลก่อปัญหามากมาย อาทิ การทำให้คนติดพนัน ทำให้คนจนใช้จ่ายเกินตัว ฯลฯ ทั้งที่รายได้ส่วนนี้จะถูกนำส่งเข้ารัฐเป็นจำนวนมาก ดังนั้นประชาชนจึงเสนอให้มีการปฎิรูป เพื่อความโปร่งใส หยุดขายเกินราคา นำเงินมาพัฒนาสังคม
-
กว่าหกปีของการรอคอย และกว่าสามปีเต็มของการดิ้นรนในรัฐสภา “พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย” ฉบับใหม่ ก็ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เหลือเพียงขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น สังคมไทยก็จะเข้าสู่ยุคใหม่ของการเสนอกฎหมายโดยประชาชน
-
คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก ดังนั้นชาวนาจึงมีความสำคัญในฐานะผู้ผลิตข้าว แต่ปัจจุบันชาวนากับเป็นกลุ่มอาชีพที่ยากจนและเป็นหนี้มากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ด้วยเหตุนี้เพื่อประกันความมั่นคงในชีวิตของชาวนา กลุ่มเกษตรกรชาวนาจึงร่วมกันล่ารายชื่อประชาชน 11,898 คน เสนอร่าง พ.ร.บ.ข้าวชาวนาไทยขึ้นเพื่อให้รัฐภาพิจารณารัฐสภา
-
ภาคประชาชนจับมือ คปก. เตรียมเข้า 10,000 ชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มุ่งจัดระเบียบการบริหารน้ำ ให้อำนาจรัฐเป็นเอกภาพ และให้มีกรรมการ 4 ระดับเปิดพื้นที่ให้ชุมชน และส่วนท้องถิ่นร่วมบริหารน้ำ ยืนยันการใช้น้ำในครัวเรือนและเกษตรรายย่อยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
-
ญาติวีรชนฯ เสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม นิรโทษกรรมให้ผู้ชุมนุมแต่ไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ทั้งผู้สั่งการ เจ้าหน้าที่ที่กระทำเกินคำสั่ง ไม่รวมชายชุดดำ ไม่รวมคนเผา และไม่ครอบคลุมพ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมเสนอให้ส.ส.ช่วยดันก่อนเปิดสมัยประชุมเดือนสิงหาคมนี้