การควบคุมการชุมนุม

กฎหมายการชุมนุม ประชาชนควรมีส่วนร่วม

เมื่อ 20 ก.ย. 2553
ออกแบบ
5

การควบคุมการชุมนุม


 

ผู้มีอำนาจหน้าที่ (มาตรา 22) คือ
1.หัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ
2.ผู้ชึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสถานีตำรวจ
 
อำนาจหน้าที่ในการควบคุม
1.ประกาศให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมในกำหนดระยะเวลาเนื่องจากการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้ชุมนุมไม่เลิกการชุมนุมตามเวลาที่ได้แจ้งไว้
2.ประกาศให้ผู้ชุมนุมแก้ไขกรณีผู้จัดการหรือผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3.ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกการชุมนุมสาธารณะกรณีผู้ชุมนุมไม่ทำตามประกาศ และระหว่างรอคำสั่งสามารถกระทำการที่จำเป็นตามแผนหรือแนวทางการควบคุมสาธารณะที่ครม.ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของตำรวจ
4.ประกาศพื้นที่ควบคุมประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เลิกการชุมนุม(มาตรา 26 )
 
ผู้รับผิดชอบควบคุมสถานการณ์ ได้แก่
  • ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (กรณีในกรุงเทพมหานคร)
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด(กรณีไม่ใช่กรุงเทพมหานคร)
  • หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมาย
 
อำนาจในการดำเนินการให้มีการเลิกการชุมนุม (มาตรา 27)
1.อำนาจค้นและจับผู้ซึ่งยังอยู่ในพื้นที่ควบคุม
2.ยึดทรัพย์สินที่ที่ให้หรือมีไว้ใช้ในการชุมนุมสาธารณะ
3.กระทำการที่จำเป็นตามแผนหรือแนวทางการควบคุมสาธารณะที่ครม.ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของตำรวจ
4.หากพ้นระยะเวลาประกาศให้ผู้ชุมนุมออกนอกพื้นที่แล้วยังไม่ออก ให้ถือว่าผู้ชุมนุมนั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานสามารถจับ ควบคุมตัวได้ทันที
 
กรณีผู้ชุมนุมกระทำการจนเกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง (มาตรา 28)
1.ผู้ชุมกระทำการใดที่มีลักษณะรุนแรงและอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือทรัพย์สินของผู้อื่น
2.จนเกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เจ้าพนักงาน มีอำนาจสั่งให้ยุติการกระทำ หากผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงาน ผู้ควบคุมสถานการณ์ และผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจตามมาตรา 26 และมาตรา 27 โดยอนุโลม (กล่าวคือสามารถกระทำการประกาศพื้นที่ควบคุมโดยไม่ต้องร้องขอต่อศาล)
ข้อ 6 บทกำหนดโทษ
 
: โทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว
 

ข้อสังเกต ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฉบับนี้ ไม่ได้กำหนดรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติ และขอบเขตอำนาจ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ซึ่งควรจะต้องกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวกันหรือไม่ และมาตรฐานนั้นควรจะต้องเป็นอย่างไร