Multimedia

The Observers Case 03 : ขอนแก่นโมเดล | คดีมหากาพย์ของจำเลย 26 คน ในข้อกล่าวหา “เตรียมก่อการร้าย”

See video
The Observers Case 03 : ขอนแก่นโมเดล | คดีมหากาพย์ของจำเลย 26 คน ในข้อกล่าวหา “เตรียมก่อการร้าย”
 
 
Case 03 "ผู้สังเกตการณ์" ชวนฟังคดี "ขอนแก่นโมเดล" ที่ถือว่าเป็นคดีมหากาพย์ มีจำเลยรวมทั้งหมด 26 คน ส่วนใหญ่ถูกจับไม่กี่วันหลังการเข้ายึดอำนาจของ คสช. จากการประชุมร่วมกันที่โรงแรมแห่งหนึ่ง แล้วถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ต่อมาหลังจากถูกควบคุมตัว พวกเขากลับถูกเชื่อมโยงกับการมีอาวุธ และถูกดำเนินคดีข้อหาหนัก คือ เตรียมก่อการร้าย และยังมีจำเลยบางส่วนที่ถูกดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
 
คดีนี้ดำเนินการมาอย่างยาวนานมาตั้งแต่ปี 2557 มีเรื่องราวลึกลับซับซ้อนเกิดขึ้นมากมาย จนถึงปัจจุบันคดียังไม่จบอยู่ในระหว่างการสืบพยาน และอยู่ในกระบวนการย้ายคดีจากศาลทหารไปสู่ศาลยุติธรรม
 
"คดีขอนแก่นโมเดล" หรือปฏิบัติการ "ขอนแก่นโมเดล" เป็นชื่อที่เจ้าหน้าที่รัฐเรียกคนกลุ่มนี้เนื่องจากเชื่อว่า จำเลยทั้งหมดตระเตรียมการโดยสะสมกำลังพล อาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตามแผนการ เพื่อสร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนและเพื่อก่อการร้าย
 
จำเลยกลุ่มนี้มาจากหลายกลุ่มในจังหวัดแถบภาคอีสาน เช่น นครราชสีมา กาฬสิน มุกดาหาร ขอนแก่น โดยบางคนเป็นกลุ่มเสื้อแดง, กลุ่มกองกำลังอาสาสมัครพิทักษ์ประชาธิปไตยแห่งชาติ (อพปช.), กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), กลุ่มแดงทั้งแผ่นดิน, กลุ่มแกนนำกองทัพปราบกบฏ ซึ่งทุกคนล้วนเป็นมวลชนเสื้อแดง(ผู้ที่ชื่นชอบนโยบาย หรือ นักการเมืองเสื้อแดง) แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นแกนนำ
 
ในวันที่ถูกจับ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 จำเลยกลุ่มนี้เปิดห้องพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นเพื่อประชุม เจ้าหน้าที่จึงคาดว่าจะต้องมีปฏิบัติการไม่ชอบมาพากลบางอย่าง เนื่องจากเคยมีเหตุการณ์เมื่อปี 2553 ที่คนเสื้อแดงถูกปราบปรามจากเวทีราชประสงค์และถอยกลับมาอยู่ในที่ตั้ง จากนั้นได้ลุกฮือไปเผาสถานที่ราชการและสถานที่สำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ของภาคอีสาน อย่าง มุกดาหาร อุบลราชธานี ขอนแก่น และ อุดรธานี จึงเกรงว่า การที่กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ถนนอักษะ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จะทำให้แกนนำกลุ่มนี้กลับมาปฏิบัติการซ้ำรอยปี 2553 อีก
 
จำเลยถูกควบคุมตัวในเรือนจำนานหลายเดือน ก่อนทยอยได้ประกันตัวทีละคนในช่วงปลายปี 2557 จนครบทุกคน จำเลยปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยหลายคนบอกว่า ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่ได้ทำอะไรเป็นขบวนการเดียวกัน คดีนี้พิจารณาที่ศาลทหารขอนแก่น ซึ่งห้องพิจารณาเล็กเกินจะให้จำเลยและทนายความทั้งหมดเข้าไปในห้องได้
 
ฝ่ายโจทก์ขอสืบพยาน 90 ปาก แต่การพิจารณาเป็นไปอย่างเชื่องช้า จนกระทั่ง คสช. หมดอำนาจไปก็ยังสืบพยานได้ไม่กี่ปาก และคดีโอนกลับไปพิจารณาที่ศาลปกติ
 
 
 
สามารถรับฟัง The Observers Case 03 : ขอนแก่นโมเดล | คดีมหากาพย์ของจำเลย 26 คน ในข้อกล่าวหา “เตรียมก่อการร้าย” ผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้ที่: 
 

The Observers Case 02 : ลุงสามารถ | จากใบปลิว Vote No สู่บรรทัดฐานคดีเสรีภาพการแสดงออก

See video
The Observers Case 02 : ลุงสามารถ | จากใบปลิว Vote No สู่บรรทัดฐานคดีเสรีภาพการแสดงออก
 
Case 02 ชวนฟังคดีของลุงสามารถ ที่ถูกจับจากการเหน็บใบปลิวชวน VOTE NO ในการลงเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2560 บนลานจอดรถห้างพันธ์ทิพย์พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่
 
ลุงสามารถ จัดทำใบปลิวข้อความว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ 7 ส.ค. VOTE NO” ในลักษณะเอกสารใบปลิว และนำไปเสียบไว้บริเวณที่ปัดน้ำฝนรถยนต์ที่จอดอยู่ภายในลานจอดรถของห้างพันธ์ทิพย์พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้จับกุมและดำเนินคดีสามารถฐานผิดพ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 วรรคสอง
 
ลุงสามารถถูกควบคุมตัวอยู่ควม 11 วันก่อนได้ประกันตัว ในชั้นศาลผู้ต้องหายอมรับว่าเป็นคนไปแจกใบปลิวจริง แต่ทำไปโดยจิตใจบริสุทธิ์ เชื่อว่าสิ่งที่ทำไม่เป็นความผิด จึงต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากข้อความในใบปลิวไม่อาจโยงถึงร่างรัฐธรรมนูญได้
 
เราจะมาเล่าเรื่องราวชีวิตของลุงสามารถ ที่พบเผชิญชะตากรรม และถูกคุกคามเสรีภาพในยุค คสช.
 
ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติมของลุงสามารถ ได้ที่: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/736
บทสัมภาษณ์ของลุงสามารถ: https://freedom.ilaw.or.th/SamartPrachamati
 
 
สามารถรับฟัง The Observers Case 02 : ลุงสามารถ | จากใบปลิว Vote No สู่บรรทัดฐานคดีเสรีภาพการแสดงออก ผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้ที่: 
 
 
 
 
 

The Observers Case 01 : คดีรินดา | โพสต์ข่าวลือประยุทธ์โอนเงินหมื่นล้าน

See video

The Observers Case 01 : คดีรินดา | โพสต์ข่าวลือประยุทธ์โอนเงินหมื่นล้าน

 

Case 01 ชวนฟังคดีของรินดา ที่ถูกจับจากการโพสต์ข่าวลือ พล.อ.ประยุทธ์ โอนเงินหมื่นล้านบนเฟซบุ๊ก

 
รินดา แม่เลี้ยงเดี่ยว ถูกฟ้องหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของ ‘ประยุทธ์ จันทร์โอชา’
 
ในปีที่สองของหลังรัฐประหาร ปีนั้นบรรยากาศเสรีภาพการแสดงออกสำหรับผู้ที่เป็นขั้วตรงข้ามกับรัฐบาลค่อนข้างเป็นไปอย่างหวาดระแวง มีการจับกุม คุมขัง ปรับทัศนคติ อยู่ตลอด หนึ่งในนั้นคือเธอคนนี้

