Multimedia

#แก้รัฐธรรมนูญ ม. 272 ตัดอำนาจส.ว.ชุดพิเศษ ในการเลือกนายกฯ

See video

6-7 กันยายน 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนัดพิจารณาร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ จากภาคประชาชน เพื่อยกเลิก มาตรา 272 ที่กำหนดให้อำนาจส.ว. ชุดพิเศษ 250 คนที่มาจากการแต่งตั้งโดยคสช. 

พอร์ท ไฟเย็น : จังหวะชีวิตที่เปลี่ยนแปลงในฤดูร้อน

See video
ปริญญา ชีวินกุลปฐม หรือ ‘พอร์ท’  นักร้อง นักดนตรี สมาชิกวง ‘ไฟเย็น’ เป็นหนึ่งจำเลยคดีมาตรา 112 ที่ถูกดำเนินคดีหลังการชุมนุมของราษฎร 2563 
 
เรื่องราวชีวิตช่วงสำคัญของพอร์ทผกผันและหักเหไปในฤดูร้อนที่ผ่านมาเข้ามาถึงสามครั้ง ฤดูร้อนแรก คือ  ชีวิตวัยรุ่นที่หลงใหลอัลบั้ม “ซัมเมอร์” ของพาราด็อกซ์ และฤดูร้อนนี้ส่งอิทธิพลในการทำงานเพลงของเขาอย่างมาก ฤดูร้อนครั้งถัดมา คือ เหตุนองเลือดในเดือนเมษายน 2553 ที่ความโกรธเกรี้ยวผลักให้เขาเริ่มเขียนเพลงการเมือง 
.
ระหว่างทางผ่านสู่ฤดูร้อนที่สาม “ระหกระเหิน” น่าจะเป็นคำแทนชีวิตของพอร์ทได้ดี เมื่อเขาต้องหนีภัยการเมืองข้ามแดนตามเพื่อนสมาชิกวงไฟเย็นไปที่ลาว ท่ามกลางสถานการณ์การอุ้มหายคนแล้วคนเล่า และคำขู่เอาชีวิต จนท้ายสุดต้องกลับมารักษาอาการป่วยจากโรคตับอ่อนอักเสบ แต่เมื่อผ่านมาได้จนถึงฤดูร้อนที่สามเขากลายเป็นจำเลยคดีมาตรา 112 และต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำนานกว่าสองเดือน
 
อีกทั้งในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดีมาตรา  112 ของเขา ซึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายเป็นความผิดบนเฟซบุ๊กรวมสามข้อความ ระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม 2559 
 
อ่านฐานข้อมูลคดี : http://freedom.ilaw.or.th/th/case/952
 
เรื่องราวชีวิตของพอร์ทผ่านสามฤดูร้อน : https://freedom.ilaw.or.th/node/1066
 

ประเทศไทยมีใครถูกสปายแวร์เพกาซัส “เจาะ” โทรศัพท์บ้าง??

See video

ประเทศไทยมีใครถูกสปายแวร์เพกาซัส “เจาะ” โทรศัพท์บ้าง 

ทำความรู้จัก #เพกาซัส อาวุธสอดแนมผู้เห็นต่าง สปายแวร์ที่ทั่วโลกหวาดกลัว

See video
#เพกาซัส คืออะไร? น่ากลัวยังไง?
 
ทำความรู้จัก #เพกาซัส อาวุธสอดแนมผู้เห็นต่าง สปายแวร์ที่ทั่วโลกหวาดกลัว 
 
 

90 ปี อภิวัฒน์สยาม : ยิ่งลบ ยิ่งจำ

See video
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2489 หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ หรือที่เรียกกันว่า "หมุดคณะราษฎร" ถูกฝังที่ในบริเวณข้างลานพระบรมรูปทรงม้า หรือบริเวณที่พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 
 
แม้การอภิวัฒสยามจะผ่านไป 90 ปี แล้ว แต่ปัจจุบันความพยายามที่จะลบความทรงจำของคณะราษฎรออกไปจากสังคมไทย ยังคงอยู่

ระบบเครือญาติส.ว.ชุดพิเศษ

See video
ต้นทุนของการมีวุฒิสภาแต่งตั้งไม่ได้มีเพียงการต้องจ่ายค่าตอบแทนหลักแสนต่อเดือนให้กับสมาชิกทั้ง 250 คนเท่านั้น แต่งบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายของ “คณะทำงาน” ของ ส.ว. แต่ละคนด้วย เมื่อได้รับการแต่งตั้งเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ส.ว. แต่ละคนจะมีสิทธิในการแต่งตั้งคณะทำงานของตัวเองเข้ามาช่วยงานได้สูงสุดแปดคน โดยแต่ละคนก็จะได้รับค่าตอบแทนรายเดือนหลักหมื่นบาท ยังไม่นับรวมสวัสดิการอื่น ๆ อีกมากมาย
 
จากข้อมูลคณะทำงาน ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 พบว่า ส.ว. มีการแต่งตั้งเครือญาติของตัวเองเข้ามาเป็นคณะทำงานมากกว่าครึ่งร้อย ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตั้งทางตรง คือแต่งตั้งให้ญาติเข้ามาเป็นคณะทำงานของตัวเอง หรือการนำญาติของตัวเองไป “ฝากเลี้ยง” กับ ส.ว. คนอื่น รวมถึงยังพบคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจอีกกว่าครึ่งพัน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ คสช. และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลอีกหลากหลายคน เรียกได้ว่าการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมารับค่าตอบแทนรายเดือนยังคงทำเป็น “อุตสาหกรรม” ขนาดใหญ่ไม่ต่างจากในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงแต่ซ่อนรูปอยู่ใน ส.ว.แต่งตั้ง ที่เครือญาติคนรู้จักยังได้ประโยชน์อย่างมหาศาลอยู่เช่นเดิม

