แดงรุดหน้า ล่าหมื่นชื่อยกเลิกม.112

แดงรุดหน้า ล่าหมื่นชื่อยกเลิกม.112

เมื่อ 20 พ.ค. 2554
ไฟล์แนบขนาดไฟล์
แบบฟอร์มขก.1 ยกเลิกม.112.pdf37.13 KB
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา.pdf69.75 KB

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 เนื่องในวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 92 ศพ กลุ่มคนเสื้อแดงจึงจัดงานรำลึกถึงผู้เสียชีวิตบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ขณะที่เครือข่ายประชาธิปไตยก็จัดกิจกรรมบริเวณลานลานพระบรมรูป ร.6 สวนลุมพินี และในกิจกรรมมีการตั้งโต๊ะให้ประชาชนมาลงชื่อเพื่อยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย

เครือข่ายประชาธิปไตย หรือ คปต. เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักกิจกรรมกว่า 30 กลุ่ม อาทิเช่น กลุ่ม 24 มิถุนา, สนนท., แดงสยาม, สมัชชาสังคมก้าวหน้า, องค์กรครู, นักวิชาการ, เสื้อแดงภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ ฯลฯ ซึ่งมีเลขธิการคือ สมยศ พฤกษาเกษมสุข แต่หลังจากสมยศถูกจับเข้าเรือนจำด้วยข้อหามาตรา 112 ทางกลุ่มก็ดำเินินกิจกรรมเรื่องการล่ารายชื่อกันต่อมา

การล่ารายชื่อครั้งนี้ เป็นการล่ารายชื่อประชาชนให้ครบ 10,000 ชื่อเพื่อเสนอกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณา ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา163 ซึ่งกฎหมายที่จะเสนอนั้น เป็นการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มีเพียงสามมาตรา สาระสำคัญหลักๆ มีเพียงประการเดียวคือให้ยกเลิกมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาเดิม (ดูร่างกฎหมายได้ตามไฟล์แนบ)

 


เยี่ยมยอด ศรีมันตะ กรรมการเครือข่ายประชาธิปไตย กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นมติของเครือข่ายประชาธิปไตยทำมาต่อเนื่องจากคุณสมยศ ทำมาได้ประมาณหนึ่งเดือนแล้ว กิจกรรมนี้เกิดจากคนเสื้อแดงที่มีจุดยืนเดียวกันไม่เอามาตรา 112 ต้องการเรียกร้องสิทธิให้กับนักโทษการเมือง

เยี่ยมยอด กล่าวต่อว่า การล่ารายชื่อนี้เริ่มมาได้สักพักแล้ว ไปหลายจุด หลายภาค ตัวแทนแต่ละกลุ่มในเครือข่ายก็ไปรวบรวมมา ใครไปทำกิจกรรมที่ไหนก็จะเอาเรื่องนี้ไปด้วย เอาแบบฟอร์มไปด้วย เข้าใจว่าตอนนี้น่าจะได้ครบหนึ่งหมื่นชื่อแล้ว พร้อมหลักฐานคือสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านครบถูกต้องตามหลักการ

เยี่ยมยอด กล่าวอีกว่า กิจกรรมนี้ถือเป็นยุทธิวิธีในการเคลื่อนไหว สุดท้ายเมื่อยื่นเข้าสภาแล้วจะยกเลิกได้หรือไม่ได้ ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก เราคาดหวังการให้สังคมตระหนักรับรู้และได้มีส่วนร่วมมากกว่า เพราะเมื่อก่อนเรื่องนี้ไม่มีใครกล้าพูดถึง อย่าว่าแต่ลงชื่อเลย เราจะทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ รัฐบาลข้างหน้าไม่แก้ไม่เป็นไร แต่ที่สังคมต้องรับทราบคือมีคนมาร่วมมากขึ้นๆ และต่อไปจะต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแน่นอน    

สำหรับเรื่องงบประมาณในการดำเนินการรวบรวมรายชื่อ เยี่ยมยอดยืนยันว่า มาจากชาวบ้านในเครือข่ายลงขันกันเองทั้งหมด

บริบูรณ์ เกรียงวรางกูล หนึ่งในรองเลขาธิการเครือข่ายประชาธิปไตย ที่รักษาการแทนสมยศ กล่าว่า เราไม่ได้จำกัดไว้ที่หนึ่งหมื่นชื่อที่เป็นจำนวนขั้นต่ำตามรัฐธรรมนูญ ถ้าเกิดได้ยิ่งมากยิ่งดี เมื่อรัฐบาลใหม่จัดตั้งสำเร็จเราก็จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาทันที

