สภาเตรียมพิจารณาร่าง "ปลดอาวุธ คสช." เพื่อพิจารณายกเลิกประกาศและคำสั่ง ที่ตกค้างเป็นมรดกมาจากยุค คสช. ให้อำนาจแก่รัฐบาลทหารโดยไร้การตรวจสอบ เช่น อำนาจทหารขังคนได้ 7 วัน, การยกเว้นผังมือให้อีอีซี เป็นความพยายามล้างผลพวงรัฐประหารครั้งแรก และเป็นการพิจารณาร่างกฎหมายที่ประชาชนเข้าชื่อเสนอ
17 พ.ย. 64 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็น "เอกฉันท์" ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อสังเกตว่ารัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สมควรดำเนินการ "ตรากฎหมาย" รับรองสิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อไป
ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มีเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งว่า ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากสภา จะต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ทั้งในวาระที่หนึ่งชั้นรับหลักการ และในวาระที่สามชั้นเห็นชอบประกาศใช้เป็นกฎหมาย ดังนั้น การลงมติของ ส.ว. จึงเป็นจุดชี้ชะตาของร่างแก้รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ซึ่งจากการดูผลการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่หนึ่งตลอดทั้งสามครั้ง พบว่า มี ส.ว. บางคน ที่เป็นองค์รักษ์พิทักษ์กลไกสืบทอดอำนาจของคสช. อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ ณฐพร โตประยูร ร้องขอให้วินิจฉัยว่าการชุมนุมและปราศรัยของนักกิจกรรมเข้าข่ายล้มล้างระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญมีกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่รับรองการสมรสเฉพาะชาย-หญิง ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
การเคลื่อนไหวของทะลุแก๊ซป็นปรากฏการณ์ใหม่ในการชุมนุมเรียกร้องต่อรัฐบาล ผศ.ดร. กนกรัตน์ เลิศชูสกุลและธนาพงศ์ เกิ่งไพบูลย์ทำการศึกษาถึงที่มาที่ไปของการเกิดขึ้นของการชุมนุมที่แยกดินแดง ในรายงานเบื้องต้นเรื่องการก่อตัว พัฒนาการและพลวัตการชุมนุมบริเวณแยกดินแดง ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564
16 สิงหาคม 2564 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สผผ.) เผยแพร่คำวินิจฉัยผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีที่อัมรินทร์ สายจันทร์ และปราติหารย์ มีคุณ ยื่นคำร้องให้พิจารณาว่ามาตรา 38 (3) ของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
สื่ออิสระ นับว่าเป็นกลุ่มคนสำคัญในสนามการชุมนุมที่นับวันมีเหตุความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพราะพวกเขาต่างทำหน้าที่เสมือนเป็นหูเป็นตาให้กับประชาชนในยามที่สื่อกระแสหลักไม่สามารถทำหน้าที่ได้ แต่ราคาที่ต้องจ่าย คือ ความเสี่ยงนานับประการ ไม่ว่าจะเป็นการคุกคาม การใช้ความรุนแรง ไปจนถึงการดำเนินคดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็น "เสรีภาพสื่อที่หายไป" ในสนามการชุมนุม
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กและใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด โดยในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 นี้ ประชาชนจะได้มีโอกาสเดินเข้าคูหาเลือกตั้งทั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 7 ปี สำหรับการเลือกตั้ง อบต. ครั้งนี้ ไม่เพียงแต่วันเลือกตั้งเท่านั้น แต่ยังมีวันสำคัญอื่น ๆ ที่ประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งควรรู้ เพราะอาจจะส่งผลต่อการใช้สิทธิได้
หลังจากที่ถูก “แช่แข็ง” มานับตั้งแต่การรัฐประหาร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เคาะให้วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 เป็นวันที่ประชาชนที่มีชื่ออยู่ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะได้เลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. และนายก อบต. หลังจากที่ได้เริ่มเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกไปแล้วในระดับจังหวัด คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ไปก่อนเมื่อปลายปี 2563 โดยครั้งสุดท้ายที่มีการจัดเลือกตั้งอบต. ก็ต้องย้อนกลับไปถึงปี 2557 หรือเมื่อเจ็ดปีมาแล้ว