21 สิงหาคม 2564 Nitihub จัดงานเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ "ปราบม็อบ 101: วิชาสลายการชุมนุม (ด้วยความรุนแรง?)" ถกเถียงเรื่องเส้นแบ่งระหว่างความรุนแรง-สันติวิธี, หลักการสลายการชุมนุม ไปจนถึงพลวัตของเส้นสันติวิธีและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 29 ที่เป็นการห้ามเผยแพร่ข้อความที่ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว และให้อำนาจ กสทช. “ตัดเน็ต” เลขที่อยู่ไอพี โดยให้เหตุผลว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ก็ไม่ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในสั่ง
จากข้อเถียงของกมธ. งบประมาณปี 65 ในประเด็นการนำงบที่ถูกตัดไปโปะ "งบกลาง" ชวนอ่านข้อเขียนจาก อานันท์ กระบวนศรี นักศึกษาปริญญาโท กฎหมายมหาชน ประเทศฝรั่งเศส ที่เขียนอธิบายถึงขอบเขตการแปรญัตติตัดลดงบประมาณ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 และการนำไปโปะงบรายการอื่น ปัญหาของ “งบกลาง” และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากตัดลดงบประมาณและนำไปใส่ในงบกลาง
ภายหลังข้อกำหนด ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 29 ที่กำหนดว่าห้ามเสนอข่าวที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัว หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร รวมถึงอนุญาตให้ กสทช.มีอำนาจ "ตัดเน็ต" หากพบว่า IP address ใดทำผิดข้อกำหนด มีผลบังคับใช้ มันได้สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนอย่างกว้างขว้าง จนเกิดเป็นปฏิกิริยาตอบโต้จากทั้งบรรดาสื่อมวลชน นักกฎหมาย รวมถึงกลุ่มการเมือง ที่มองว่า นี่คือการคุกคามสื่อและจงใจปิดหูปิดตามประชาชน
2 สิงหาคม 2564 กลุ่มสื่อมวลชนและภาคประชาชน อย่างน้อย 12 กลุ่ม เดินทางมาศาลแพ่ง (รัชดา) เพื่อยื่นฟ้องขอเพิกถอนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 29 ที่ให้อำนาจ กสทช. “ตัดเน็ต” ผู้โพสต์ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อหลักนิติธรรม และยังเป็นการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
องค์กรวิชาชีพสื่อจัดเสวนาหัวข้อ “หยุดอ้างข่าวปลอม หยุด พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุกคามเสรีภาพสื่อ-ประชาชน” ประเด็นสืบเนื่องจากข้อกำหนดนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 27 ข้อ 11 เรื่อง ข้อห้ามนำเสนอข่าวสารที่ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือบิดเบือนให้เข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ
ในสภาวะที่สถาบันตำรวจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านและแรงกดดันจากสังคม เราชวน “เอก” ข้าราชการตำรวจ มาพูดคุยถึงความฝัน ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และมุมมองของเขาในฐานะตำรวจรุ่นใหม่ที่มีต่อสถาบันตำรวจท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
ในยามที่ความนิยมของรัฐบาลกำลังถดถอยลงจากความผิดพลาดในการแก้ปัญหาสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับเสียงจากกัลยาณมิตรของพรรคร่วมรัฐบาลที่ต้องการเห็นพรรคประชาธิปัตย์ 'ถอนตัว' ก็ดังขึ้นเรื่อยๆ เราจึงตัดสินใจพูดคุยกับหนึ่งในอดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ว่ามองผลงานของรัฐบาลและพรรคร่วมอย่างไร รวมทั้งถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่พรรคประชาธิปัตย์จะถอนตัว
ประชาชนยื่นหนังสือต่อสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขอใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ ปี 2540 เพื่อให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการตั้ง "คณะกรรมการตรวจสอบและดำเนินคดีแก่ผู้เผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค" หรือ คตส. ของนายรัฐมนตรี หวั่นเปิดการใช้อำนาจรัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 หรือ เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้ กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth ได้จัดการชุมนุมใหญ่บนท้องถนนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งนับว่าเป็นการเคลื่อนไหวก้าวสำคัญที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวยกระดับของกลุ่มต่างๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาล โดย ณ ขณะนั้น ข้อเรียกร้องสำคัญ มีอยู่สามข้อ คือ ยุบสภา ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ หยุดคุกคามประชาชน