บริบูรณ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีประชาชนบางรายอาจจะไม่กล้าลงชื่อ เพราะกลัวจะถูกกลั่นแกล้งตามหลัง แต่เราพยายามอธิบายว่านี่เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนสามารถลงชื่อเพื่อขอแก้ไขกฎหมายได้ และเมื่ออธิบายว่านี่เป็นเรื่องของคนเรือนหมื่นเรือนแสน ถ้าโดนก็ต้องโดนกันหมดทุกคน จึงเข้าใจว่าเป็นไปได้ยาก และนี่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดงที่รักประชาธิปไตยซึ่งไม่กลัวอะไรอยู่แล้ว

สำหรับกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ ราชินี รัชทายาท นั้น เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างมากช่วง 2-3 ปีมานี้ เพราะมีคนถูกจับด้วยข้อหานี้เป็นจำนวนมาก และความผิดตามมาตรานี้มีอัตราโทษที่ค่อนข้างสูง คือ จำคุกตั้งแต่สามถึงสิบห้าปี ส่งผลให้เกิดบรรยากาศความกลัวขึ้นในสังคมและส่งผลกระทบต่อเสรีภาพการ แสดงออกอย่างมาก

ก่อนหน้านี้กลุ่มนิติราษฎร์เคยเสนอแนวทางการปรับปรุงกฎหมายอาญามาตรา 112 ไว้ 7 ประการ ดูรายละเอียดคลิ๊กที่นี่ และยังมีนักวิชาการ นักกิจกรรมกลุ่มอื่นๆ มีข้อเสนอต่อกฎหมายมาตรานี้จำนวนมากแตกต่างกันไป แต่เครือข่ายประชาธิปไตยเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163 รวมรวบรายชื่อประชาชนให้ครบหนึ่งหมื่นชื่อเพื่อเสนอต่อรัฐสภาให้ยกเลิกกฎหมายมาตรานี้
 

 

สำหรับผู้ที่สนใจร่วมลงชื่อยกเลิกมาตรา 112 มีขั้นตอนดังนี้

1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มตามไฟล์แนบ กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย เซ็นต์ชื่อให้ถูกต้อง

2. แนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง

3. ส่งเอกสารทั้งหมดไปที่ สำนักงานนิตยสาร Red Power อิมพีเรียลลาดพร้าว ห้องAI 28-29 ชั้น 5 เลขที่2539 ลาดพร้าว81-83 แขวงวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0895007232 หรือ 0896663401

 

 

 

 

 

ไม่ควรแก้ไข คงไว้ตามเดิม
7% (14 votes)
ควรแก้ไขเนื้อหา เพื่อส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น
18% (38 votes)
ควรยกเลิกทั้งมาตรา
76% (163 votes)
คนโหวตทั้งหมด: 215 คน

Comments

Y@H@'s picture

ข้อความซ้ำ

Y@H@'s picture

ข้อความซ้ำ

Y@H@'s picture

ข้อความซ้ำ

Y@H@'s picture

ข้อความซ้ำ

ณัฐพัชร์'s picture

โพสของผมตอนหนึ่งหายไป  ตอนที่คุณบอกว่า  การเสนอชื่อหลายหมื่นคน ไม่ได้มีส่วนในการรับร่างฯ แต่คนหลายหมื่นคนได้แค่ร่วมคัดค้านการเสนอร่างฯ หายไปได้ไง  คุณช่วยบอกระบบได้มั้ย

iLaw's picture

สวัสดีจ้ะ ทีมไอลอว์ขอยืนยันว่าไม่ได้ลบอะไรออกจากหน้านี้ จริงๆ ทีมไอลอว์ยังไ่ม่เคยลบคอมเม้นต์ไหนออกเพราะอะไรเลย ยังไงส่วนที่หายไปลองโพสใหม่ดูได้นะ ถ้าหากอีกนี่ไม่รู้เพราะระบบหรือเพราะอะไร จะได้รีบเช็คจ้า

gina4cat's picture

อยากบอกว่า ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะยกเลิก เพาะขัดต่อรธน. ในหลักสิทธิ เสรีภาพ เเน่นอนชัดเจน คะ 

