สำนักป.ป.ท. ดำเนินการจัดการรับฟังความคิดเห็นในการยก “ร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมและคุ้มครองประชาชนในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ” ซึ่งเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 63 โดยร่างฉบับวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจดังนี้
การแก้ไขฎหมายปิโตรเลียม เป็นประเด็นเร่งด่วนของคสช.เนื่องต้องเร่งดำเนินการจัดหาเอกชนเข้ามาบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติรอบใหม่ ร่างกฎหมายปิโตรเลียมสองฉบับ เข้าสู่สนช.โดยเป็นกฎหมายที่พิจารณาอย่างยาวนานที่สุดฉบับหนึ่ง มีประเด็นสำคัญ คือ การตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (NOC)
ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. .... ที่ กรธ.ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2560 มีสาระสำคัญบางส่วนที่แตกต่างไปจากกฎหมายเดิมอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็น จำนวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โครงสร้างและรูปแบบการทำงาน รวมไปถึงสถานะของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันหลังกฎหมายประกาศใช้
ร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติฯ จัดทำขึ้นตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญ 2559 เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนต่างๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ 20 ปี และมีการทบทวนทุก 5 ปี ซึ่งหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานจะต้องดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติที่วางเอาไว้ รวมทั้งต้องจัดทำแผนงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้วย
ร่างพ.ร.บ.ปฏิรูปฯ ถูกเสนอขึ้นเพื่อทำตามที่รัฐธรรมนูญใหม่เขียนไว้ แม้จะกำหนดว่าต้องรับฟังความคิดเห็น แต่ก็เขียนกลับกันว่า การรับฟังที่เคยทำมาแล้วให้เอามาใช้ได้ด้วย แถมแผนการปฎิรูปนี้ต้องให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่เต็มไปด้วยทหารพิจารณา และให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้เห็นชอบ สุดท้ายอาจกลายเป็นแผนการปฏิรูปตามใจ คสช.
ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ฉบับกมธ. เตรียมเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. เจตนารมณ์ของผู้ร่างย้ำชัดว่าต้องการให้ประชาชนเป็นเจ้าของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง และให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการบริหารพรรคโดยที่ไม่ถูกครอบงำจากนายทุน ขณะที่เนื้อหาส่วนใหญ่ทำให้พรรคขนาดเล็กเกิดยาก และพรรคใหญ่เสี่ยงถูกลงโทษง่ายขึ้น
สนช.ผ่านร่างแก้ไข พ.ร.บ. กสทช. โดยที่ประชาชนแทบไม่ได้รับรู้ด้วย การแก้ไขครั้งนี้จะลดความเป็นอิสระให้ กสทช. ทำงานภายใต้แผนระดับชาติของกระทรวงดิจิทัล และเปลี่ยนวิธีสรรหากรรมการ กสทช. ให้ศาลกับองค์กรอิสระคัดเลือกทั้งหมด สุดท้ายตัดสินใจโดยวุฒิสภา ที่มาจาก คสช.
สมาชิก สนช. ปี 2557 มีอย่างน้อย 36 คน ที่ไม่ได้เข้าสู่ตำแหน่งนิติบัญญัติโดยการแต่งตั้งเป็นครั้งแรก แต่เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสนช. ปี 2549, ส.ว. ปี 2551 และ ส.ว. ปี 2554 มาก่อนแล้ว บ้างท่านอยู่ในสภาโดยการแต่งตั้งต่อเนื่องมานับทศวรรษ
สมาชิก สนช. จำนวน 89% เคยเป็นข้าราชการ หรือทำงานในหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ สองปีกว่าของการออกกฎหมายมีกฎหมายจำนวนมากให้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมกับราชการ และมีเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนมากเข้าควบคุมกระบวนการการออกกฎหมายตั้งแต่ตั้นจนจบ
ไอลอว์ ค้นหาข้อมูลการแสดงตนเพื่อลงลงมติของสมาชิก สนช. จำนวน 8 คน โดยเลือกรอบระยะเวลา 2 รอบ (180 วัน) ของปี 2559 ว่าลงมติเกินกว่าหนึ่งในสามของแต่ละรอบระยะเวลาหรือไม่ พบว่า มีถึง 7 คน ที่ลงมติไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติในแต่ละรอบ