ความเคลื่อนไหวรอบสัปดาห์สุดท้าย ของเดือนตุลาคม

ความเคลื่อนไหวรอบสัปดาห์สุดท้าย ของเดือนตุลาคม

เมื่อ 30 ต.ค. 2553

 ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจรอบสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม 2553

 
สภาฯพิจารณาร่างพ...ยกเลิกที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
ร่างพระราชบัญญัติการยกเลิกการสงวนหวงห้ามที่ดินที่ไม่ได้ใช้ ประโยชน์ของทางราชการ พ.ศ. …. เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาแล้ว โดยส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลอภิปรายสนับสนุนหลักการของกฎหมายนี้
สาระสำคัญของการเสนอร่างการยกเลิกการสงวนหวงห้ามที่ดินที่ไม่ได้ใช้ ประโยชน์ของทางราชการฯ คือ เมื่อได้ประกาศกำหนดเขตสงวน หวงห้ามไว้แล้วแต่ทางราชการมิได้ทำประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ในการประกาศสงวน หวงห้ามไว้จนมีราษฎรเข้าครอบครองใช้สอยในที่ดินนั้นเป็นเวลานานจนกลายเป็น ชุมนุมหรือเป็นที่อยู่อาศัยที่ทำกิน ผู้ครอบครองที่ดินสามารถยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการสงวนหวงห้ามได้ ทั้งนี้ เืพื่อการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม (อ่านร่างกฎหมายได้ตามไฟล์แนบ)
 
 
"ถาวร" ดัน พ.ร.บ.ศูนย์บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชง ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เบตงนำร่อง
นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กล่าวว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ศูนย์บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ....  ได้ผ่านขั้นตอนของวุฒิสมาชิกในวาระ 3 แล้ว ซึ่ง ในวันจันทร์ที่ 25 ต.ค. ตนจะลงไปประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ร่าง  พ.ร.บ.ดังกล่าว เชื่อว่าหลัง พ.ร.บ.บังคับใช้แล้ว ก็จะไม่มีความขัดแย้งระหว่างฝ่ายปกครองกับฝ่ายกองทัพ และหวังว่าจะทำให้สถานการณ์ใน  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น
รมช.มหาดไทยกล่าวด้วยว่า จะมีการเตรียมยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในบางพื้นที่ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีการยกเลิกไปแล้วเป็นบางส่วน เนื่องจากไม่มีเหตุรุนแรง เพิ่มขึ้น และเจ้าหน้าที่สามารถรักษาความมั่นคงภายใต้กฎหมายปกติโดยวางไว้จะยกเลิก 1 อำเภอต่อ 1 จังหวัด โดยนำร่องที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ที่มาข่าว ไทยโพสต์
 
 
วุฒิสภาฝรั่งเศส ใช้กิโยติน ผ่านร่างกฎหมายยืดอายุเกษียณ
 

ท่ามกลางการนัดหยุดงานและเดินขบวนประท้วงอย่างหนักในฝรั่งเศส จากการที่รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายยืดอายุผู้เกษียณจาก 60 ปี เป็น 62 ปี เพื่อแก้ปัญหางบประมาณขาดดุลของรัฐบาลและเพื่อป้องกันระบบเงินบำนาญของประเทศซึ่งกำลังมีภาระหนี้สินให้รอดพ้นจากสภาวะล่มสลาย

 

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ใช้มาตรการในการพิจารณาร่างกฎหมายแบบพิเศษซึ่งเรียกว่า "กิโยติน" เพื่อย่นระยะเวลาการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าวให้สั้นลง ขณะที่วุฒิสภาได้ลงมติรับร่างกฎหมายดังกล่าวแล้วด้วยคะแนน 177 ต่อ 153 เสียง

ที่มาข่าว มติชน  

 

 
"นเรศวรโพล"เผย นร.ส่วนใหญ่รับได้ "เพื่อนท้อง"มาเรียนด้วย
นายปริญญา ปานทอง รองอธิการบดีฝ่ายจัดการทรัพย์สิน เปิดเผยผลสำรวจ นเรศวรโพล ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งชี้ว่า ร้อยละ 78.2 สามารถยอมรับได้หากเพื่อนที่ตั้งครรภ์มาเรียนด้วย โดยร้อยละ 51.6  เห็นว่าเป็นการให้โอกาสแก่ผู้ผิดพลาด  ส่วนนักเรียนร้อยละ 21.8 ยอมรับไม่ได้ โดยร้อยละ 36.0  เห็นว่าเป็นการทำของตนเองและไม่ชอบที่จะนั่งร่วมชั้นเรียนด้วย  ส่วน ความคิดเห็นต่อการให้นักเรียนหญิงตั้งครรภ์มาเรียนตามปกตินั้น  ร้อยละ 92.4 คิดว่าเป็นการให้โอกาสแก่นักเรียนหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 59.1 คิดว่าเป็นผลดีต่อเพื่อนนักเรียนมากกว่าผลเสีย ส่วนร้อยละ 44.7 คิดว่าจะมีนักเรียนตั้งครรภ์มากขึ้น  เพราะนักเรียนจะมีเพศสัมพันธ์กันมากขึ้น 
ที่มา มติชน 
 
 

สัญญาณเน็ตพม่าล่มทั่วประเทศ ประเมินเหตุใกล้วันเลือกตั้ง
สมาพันธ์สื่อในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากสำนักข่าว Mizzima ว่า ผู้ใช้บริการของเครือข่ายสัญญาณ Bagan Net ของเมียนม่าเทเลพอร์ท พบว่าการทำงานของอินเทอร์เน็ตแย่ลงมากมากว่า 3 วันแล้ว

ด้านผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเล่าว่า พวกเขาไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ ร้านอินเทอร์เน็ตบางแห่งปิดให้บริการ ขณะที่การเลือกตั้งของพม่าจะมีขึ้นในวันที่ 7 พ.ย. นี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและผู้สังเกตการณ์ให้ความเห็นว่ารัฐบาลพม่ากำลังปิดกั้น บริการเนื่องจากการเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามานี้เอง

ที่มา ประชาไท 

 
 
เครือข่ายสตรีเสนอ ให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้หญิงทุกหมู่บ้าน
ในงานครบรอบ 20 ปี สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา นางรัตนา บุญรัตน์ ป็นตัวแทนยื่นข้อเสนอ 3 ข้อ ที่ได้จากการเสวนา ต่อ นพ.ประเวศ ประกอบด้วย 1. ให้กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกคณะมีสัดส่วนหญิงชายเท่ากัน ให้กำหนดมาตรการกำหนดสัดส่วนในการส่งเสริมหญิงชายในคณะกรรมการกิจการของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกคณะ และให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์มีสัดส่วน 2 ต่อ 2 โครงสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยกำนัน เป็นผู้หญิงใน 76,000 หมู่บ้าน
ที่มาข่าว สำนักข่าวไทย