โยเย's picture

ผมเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนี้ตามที่ คุณเสนอ  แต่ผมไม่เห็นว่าขัดต่อสิทธิเสรีภาพช่วยขยายความให้ผมทราบด้วยนะครับ  ว่าตามความเห็นของผม  สิทธิเสรีภาพของประชนที่ไม่สามารถนำมาใช้ (ม.112) กับบุคคลที่นำมาตรานี้ไปใช้เพื่อโจมตีรัฐบาล  โจมตีบุคคล  และสถาบันฯ แต่ถ้ามีคนบอกว่ารัฐบาลดำเนินการกับบุคคลโดยใช้ม.112 ผมขอเรียนและทำความเข้าใจแบบนี้ครับ  รัฐฯจะดำเนินการใดก็ได้แต่ต้องไม่ขัดต่อประโยชย์และสิทธิเสรีภาพแห่งประชาธิปไตย  อันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  กรณี (ม.112) อยู่ตราบทบัญญัติด้านความมั่นคงด้วยแล้ว  กรณีนีนี้ยิ่งควรใช้เฉพาะลักษณ์เกี่ยวกับความมั่นคง  และในส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการอยู่แล้ว ที่โยงอะไรต่างๆ มาจนเลยเถิดหาว่าไปบังคับสิทธิ์ของประชาชน (พูดไม่ได้) "เกี่ยวกันตรงไหน" คุณจะพูดระเมิดหมิ่นฯทำไมกัน และผมยังให้เหตุที่ว่า  สถาบันฯอยู่เหนือการเมืองเหตุใดจึงนำการเมืองไปยุ่งกับสถาบัน ฯ การลิปลอนสิทธิ์โดยการแก้ไขหรือยกเลิก ม.112 จึงถือว่าขัดต่อสิทธิ์เสรีภาพของพระองค์ ฯ หลักการประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขปัจจุบันเพื่อใครบ้าง ไม่ใช้เพียงเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนเท่านั้น ต้องทุกฝ่าย ฯ จากการที่ผมพูดใครกับนักกฏหมาย เห็นแล้วว่าคนพวกนี้มองเพียงด้านเดียว  โดยการอิงแอบกับกฏหมายที่ว่าเพื่อประชาชนเท่านั้น 

กรุณาบอกความคิดของคุณที่นะครับเพื่อประโยชน์แห่งความรู้   

Y@H@'s picture

ขัดต่อ รธน ในหลัก สิทธิ เสรีภาพ อย่างไรล่ะครับ??

    การเสนอแก้ไข 112 ของกลุ่มเสื้อแดง ก็เสนอไปตามกระบวนการที่ รธน เปิดโอกาสให้ ปชช มีสิทธิเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10000 คน เสนอร่างพระราชบัญญัติตามหมวด3 หรือหมวด 5 ให้ประธานรัฐสภาพิจารณา(มาตรา 163 รธน)

     ในกรณีนี้ทางกลุ่มเสื้อแดงก็ได้ทำตามเงื่อนไขตาม รธน มาตรา 163 ในเบื้องต้นแล้ว เนื่องจากมีการทำร่างพรบแก้ไขเพิ่มเติม ปอ. แนบมาด้วย(ตาม รธน 163 วรรค 2) ทั้งหากพิจารณาแล้วร่างแก้ไขดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่ง รธน มาตรา 45 รับรองไว้ (รธน มาตรา 45 อยู่ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน) กรณีจึงถือได้ว่ากลุ่มเสื้อแดงได้ปฎติบัติตามเงื่อนไขเบื้องต้นของ มาตรา 163 แล้ว

      ปัญหาต่อมาเพียงแค่ขอให้รวมชื่อให้ได้ 10000 ชื่อ แล้วเสนอต่อประธานรัฐสภาพิจารณาเท่านั้น การกระทำดังกล่าวย่อมทำได้ เพราะการเสนอแก้ไข ม112 กระทำไปตามกระบวนการของม 163 รธน ดังนั้นการ เสนอแก้ไข ม112 จึงไม่ได้ขัด ต่อ รธน แต่อย่างใด

***หากท่านมีความเห็นแย้งในส่วนใด ผมก็อยากจะฟังความคิดเห็นของท่านด้วยครับ***

ปล ในความเห็นส่วนตัวผม ผมเห็นด้วยกับเรื่องการเสนอแก้ไขโดยอาศัยฐานของหมิ่นประมาททั่วไปตามแนวทางของคณะนิติราษฎร์ มากกว่าการเสนอให้ยกเลิกตามแนวทางของกลุ่มเสื้อแดง