 

ในวัย 44 ปี รินดา หรือ หลิน ถูกจับกุมที่บ้านพักย่านคลองสาม จังหวัดปทุมธานีของเดือนกรกฎาคม 2558 ก่อนถูกควบคุมตัวไปยังกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เพื่อทำการสอบสวน หลังจากนั้นไม่กี่วันเธอถูกนำตัวมาแถลงข่าวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อนแจ้งข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ มาตรา 14(2) , ยุยงปลุกปั่น มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา กระทั่งญาติยื่นขอประกันตัวโดยใช้เงินสด 100,000 บาท ก่อนจะออกมาสู้คดีทั้งในศาลทหารและศาลพลเรือน
 
เราจะมาเล่าเรื่องราวชีวิตของเธอ ที่พบเผชิญชะตากรรม และถูกคุกคามเสรีภาพในยุค คสช.
 
 
ขอบคุณคลิปเสียงลูกของรินดาจาก ประชาไท
ติดตามความเคลื่อนไหวคดีทั้งหมดในคดีของรินดา ได้ที่: https://freedom.ilaw.or.th/case/682
 
 
สามารถรับฟัง The Observers Case 01 : คดีรินดา | โพสต์ข่าวลือประยุทธ์โอนเงินหมื่นล้าน ได้ที่: 
 
 
 
 

The Observers Case 0.5 : Going to court ใครทำอะไรในศาล?

See video
The Observers Case 0.5 : Going to court ใครทำอะไรในศาล?
 
อุ่นเครื่องก่อนเดินทางไปเปิดห้องพิจารณาคดีพร้อมกับเรา พบกับการแนะนำตัวละครต่างๆในศาล และกระบวนการพิจารณาคดีเบื้องต้นทั้งหมด รวมไปถึงอธิบายคำศัพท์ทางกฎหมายที่ยากๆให้เข้าใจง่าย เพื่อให้เดินเข้าไปที่ศาลพร้อมกับเราแล้วไม่งุนงง
 
 
สามารถรับฟัง The Observers Case 0.5 : Going to court ใครทำอะไรในศาล? ผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้ที่: 
 

The Observers Case 00 : Introduction เปิดห้องพิจารณาคดี

See video

The Observers Case 00 : Introduction เปิดห้องพิจารณาคดี

 
เวลาเราดูข่าวสารเกี่ยวกับคดีการเมืองต่างๆ เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมบางคดีผลการตัดสินออกมาแบบนี้ มีเรื่องราวหรือหลักกฎหมายอะไรอยู่เบื้องหลัง  ชีวิตของผู้ที่ถูกดำเนินคดีเป็นอย่างไร หรือมีอะไรที่พวกเขาได้รับหรือสูญเสียไปจากการถูกดำเนินคดีบ้าง
 
iLaw ชวนทุกคนมาฟังแง่มุมจากที่เราไปสังเกตการณ์การพิจารณาคดีมาตลอด 7 ปี เราจะลองถ่ายทอดเรื่องราวของคดีเกี่ยวกับเสรีภาพการแสดงออก ในมุมมองที่คนทั่วไปอาจจะไม่เคยได้เห็น หรือไม่เคยได้ฟังที่ไหนมาก่อน ทั้งแง่มุมกฎหมาย แง่มุมชีวิต ที่ข่าวส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้รายงานไปจนถึงมุมเล็กๆน้อยๆ แต่เราจะนำมาชวนเล่าชวนคุยแบบฟังง่ายๆ 
 
 
สามารถรับฟัง The Observers Case 00 : Introduction เปิดห้องพิจารณาคดี ผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้ที่: 
 
 
 
 
 
 

ช่วยกันคนละชื่อ ปลดอาวุธคสช. ทำเองจากที่บ้านได้เลย

See video

 

 

วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

 

1. ดาวน์โหลด แบบแสดงรายละเอียดเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือ แบบ ข.ก.๑. (คลิก) และพิมพ์ลงกระดาษ A4