"สมรสเท่าเทียม" สิทธิที่ทุกคนควรได้รับ

See video
8 มิถุนายน 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีนัดพิจารณาลงมติร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ร่างพ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ซึ่งเสนอโดยส.ส.พรรคก้าวไกล
 
ร่างพ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ถูกเสนอขึ้นเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกำหนดให้การสมรสทำได้แค่เฉพาะ “ชาย-หญิง” ตามเพศที่ระบุในทะเบียนราษฎรเท่านั้น โดยแก้ไขเพื่อปลดล็อกข้อจำกัดเรื่องเพศในการสมรส ไม่ว่าจะเป็น “บุคคล” เพศใด ก็สามารถจดทะเบียนสมรสได้ ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และมีสถานะเป็น “คู่สมรส” ตามกฎหมาย
 
นอกจาก ร่างพ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ฉบับที่เสนอโดยพรรคก้าวไกลแล้ว ยังมีร่างพ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม อีกหนึ่งฉบับ ที่ภาคประชาชนกำลังรวบรวมรายชื่อ ใช้สิทธิในการเสนอกฎหมาย เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแก้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อไป ขณะนี้ ร่างพ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ภาคประชาชน กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการรวบรวมรายชื่อประชาชน ซึ่งตอนนี้มีผู้ร่วมลงชื่อเสนอร่างพ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ภาคประชาชน ทะลุ 320,000 รายชื่อแล้ว สามารถร่วมลงชื่อเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับภาคประชาชน ให้เข้าสู่สภาได้ที่ https://www.support1448.org/  
 
อย่างไรก็ดี วันนี้ (7 มิถุนายน 2565) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็เพิ่งจะเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต เพื่อเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรต่อไป โดยร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต เป็นร่าง “กฎหมายแยก” ออกมาอีกหนึ่งฉบับ กำหนดเรื่องการจดทะเบียน “คู่ชีวิต” สำหรับผู้ที่มีเพศกำเนิดเพศเดียวกันโดยเฉพาะ ทั้งนี้ คู่ชีวิตมีสิทธิบางประการเหมือนกับคู่สมรสชาย-หญิง เช่น สิทธิการรับบุตรบุญธรรม การรับมรดก แต่สถานะทางกฎหมายจะเป็น “คู่ชีวิต” ซึ่งส่งผลให้คู่ชีวิตอาจไม่ได้รับสิทธิบางประการเทียบเท่าคู่สมรส ต้องรอให้รัฐแก้ไขกฎหมายรับรองสิทธิอื่นต่อไป เช่น สิทธิในการรับสวัสดิการของเจ้าหน้าที่รัฐ
 
8 มิถุนายน 2565 นี้ จึงเป็นนัดชี้ชะตาของร่างกฎหมายที่กำหนดสิทธิก่อตั้งครอบครัวสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ว่าท้ายที่สุด เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง จะเห็นด้วยกับการแก้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้มี #สมรสเท่าเทียม หรือจะคว่ำข้อเสนอดังกล่าว แล้วหันเหไปรับหลักการร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่เสนอโดยครม.
 
 

Reaction นโยบายผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ

See video
นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา กรุงเทพมหานคร กลายเป็นหนึ่งในที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะอย่างต่อเนื่อง และหลายครั้งเจ้าหน้าที่รัฐมีการใช้กำลังหรือความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ดังนั้น การทำหน้าที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนจึงเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  
 
ในวาระที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ใกล้เข้ามาทุกขณะ iLaw จึงชวน "รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล" จากกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม มานั่งดูนโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ว่าจะมีวิธีการจัดการและดูแลการชุมนุมสาธารณะอย่างไร
 
หมายเหตุ: เนื้อหานโยบายผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มาจากเวที"กรุงเทพ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" เวทีเปิดแนวคิดผู้สมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ที่ร่วมจัดโดย ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ สโมสรนิสิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตรีคอเดอร์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิอิสรชน กลุ่มเส้นด้าย และ Mob Data Thailand สำนักข่าว The Reporters ข่าว 3 มิติ และ AIS PLAY

เมื่อตะวันส่องฟ้า

See video
ทำความรู้จักทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ “ตะวัน” ถูกแจ้งข้อหาคดีมาตรา 112  สองคดีจากการ “ยืนไลฟ์สดเฝ้ารับขบวนเสด็จ” และการติดสติ๊กเกอร์ทำโพล “คุณคิดว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่”
 
นอกจากนั้นยังมีคดี มาตรา 116 “ยุยงปลุกปั่น”,  ข้อหาต่อสู้ขัดขืนเจ้าพนักงาน, ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

หยุดอ้างโควิด ปิดปากประชาชน EP.02

See video
ฟังเสียงส่วนหนึ่งของผู้ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืน #พรกฉุกเฉิน จาก 1,445 คน เล่าประสบการณ์ ทำอะไรบ้างถึงถูกดำเนินคดี
พวกเขาได้สร้างความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค สร้างความเสียหายต่อระบบสาธารณสุข หรือพวกเขาเพียงแค่ยืนข้างทางการเมืองที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจ