(แก้ไขล่าสุด เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556)
ปัจจุบันมีข้อเสนอ ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา 4 ร่าง โดยเป็นข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 ร่างซึ่งเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภาไปแล้ว และข้อเสนอโดยภาคประชาชน 2 ร่าง ซึ่งยังไม่ได้ถูกบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมอย่างเป็นทางการ อยู่ระหว่างรอดูว่าจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหยิบยกขึ้นมาเสนอเข้าวาระการประชุมหรือไม่
ขณะที่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ 5 ฉบับ ที่ถูกเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภาไปก่อนหน้านี้แล้ว ก็มีเนื้อหาใจความหลักๆ เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเช่นเดียวกัน
รวมข้อเสนอทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรม มีดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคมาตุภูมิ และส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ หลายพรรค รวม 35 คน
2. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 74 คน
3. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 21 คน
4. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย นายสามารถ แก้วมีชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 50 คน
5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย นายเฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย (ยังไม่ได้บรรจุเข้าในวาระการประชุมของสภา)
6. ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ... เสนอโดย นายวรชัย เหมะ สมาชิสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 40 คน
7. ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ... เสนอโดย นายนิยม วรปัญญ สมาชิสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 23 คน
8. ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง เสนอโดย คณะนิติราษฎร์ (ไม่ได้เสนอเข้ารัฐสภา)
9. ร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำานาจรัฐโดยคณะปฏิรปปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พ.ศ. ... เสนอโดย กลุ่มญาติผู้เสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง เมษา – พฤษภา 53(ยังไม่ได้บรรจุเข้าในวาระการประชุมของสภา)
เดือนสิงหาคม 2556 รัฐสภาจะเปิดสมัยประชุมขึ้นอีกครั้ง คาดหมายได้ว่าประเด็นของกฎหมายที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมจะต้องถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอีก ท่ามกลางฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจำนวนมาก และท่ามกลางนักโทษการเมืองจำนวนมากที่ยังถูกคุมขังและดำเนินคดี
ตารางด้านล่าง แสดงให้เห็นว่าตามข้อเสนอต่างๆ ในปัจจุบัน ใคร และฝ่ายไหน จะได้รับการนิรโทษกรรมบ้าง
A ขึ้นอยู่กับศาลจะตีความว่า ความผิดตามมาตรา 112 เป็นการแสดงออกทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่องการชุมนุมและความขัดแย้งทางการเมืองหรือไม่
B ขึ้นอยู่กับศาลจะตีความว่าการเผาตึกเอกชนเป็น "การแสดงออก" อัน "อาจ" กระทบต่อชีวิต ร่างการ อนามัย ทรัพย์สิน อันสืบเนื่องจากการชุมนุมหรือไม่
C นิรโทษกรรมให้ความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และกรณีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ความผิดอื่นจะได้รับนิรโทษกรรมต่อเมื่อมีความเกี่ยวเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง เท่าที่ไม่ขัดพันธกรณีระหว่างประเทศ
*หมายเหตุ* ข้อมูลตามตารางมาจากการตีความร่างตามลายลักษณ์อักษร โดยไอลอว์ ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความตั้งใจของผู้เสนอร่างก็ได้
*หมายเหตุ2* กราฟิกนี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 เพื่อปรับเนื้อหาให้สอดคล้องตามการปรับแก้ของร่างฉบับญาติฯ