 

2. กรอกข้อมูลในแบบ ข.ก.๑ ให้ครบถ้วน 

(ตรงข้อ ๕ ของแบบ ข.ก.๑ ที่มี พ.ศ. .... อยู่ท้ายชื่อกฎหมายไม่ต้องกรอกข้อความใดๆ)
 

ตัวอย่างการกรอกแบบ ข.ก.๑

 

3. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือ สำเนาบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ พร้อมเซ็นสำเนาให้ถูกต้อง และขีดคร่อมว่า
 
    “ใช้เพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมายยกเลิกประกาศ คำสั่ง คสช. เท่านั้น”
ตัวอย่างการเซ็นสำเนาบัตรประชาชน
 
 
4. ตรวจสอบลายเซ็นต์ลงชื่อบน "แบบ ข.ก.๑" และ "สำเนาบัตรประชาชน" ให้เหมือนกัน
 
5. ส่งเอกสารทั้งหมดมายัง ตู้ปณ.79 ปณศ.สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
 
....
 
สอบถามเพิ่มเติม 
 
Tel: 02-002-7878
Line: @ilawclub
 

6 ตุลาในความทรงจำของคนรุ่นใหม่

See video
 
6 ตุลา ในความทรงจำคนรุ่นใหม่
 
"แล้วก็ให้แล้วกันไป ลืมมันเสียเถิดนะ" เป็นคำกล่าวของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวหลังจากการนิรโทษกรรมนักโทษที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา อันเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย รัฐขอให้ประชาชน “ลืม” โดยเพิกเฉยต่อกระบวนการยุติธรรมและความจริงที่รัฐกระทำความรุนแรงต่อประชาชน ห้วงเวลาที่ผ่านมา สังคมไทยรับรู้เรื่องราวของ 6 ตุลา อย่างจำกัดจำเขี่ย จึงน่าสนใจว่า 6 ตุลา มีที่ทางในความทรงจำของคนรุ่นใหม่อย่างไร 
 
ไอลอว์ขอชวนทุกคนร่วมฟังเสียงของพวกเขาในวิดีโอ “6 ตุลา ในความทรงจำของคนรุ่นใหม่” เพื่อรำลึกวันครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลา

ฟ้องแหลกฟ้องทั่วไทย-เมื่อชาวบ้านวังสะพุงตกเป็นจำเลยเพราะต้านเหมือง

See video

 

ความขัดแย้งระหว่างบริษัททุ่งคำ ที่ได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำ ในพื้นที่อ.วังสะพุง จ.เลย กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมือง มีมายาวนานกว่า 10 ปีแล้ว ชาวบ้านซึ่งรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง รวมตัวกันเคลื่อนไหวคัดค้านการทำเหมืองอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันบริษัททุ่งคำ ก็ยืนยันว่าเหมืองไม่ได้ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย และยื่นฟ้องคดีชาวบ้านหลายสิบคดี ทั้งคดีบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และหมิ่นประมาท

เทคนิค ที่บริษัททุ่งคำใช้ฟ้องคดีหมิ่นประมาท คือ การอาศัยช่องว่างของกฎหมายที่ตีความได้ว่า เมื่อพบเห็นข้อความที่ใด ก็ถือว่าความผิดเกิดขึ้นและสำเร็จที่นั่น สามารถดำเนินคดีที่นั่นได้ ในปี 2557 สุรพันธ์ [1] และพรทิพย์ [2]

ชาวบ้านสองคนถูกฟ้องหมิ่นประมาทที่จังหวัดภูเก็ตจากการให้สัมภาษณ์นักข่าว ในปี 2558 สุรพันธ์ถูกฟ้องอีกครั้ง ที่อ.แม่สอด จังหวัดตาก [3] จากข้อความบนเฟซบุ๊กที่คนอื่นเป็นคนโพสต์ ซึ่งชาวบ้านต้องเดินทางไกลเพื่อไปต่อสู้คดี แต่สุดท้ายคดีจบโดยบริษัทถอนฟ้อง

