รัฐธรรมนูญ มาตรา 152 กำหนดให้ ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร สามารถเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติได้ เป็นหนึ่งในกลไกตรวจสอบรัฐบาล โดยไม่มีการลงมติชี้ขาดสถานะนายกฯ หรือรัฐมนตรี
11 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00 น. ตัวแทนองค์กรภาคประชาชนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตรวจสอบภาษีในองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลชุดนี้มาตลอด เป็นการตรวจสอบที่เรียกว่า ล้วงลูกทั้งที่เป็นอำนาจของสรรพากรและไม่ใช่อำนาจของสรรพากร
ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา อย่างน้อย 6 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน (ประชาไท) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) และ iLaw ทยอยได้รับการแจ้งและการเข้าตรวจสอบการเงินโดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร
หลังจากตั้งแต่ที่เปิดปี 2565 มาจนถึงการประชุมวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรล่มไปแล้ว 3 ครั้ง และหากนับตั้งแต่สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้เริ่มทำงานหลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 มีถึง 15 ครั้งที่องค์ประชุมสภาไม่ครบ
2 ก.พ. 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีนัดพิจารณาร่างกฎหมาย #สุราก้าวหน้า ก่อนจะลงมติว่าสภาฯ จะให้ครม. นำร่างกฎหมายดังกล่าวไปพิจารณาก่อนรับหลักการหรือไม่ ปรากฏว่าองค์ประชุมไม่ครบ #สภาล่ม ส.ส. พรรคเพื่อไทยไม่แสดงตนร่วมร้อย ขณะที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลไม่แสดงตน 76 คน
จากกรณีที่กรรมการบริหารพรรคพลังพลังประชารัฐ รวมทั้ง ส.ส.พรรค ทั้งหมด 78 เสียง มีมติขับ ร.อ.ธรรมนัส และพวกรวมทั้งหมด 21 คน ออกจากพรรค ผลที่จะตามมา คือ จำนวน ส.ส. ในพรรคพลังประชารัฐจะลดลงครั้งใหญ่ ถ้าหากทั้ง 21 คนยังคงสนับสนุนรัฐบาลเพียงแต่ย้ายไปอยู่พรรคใหม่ในชื่ออื่น ก็อาจกระทบต่อความอยู่รอดไม่มาก แต่ถ้าหาก 21 เสียงนี้พร้อมต่อรอง โดยการลงมติสวนรัฐบาลบ้าง เสียงฝ่ายรัฐบาลอาจจะมีสภาวะ "ปริ่มน้ำ" หรือมีเสียงสนับสนุนในสภาเกินกึ่งหนึ่งมาเพียงเล็กน้อย
ในปี 2022 หรือ ปี 2565 นี้ หากรัฐบาลยังทำหน้าที่แก้ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากการระบาดของโรคโควิด19 ได้ไม่ดีพอ สถานการณ์ทางการเมืองย่อมมีแนวโน้มที่จะร้อนแรงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงอยากช่วยประชาชนจับจาวาระร้อนทางการเมืองอย่างน้อย 4 เรื่อง ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้
แม้จะยังไม่มีประกาศวันเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ แต่ผู้ที่มีแผนจะย้ายทะเบียนบ้านจากจังหวัดอื่นมายังทะเบียนบ้านกรุงเทพฯ อาจต้องเตรียมพร้อมให้ดี เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า หากใครมีชื่อในทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯ ไม่ถึงหนึ่งปีก่อนวันเลือกตั้ง จะถือว่าไม่มีมีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.)
30 พฤศจิกายน 2564 ไอลอว์และเครือข่ายภาคประชาชนร่วมกันจัดกิจกรรม "รวมพลังประชาชน-รื้อมรดก คสช." ที่สนามหน้ารัฐสภา เพื่อนำเสนอปัญหาที่สืบเนื่องมาจากการบังคับใช้ประกาศและคำสั่ง คสช. รวมทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช. ในโอกาสที่ร่าง พ.ร.บ. "ปลดอาวุธคสช." จะถูกบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 8 ธันวาคม 2564
ร่าง "ปลดอาวุธคสช." จ่อเข้าวาระการประชุม ไอลอว์จัดกิจกรรมปักหมุดหน้าสภาอีกครั้งเพื่อส่งเสียงให้ ส.ส. รับร่าง ด้านสุทิน คลังแสง วิปฯฝ่ายค้าน ยืนยันฝ่ายค้านจะผลักดันกฎหมายนี้อย่างเต็มที่ ขณะที่ชินวรณ์ บุญเกียรติ วิปฯรัฐบาล ยืนยันให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพประชาชน