ในรอบสี่ปีของของรัฐบาล คสช. สนช. ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณฯ รวมทั้งสิ้นสามฉบับ ซึ่งเป็นการอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมรวมเป็นเงินจำนวน 399,000,000,000 บาท โดยการพิจารณาทุกครั้งเป็นไปอย่างรวดเร็วภายในวันเดียว
การตั้งพรรคการเมืองตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องใช้ผู้ร่วมจัดตั้งพรรคถึง 500 คน แล้วภายใน 1 ปียังต้องมีสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 5,000 คน รวมถึงต้องตั้งสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคอย่างน้อย 1 สาขา และมีทุนประเดิมการตั้งพรรคอย่างน้อย 1,000,000 บาท โดยผู้ร่วมจัดตั้งพรรคทุกคนต้องร่วมจ่ายคนละอย่างน้อย 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ทว่า การสิ้นสุดของพรรคการเมืองกลับมีเหตุผลและเงื่อนไขจำนวนมากที่จะทำให้ยุบพรรคได้ง่ายๆ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 18 ข้อ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง
ประเด็นที่เป็นปัญหาใน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ส.ฯ คณะกรรมาธิการร่วมสามฝ่ายที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจาก สนช. กรธ. และประธาน กกต. มีมติร่วมกัน ในประเด็นสำคัญ คือห้ามจัดมหรสพ ผู้สมัครพรรคเดียวกันลงหลายเขตใช้คนละเบอร์
ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.ฯ ยังไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเสียที นำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วมสามฝ่ายซึ่งประกอบไปด้วยประธาน กกต., กรธ. 5 คน และสนช. 5 คน และก็เคาะผลลัพธ์กันออกมา กลายเป็นมีสองระบบในบททั่วไปกับในบทเฉพาะกาล
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่มุ่งหวังให้มีกลไกอิสระ เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีผลปรากฏเป็นจริง แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐธรรมนูญใหม่เป็นรัฐธรรมนูญปี 2560 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ต้องตรากฎหมายลูกอย่าง พ.ร.ป.กสม. ขึ้นมา และเปลี่ยนให้องค์กรตรวจสอบเป็นกระบอกเสียงรัฐ
จากหลักการเดิมที่กรธ. เป็นคนเสนอ ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว. กำหนดไว้ว่า ให้ส.ว. มาจากการ 'คัดเลือกกันเอง' ของผู้สมัคร ส.ว. จากโควต้ากลุ่มอาชีพ 20 กลุ่ม แต่ร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของ สนช. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 มีการเปลี่ยนหลักการ โดยลดจำนวนโควต้ากลุ่มอาชีพลงจาก 20 กลุ่ม เหลือเพียง 10 กลุ่ม พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางให้องค์กรนิติบุคคลสามารถเสนอชื่อ ผู้สมัคร ส.ว. ได้
ภายใต้กฎหมาย พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนการชุมนุม อีกทั้งห้ามชุมนุมในบางพื้นที่และมีข้อควรระวังระหว่างการชุมนุม มิเช่นนั้นจะถือว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าหน้าที่สามารถเข้าสลายพร้อมทั้งจับกุมดำเนินคดีได้ทันที ทำให้ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ประชาชนพยายามจะใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาแทรกแซงการชุมนุม รวมถึงถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิถูกเจ้าหน้าที่รวบรัดขั้นตอนจับกุมตั้งข้อหาอีกต่างหาก
พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ศ.2560 แค่เริ่มประกาศใช้ไม่ถึง 3 เดือน ก็มีปัญหา ไล่ตั้งแต่การหาคนมาเป็นคณะกรรมการสรรหา กกต. ที่ไม่สามารถหาผู้มีคุณสมบัติได้ทันตามกรอบเวลา ไปจนถึงสัดส่วนของผู้สมัครเป็น กกต. ที่ค่อนข้างกระจุกอยู่ในกลุ่มข้าราชการและนักกฎหมาย
งานนี้บริษัท Uber ลุยเอง เสนอแก้พ.ร.บ.รถยนต์ สามมาตรา เพิ่มคำว่า "บริการร่วมเดินทาง" เข้าไปให้มีที่ทางในกฎหมาย โดยหวังเสนอกฎหมายตามช่องทางของรัฐธรรมนูญ ขอเชิญชวนประชาชนที่เห็นด้วยเข้าชื่อ 10,000 ชื่อ เพื่อสนับสนุน
ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิอาญา การปล่อยตัวชั่วคราว เข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในวาระแรก ซึ่งสมาชิกสนช.ได้ร่วมกันเสนอ โดยสาระสำคัญคือ ให้ศาลพิจารณาให้ประกันตัวผู้ตัองหา โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องหลักประกัน ทั้งนี้หากหนีประกันก็จะมีโทษอีกเช่นกัน