10 กรกฎาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่หลังการเลือกตั้ง ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งเสร็จแล้ว หลังรอคอยกันมาถึง 108 วัน นับจากวันเลือกตั้ง “ครม. ประยุทธ์ 2” มีทั้งหมด 36 คน พบว่าเป็น “คนใกล้ชิด” หรือ บุคคลที่เคยทำงานกับ คสช. อย่างน้อย 11 คน
เกษตรกรถูกพิพากษาให้จำคุกจากกรณีประกาศเขตป่าทับที่เป็นปัญหาเรื้อรังและยิ่งรุนแรงภายใต้นโยบายของ คสช. ด้านชาวบ้านเสนอ "แผนจัดการร่วม" เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าโดยไม่ต้องดำเนินคดี ฝ่ายรัฐยังตัดสินใจล่าช้าทั้งที่มีมติคณะรัฐมนตรีรองรับ คณิต ณ นคร ยังเสนอว่า อัยการอาจสั่งไม่ฟ้องคดีได้แต่ไม่มีใครกล้า นักสิทธิเสนอ ต้องนั่งคุยกันใหม่มีกระบวนการแก้ไขเยียวยา
เครือข่ายภาคประชาสังคมกว่า 60 องค์กรออกแถลงการณ์ให้ยกเลิกนโยบาย และยุติการปฏิบัติการตามแผนการทวงคืนผืนป่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยทันที
7 กรกฎาคม 2562 กลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย นำโดย เยี่ยมยอด ศรีมันตะ ประธานที่ปรึกษา และคณะ แถลงข่าวรณรงค์ล่ารายชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ตามมาตรา 256(1) ของรัฐธรรมนูญ ที่ให้สิทธิประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 รายชื่อ เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้
เกษตรกรหลายครัวเรือนเข้าบุกเบิกพื้นที่ตั้งแต่ช่วงปี 2500-2520 จนกลายเป็นหมู่บ้าน ปี 2535 มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติไทรทองรวมเอาพื้นที่ทำเกษตรและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านเข้าไปด้วย ชาวบ้านเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาระดับนโยบายแต่ยังไม่คืบหน้า ชาวบ้านอย่างน้อย 14 คนถูกดำเนินคดี และถูกจำคุกในข้อหา "บุกรุกป่า"
ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานส่งผลให้ปัจจุบันสังคมไทยเผชิญหน้าความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ มีการคุกคามทำร้ายนักกิจกรรมทางการเมือง มีการใช้ถ้อยคำยั่วยุปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังซึ่งกันและกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ 'จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย' จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ "ทุเลาความรุนแรงและความเกลียดชังในสังคมไทย" เพื่อมองหาแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดเท่าที่จะพอมองหาได้ในขณะนี้
3 กรกฎาคม 2562 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ร่วมกันเปิดตัวหนังสือ “ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน” และพูดคุยถึงการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงเพื่อทวงคืนบ้านเกิด 'หมู่บ้านใจแผ่นดิน' ที่ถูกขับไล่ออกมาหลังประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
มูลนิธิมานุษยะและเครือข่ายจัดเวทีพูดคุยเรื่อง "LGBTQI ในสื่อ : สื่อสารด้วยความเข้าใจและเท่าเทียม” เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจสื่อในการจัดการกับการใช้ภาษาที่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสื่อ
เนื่องในวาระรำลึกถึง 'ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม' ครั้งที่ 9 คณะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ ‘บทเรียนการเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญฉบับปี 60’ เพื่อถอดบทเรียนจากการเลือกตั้งผ่านมุมมองของตัวแทนนักวิชาการสายนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และภาคประชาชน
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้อง 32 คน ไม่รับคำร้อง 9 คน หลัง 'ชวน หลีกภัย' ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยื่น 41 ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลถือหุ้นสื่อ ขัดกับคุณสมบัติการเป็น ส.ส. หรือไม่ ทั้งนี้ 32 คน ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้อง ไม่ได้ถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่