นอกจากนี้ ปลายปี 2558 บริษัททุ่งคำยังดำเนินคดีหมิ่นประมาท ต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ "น้องพลอย" นักข่าวเยาวชนวัย 16 ปี อีก จากการรายงานข่าวเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง เหมือนเดิม โดยคดีนี้เลือกดำเนินคดีที่กรุงเทพ [4]

ปรากฏการณ์การดำเนินคดีหมิ่นประมาทระหว่างบริษัททุ่งคำ กับชาวบ้าน อย่างน้อย 4 คดี จากการใช้เสรีภาพการแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิของชุมชนและสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นถึงการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ สร้างภาระให้กับประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อพยายามบอกกล่าวเล่าเรื่องราวของตัวเอง

วีดีโอนี้ เป็นผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ "อาสาสมัครเยาวชนผลิตสื่อวิดีโอ ส่งเสริมเสรีภาพออนไลน์" โดยประชาไท ทำงานร่วมกับ ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โดย ไอลอว์ วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นสิทธิเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต และสื่อสารเรื่องเสรีภาพการแสดงออกในสังคมไทย

 
 

จะจัดงานเสวนา #ขออนุญาตหรือยัง คะ?

See video
หลังมีข่าวการปิดกั้นกิจกรรม-งานเสวนาอยู่­บ่อยครั้ง ไอลอว์จึงได้พูดคุยกับผู้จัดกิจกรรม 3 ราย ที่ถูกทหารเข้ามาแทรกแซงการจัดงาน คือ อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ นักแสดงละครเวที เรื่อง 'บางละเมิด' เนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล ผู้จัดงานเสวนาหลายเรื่องที่ห้องสมุดสันติ­ประชาธรรม และ ปกรณ์ อารีกุล Co-producer งานทอล์คโชว์ 'ผืนดินเรา ที่ดินใคร' มาดูกันว่า พวกเขาเหล่านี้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารแทรกแซงไ­ด้อย่างไร และพวกเขารับมือกับปัญหานี้อย่างไร
 
ปล. หากพบการแทรกแซงการจัดกิจกรรมสาธารณะหรือง­านเสวนาที่ไหน กรุณาเขียนโพสต์มาที่เพจเฟซบุ๊ก iLaw (https://www.facebook.com/iLawClub) พร้อมติดแฮชแทคว่า #ขออนุญาตหรือยัง คะ/ครับ? แล้วเราจะบันทึกข้อมูลไว้
 
 
 

คลิปวิดีโอชนะเลิศจากโครงการ "การศึกษาไทยเอาไงดีวะ?!"

See video

24 มกราคม 2558 ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ จัดงานฉายคลิปวีดีโอที่ร่วมเข้าประกวดไอเดียปฏิรูปการศึกษาในหัวข้อ “การศึกษาไทย เอาไงดีวะ?!” และประกาศผลรางวัลต่างๆ ซึ่งรางวัลชนะเลิศตกเป็นของคลิปวีดีโอเรื่อง “การศึกษาไทยเอาไงดีวะ” จากทีม “ปี2 แม่ฟ้าหลวง” ประเภท บุคคลทั่วไป

โดย จรรยาวรรธน์ ดลประสิทธิ์ หรือป๊อบ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ กล่าวว่า เนื้อหาที่นำเสนอมาจากประสบการณ์จริงและการสัมภาษณ์รุ่นพี่ที่จบไปแล้ว การทำคลิปนี้อยากสนับสนุนให้ทุกคนได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ซึ่งจะทำให้เรามีความสุขกับสิ่งที่เราเป็น การนำเสนอคลิปนี้ใช้วิธีการสื่อโดยไม่ต้องพูด ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติก็สามารถดูคลิปนี้แล้วเข้าใจได้