ณัฐพัชร์'s picture

ผมรู้สึกว่า คน 200 คนจะคับแผ่นดินมากเกินไป   และคน 10,000 คนจะทำได้แค่ไหนถ้ามีคน หลายหมื่นคนลงชื่อคัดค้านการตัดสินใจนี้ คิดไปว่าเปล่าประโยชน์ครับ   

Y@H@'s picture

ตามความหมายของคุณคือ มีคนอีกหลายหมื่นมาลงชื่อคัดด้าน เสื้อแดงหมื่นคนที่ลงชื่อแก้ไขใช่ไหมครับ

    ถ้าเป็นกรณีดังเช่นนั้นเสียงของคนหลายหมื่นคนที่คัดค้านกลุ่มเสื้อแดง(ต่อไปนี้ขอเรียกว่า"กลุ่มผู้คัดค้าน")จะมีผลเป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่มคนเสื้อแดงเท่านั้นครับ ไม่มีผลใดๆในทางกฎหมาย เพราะ การเข้าชื่อคัดค้านการเสนอร่างพรบ แก้ 112 ของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้น ไม่มีกฎหมายตัวใดรับรองผลเป็นการ คัดค้าน(Veto) การเข้าชื่อเสนอ ร่างกม ตาม ม163 รธนครับ

    ***แม้เสียงของกลุ่มที่คัดค้านจะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเสียงของกลุ่มคนที่คัดค้านนั้นไม่มีความหมาย เสียงของกลุ่มคนที่คัดค้านนั้นนอกจากจะเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยแล้วยังมีผลเป็นการกดดันจากภาค ปชช ต่อผู้แทนของตนในการจะพิจารณาให้ร่างแก้ไข 112 นั้นผ่านหรือไม่อีกด้วย(ในกรณีที่มีผู้คัดค้านจำนวนมาก)

         ดังนั้นจึงไม่อาจกล่าวว่าการเข้าชื่อ 10000 ชื่อ เสนอแก้ 112 ของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ได้หรอกครับ เพราะถึงอย่างไร การเข้าเสนอชื่อเสนอร่างแก้ไข 112 ก็มีรธน รับรองการกระทำให้ทำได้  แต่ร่างแก้ไข 112 จะผ่านสภาหรือไม่นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

 

ณัฐพัชร์'s picture

ก็vv  คุณ  คุณ Y@H@ จะบอกผมว่า หลายหมื่นคน ไม่มีผลต่อการเสนอร่าง  แต่จะมีผลการพิจารณาผมคงจะไม่ไปเถี้ยงอะไรก็ต้องตามนั้น  แต่จะมีผลดีหรือและประการใดก็ตามแต่ที่ผ่านมามีการปิดศาลรัฐธรรมนูญ  (นักเลงโต) บ้านเมืองเคยเป็นอย่างนี้ นักวิชาการคิดอย่างไรเพื่อที่จะทำทุกทาง  ทางวิชาการ  ให้ ม.112 เปลี่ยนแปลงฐานความผิดต่อการหมิ่นฯ ให้โทษเบาบางไปอย่างงั้นโดยการอ้างว่าจะได้ไม่มีการเหลื่อมล้ำทางสังคม  อย่างั้นการมีประมุขของประเทศก็ผิดอย่างงั้นหรือ? เพราะ ม.112 เป็นแค่นามธรรม ที่พวกนิติราษฏรนำมาใช้กล่าวอ้าง จะเรียกตรงๆแบบนี้จะผิดหรือไม่ 1. เพื่อการปล่อยนักโทษ หรือการอภัยโทษให้กับคนหนึ่งหรือหลายคนที่กระทำผิดมาแล้ว (นิติราษฏรไม่สรอดคล้องกับคนเสื้อแดงตรงไหน)  2.ม112 ฐานเฉพาะการหมิ่นฯ เท่านั้น ถ้าคุณไม่หมิ่นฯ ใครก็ไม่สามารถนำ 112 มาเอาผิดคุณได้ ผมถามว่าคนที่ทำผิดฐานหมิ่น ฯ เพื่ออะไรเกมการเมืองหรือต้องการล้มระบอบการปกครอง?  "ปาว"  ผมขอดักคอจำพวก นปช.ยูเอสเอ 1 และ 2  3.ความจำเป็นที่จะต้องปรับใช้ในตอนนี้ยังถือว่า ขัดต่อหลักประชาธิปไตยไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ ปี 40 หรือ 50 ก็ตาม

...............................

