สาระสำคัญของร่างกฎหมายลูกศาลรัฐธรรมนูญ หลายอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม แต่ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ ที่มาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการให้คำปรึกษาเพื่อยุติข้อโต้แย้งระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ การยื่นฟ้องร้องต่อศาลได้โดยตรง และเพิ่มบทบัญญัติห้ามละเมิดอำนาจศาล ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ
กติกาการเลือกตั้งส.ส.ครั้งนี้ไม่เหมือนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่แตกต่างคือ การมีระบบการคัดเลือกผู้สมัครขั้นต้น หรือ ระบบ Primary Vote กล่าวคือ ก่อนการเลือกตั้งจริงทุกพรรคการเมืองจะต้องจัดการเลือกขั้นต้น เพื่อให้สมาชิกพรรคลงคะแนนเลือกว่า ใครจะเป็นตัวแทนของพรรคที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งประจำเขตต่างๆ ก่อน
พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ คือหนึ่งในสี่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะนำประเทศไปสู่การเลือกตั้ง สาระสำคัญคือ การกำหนดสิ่งที่พรรคการเมืองต้องทำก่อนไปสู่การเลือกตั้ง โดยกฎหมายจะกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการจัดตั้งพรรคการเมือง การหาสมาชิกพรรค การหาเสียงเลือกตั้ง และบทบาทของกกต. กับศาลรัฐธรรมนูญ
จากการพิจารณาเนื้อในร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วพบว่า กฎหมายฉบับนี้เน้นการ 'ลด-แลก-แจก-แถม' สิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับนักลงทุน โดยรวมศูนย์อำนาจตัดสินใจเกือบจะทุกเรื่องไปไว้ที่ 'คณะกรรมการนโยบายฯ' และ 'เลขาธิการฯ' นอกจากนี้ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษสามารถงดเว้นการบังคับใช้กฎหมายได้หลายฉบับ
กฎหมายลูกเรื่องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประกาศใช้แล้ว ให้ศาลเป็นผู้ค้นหาความจริงเอง ขั้นตอนรับฟังพยานหลักฐานยืดหยุ่นได้หมด เพิ่มเงื่อนไขเอาผิดจำเลยหนีคดี พิจารณาลับหลังได้ - ไม่จำกัดอายุความ ยื่นอุทธรณ์ได้อีกหนึ่งชั้น
ก่อนจะไปสู่การเลือกตั้ง สิ่งสำคัญก็คือ การสำรวจดูว่า ใครกันที่จะมาทำเป็นหน้าที่กรรมการ ทั้งนี้ จากการสำรวจ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่า ขนาดของ กกต.ใหญ่ขึ้น เพราะจำนวนกรรมการกกต.ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม นอกจากนี้ กฎหมายยังเพิ่มกลไกใหม่ๆ เข้าไปอีก อย่างเช่น ผู้ตรวจการเลือกตั้ง แถมยังมีอำนาจระงับการเลือกตั้ง รวมถึงเพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งชั่วคราวได้อีก
หลังยุค คสช. มีการแก้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถึงสี่ครั้ง เป็นการแก้ไขโดยประกาศของคณะรัฐประหาร หนึ่งครั้งและเป็นแก้ไขโดยการออกพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม โดย สนช. ที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารอีกสามครั้ง ซึ่งมีข้อสังเกตถึงการแก้กฎหมายฉบับนี้ว่าเป็นการแก้เพื่อจำกัดอำนาจทางการเมืองของบุคคลบางกลุ่มหรือไม่
ร่างพ.ร.บ.สี่ชั่วโคตร เป็นที่ฮือฮาอย่างมากในสังคม เพราะเนื้อหาของกฎหมายจะครอบคลุมญาติของเจ้าหน้าที่รัฐไว้อย่างกว้างขวาง สำหรับร่างกฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายในการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมืองและข้าราชการที่มีญาติพี่น้องมาเกี่ยวข้องในการคอรัปชั่น
รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ รัฐมีหน้าที่จัดทำมาตรการและกลไกเพื่อป้องกันทุจริต รวมทั้งกลไกส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ต่อต้านหรือชี้เบาะแสโดยได้รับความคุ้มครอง แต่จากร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ชี้เบาะแสฯ กลับพบข้อกังวลหลายประการว่า จะให้ผลตรงข้าม ทำให้คนช่วยชี้เบาะแสยากขึ้น
สนช.ผ่านพ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทยฯ และบังคับใช้ 23 ก.พ.2560 ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนและชุมชุนที่มีวิถีชีวิตทั้งทางทะเล และลำน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้คสช.ต้องใช้ม. 44 โดยกำหนดให้ชะลอการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้บางมาตราออกไป