Hot Issues

ภาคประชาชน 23 องค์กร เดินเท้าจากบริเวณหน้ากระทรวงการคลังไปยังสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถ.ประดิพัทธ์ ส่งมอบ 13,409 รายชื่อประชาชนเพื่อเสนอกฎหมายยกเลิกประกาศ/คำสั่ง คสช. 35 ฉบับ
Slapps siminar2
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจัดวงคุยเสวนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ของนักกฎหมาย ในส่วนของกลไกกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปากในประเทศไทย ซึ่งพบว่าแม้ทางฝ่ายรัฐจะมีการเพิ่มข้อกฎหมายที่เหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาการฟ้องคดีปิดปาก แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่มีผลบังคับใช้จริง
เครือข่ายประชาชนจัดงานกิจกรรมวาระแรกประชาชน ปักหมุด ปลดอาวุธ คสช. เพื่อร่วมกันแถลงเหตุผลที่ต้องเข้าชื่อเพื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่ง คสช.35 ฉบับ(มีบางฉบับที่คสช.ยกเลิกเองไปแล้วเหลือจริงๆประมาณ 22 ฉบับ ) โดยรวบรวมตัวแทนจากทุกเครือข่ายทุกประเด็นที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่ง คสช. ทั้ง 23 องค์กร มาร่วมแถลง
Slapps siminar
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจัดงานเสวนาสถานการณ์คดี "ปิดปาก" หรือ SLAPPS ผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวทางการเมือง ประชาชนที่เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องทรัพยากร และคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่รายงานเรื่องสิทธิแรงงาน และการซ้อมทรมานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
right to public assembly
การรวมตัวกันเพื่อใช้เสรีภาพการชุมนุม อยู่ภายใต้พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ประชาชนที่ต้องการใช้เสรีภาพการชุมนุมท้ังผู้จัดและผู้เข้าร่วมชุมนุมควรศึกษาทำความเข้าใจทั้งข้อกฎหมายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การชุมนุมสามารถดำเนินไปได้โดยไม่มีอุปสรรค
หลังการเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 - 25 พ.ค. 2562 ที่ผ่านมา ทำให้คนติดตามการเมืองมองว่าสภาจะเต็มไปด้วยความวุ่นวาย  แต่ด้วยความต้องการมองหา ‘ความหวัง’ ในฝุ่นตลบทางการเมือง เราจึงไปพูดคุยกับ ดร.วีระ หวังสัจจะโชค แห่งคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าเรามองเห็นอนาคตทางการเมืองจะเป็นแบบไหน
สรุป 9 ชั่วโมง ประชุมรัฐสภา-พรรคต้าน คสช. (ซ้อม) อภิปรายไม่ไว้วางใจ
ไอลอว์สรุป 9 ชั่วโมง การประชุมร่วมกันของทั้งสองรัฐสภาครั้งแรกเพื่อทำการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 5 มิถุนายน 2562
prolong power
ระหว่างการประชุมรัฐสภา ส.ส. ฝ่ายหนึ่งก็อภิปรายทำนองว่า คณะรัฐประหารอย่าง คสช. ต้องการ สืบทอดอำนาจ ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งก็บอกว่า การสืบทอดอำนาจไม่มีจริง เป็นเพียงวาทกรรมทางการเมือง ลองมาดูรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ว่า ยุคสมัยของ คสช. ได้วางกลไกให้ตัวเองมีอำนาจต่อหลังเลือกตั้งไว้อย่างไรบ้าง
ตลอดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสองวัน มีประเด็นถกเถียงกันอย่างดุเดือดอย่างน้อย 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ส.ส.พลังประชารัฐ ประท้วงห้ามธนาธรกล่าวในที่ประชุม 2) ส.ส. เพื่อไทยและอนาคตใหม่ประท้วงเลื่อน/ไม่เลื่อน ประชุมสภา 3) ส.ส. พลังประชารัฐประท้วง ห้ามผู้ถูกเสนอเป็นรองประธานสภาแสดงวิสัยทัศน์ร 4) ส.ส.เพื่อไทยและอนาคตใหม่ประท้วง กรณีการนับคะแนนบัตรเสียและการถ่ายคลิปวิดีโอ
สรุปผลการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 25-26 พ.ค. 2562 เพื่อลงมติเลือกประธานและรองประธานสภาผลปรากฎว่า 'ชวน หลีกภัย' พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานสภา 'สุชาติ ตันเจริญ' พรรคพลังประชารัฐ เป็นรองประธาน​ คนที่ 1 และ 'ศุภชัย โพธ์สุ' พรรคภูมิใจไทย เป็นรองประธาน​ คนที่ 2