          แต่ก็ต้องยอมรับกติกาของสังคมไทย  ในเมื่อรัฐธรรมนูญเขียนไว้แบบนี้ก็ต้องเป็นไปตามนี้  *-*

ผมยอมรับ 10,000 ชื่อเข้าสภา  แต่จะไม่ยอมรับถ้าหากสภาร่างรัฐธรรมนูญ

Y@H@'s picture

ผมขอเสนอความเห็นในข้อที่ 2 ของคุณละกันนะครับ เพราะส่วนอื่นผมไม่เข้าใจในประเด็นที่คุณต้องการสื่อ

       การที่คุณกล่าวว่าถ้าคุณไม่หมิ่นฯก็ไม่มีใครทำอะไรคุณได้ นั่นก็เป็นเรื่องจริงครับ ถ้าเราไม่ตีความขยายความการกระทำผิดของ 112 ให้เกินกว่า 3 กรณีที่บัญญัติไว้ในตัวบท คือ ผู้จะกระทำผิดตาม 112 นั้นจะต้องมีการกระทำที่เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทหรือ แสดงความอฆาตมาดร้ายฯ เท่านั้นครับ หากมีการกระทำนอกเหนือจากนี้แม้จะเป็นการไม่สมควร การกระทำนั้นก็ไม่มีความผิดตาม 112

        จะขอยกตัวอย่างกรณีที่ผู้ถูกล่าวหาว่ากระทำผิดตาม 112 ทั้งๆที่ไม่มีการกระทำ 3 ตัวอย่างข้างต้นนะครับ คาดว่าคุณ ณัฐพัชร์ คงจำคดีของคุณโชติศักดิ์ได้ ที่คุณโชติศักดิ์ไม่ยืนแสดงความเคารพเมื่อได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญฯ และถูกคู่กรณีที่มีเรื่องกับคุณสมศักดิ์ฟ้องฐานหมิ่นฯ

        ในการจะพิจารณาว่าผู้ใดมีการกระทำผิดทางอาญาหรือไม่นั้น สิ่งแรกที่เราต้องพิจารณาคือ การกระทำของผู้ถูกกล่าวหานั้นครบองค์ประกอบภายนอกตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ซึ่งตามกรณีคุณโชติศักดิ์ข้อหาคือหมิ่นฯ ตาม 112 องค์ประกอบภายนอกนั้นมี 3 ส่วน คือ ดูหมิ่น หมิ่นประมาทหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายฯ

         เมื่อพิจารณาแล้วการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ ไม่เป็นการดูหมิ่นเพราะ ไม่ได้แสดงด้วยคำพูดหรือกริยาในการดูหมิ่น เหยียดหยามผู้ใดให้ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง

         ไม่เป็นการหมิ่นประมาท เพราะ ไม่ได้ไขข้อความอันเป็นเท็จต่อบุคคลที่ 3 หรือทำให้ข้อความนั้นแพร่หลาย อันเป็นเหตุให้ผู้ใดต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง

          ไม่เป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้าย เพราะ เพียงการไม่ยืนแสดงความเคารพไม่อาจประจักษ์ได้ชัดถึงท่าทีที่มุ่งประทุษร้าย หรือทำอันตรายต่อผู้ใด

           ดังนั้นแล้วจากการกรณีดังกล่าว การที่คุณโชติศักดื์ไม่ยืนแสดงความเคารพเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯจึงไม่ถือเป็นความผิดตาม 112 เพราะขาดตั้งแต่ส่วนแรกขององค์ประกอบในการกระทำผิด ตาม 112 ซึ่งก็คือ องค์ประกอบภายนอกของความผิด จึงไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่นอีก

           แต่ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎเขากลับถูก จนท ตำรวจดำเนินคดีในข้อหานี้ ทั้งๆที่เขาไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดเลย นี่คือตัวอย่างของการใช้การตีความ 112 ในลักษณะขยายความซึ่งขัดต่อมาตรา 2 ประมวลกฎหมายอาญาและหลักการตีความอย่างเคร่งครัดของกฎหมายอาญา

           ดังนั้นการที่คุณกล่าวว่าถ้าไม่หมิ่นก็ไม่มีใครทำอะไรคุณได้คงเป็นเรื่องที่ไม่จริงเสมอไปแล้วล่ะครับ

***ปล ในความเห็นของผมการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯของคุณโชติศักดิ์ ไม่ควรโดนลงโทษทางอาญา ทั้งนี้ตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ในทางที่ถูกต้องการกระทำของเขานั้นเป็นเพียงการละเมิดวัฒนธรรมประเพณีของชนชาติเราซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควร และควรถูกลงโทษด้วยมาตราการทางสังคม(Social Sanction) เช่น ไม่คบหาเขา มากกว่า มิเช่นนั้นจะเป็นการขัดต่อหลัก "ไม่กฎหมาย ไม่มีโทษ ไม่มีความผิด (Nullum crimen. nulla poena sine lege)"

ปล2 ผมยังมีตัวอย่างปัญหาจาก ม112 อีกแต่คงไม่ขอกล่าวในที่นี้เพราะจะยาวเกินไป

 

 

ณัฐพัชร์'s picture

คดีของนายโชติศักดิ์ ฯ คุณน่าจะลองไปไล้เคียงถามรัฐบาลสมัยคุณสมชาย ฯ ในความคาดเดาเหตุการณ์ตามสถานการบ้านเมืองในตอนนั้น ศาลฯ จริงๆผมไม่อยากพูดไปขอตัดถอดข้อความและเสนอแนวทางเดียวต่อไปนี้คือ  สังคมตอนนั้นไม่ให้โอกาศ กับนายโชติศักดิ์ ฯ อย่ามากมายที่มีการแสดงออกถึงความโกรธเคืองของประชาชนจำนวนมาก เช่นในโรงหนัง(เหตุการณ์ต้นเรื่อง) ผมไม่ขอโทษรัฐบาลของคุณสมชาย ฯ  นายโชติศักดิ์  ฯ คงลืม มวด 2 (พระมหากษัตริย์) มาตรา 8 แล้วกระมัง ซึ่งเป็นเหตุฐานความผิดอย่าจงใจ โดนกล่าวว่าตักเตือนแล้วก็ยังคงประพฤติกรรมที่สังคมไทยไม่ยอมรับ และยังอาจนำไปสู่ความรุนแรงกับนาย นวมินทร์ ฯ แต่ที่สังเกตุ  เป็นเกมปัญญาอ่อนน้ำเน่าของกลุ่มคนที่มุ่งประสงค์ในการแก้ไข ด้วยวิธีการโจมตี ม.112 อย่ากลุ่มคนที่มีความรู้เรื่อง นิติรัฐเป็นอย่าดี ผมต้องขอชีมาจุดนี้เพราะมันแปลกดี

สมัยคุณ สมชาย ฯ เรื่องนี้ไม่กล่าวหรือออกมาแสดงการต่อต้าน ว่านายโชติศักดิ์ ถูกต้อง แบบปัจจุบันนี้ และคุณรู้จักนายโชติศักดิ์ ฯ แค่ไหน  เข้าคนนี้ มี ป.โท ธรรมศาสตร์เชียวนะครับ (กลุ่มไหน...?) เพราะเข้าอยู่ในกลุ่มเคลือข่าย 19 ก.ย. ไม่ต้องห่วงว่านิติราษฏร์จะไม่รู้จักเข้าคนนี้ จะให้สรุป...ว่าไอ้นี้ไม่รู้ไม่ชี้ไม่แสดงความเคารพอย่างจงใจและมีคนมาเตือนมาว่าก็ไม่ทำ (เฉย) ซะงั้นนะคนแบบนี้ เข้าเรียกว่าหาเรื่องหรือไม่?  แต่ที่แน่ๆ คนแจ้งความคือนายโชติศักดิ์ ฯ เองที่เข้าไปแจ้งข้อหาใส่ นาย นวมินทร์ 4 ข้อหา  และจึงถูกนาย นวมินทร์ ฯ แจ้งข้อหากลับ ตัวเองก่อกวนในโรงหนังเอง ไม่มีเรื่องรุนแรงก็ดีใจหายแล้วแต่ยังจะไปหาเรื่องให้เป็นข่าว จนกระทั้งกลุ่มคนที่ต้องการยกเลิกหรือจะแค่แก้ไข ม.112 หยิบยกมาเป็นประเด็น จะโดยคิดแผนไว้ตั้งแต่ปี 2551 หรือสุดจริตใจของนาย โชติศักดิ์ ฯ กับพวก ที่มีความรู้นิติรัฐก็ตาม 

สิ่งหนึ่งที่อย่าจะบอกกับนักกฏหมายของประเทศไทย ขอให้ปล่อยตัวนายโชติศักดิ์ ฯ เถอะ เพราะนายนวมินทร์นั้นแจ้งข้อหาผิด จะใช้ว่าผิด ม.112 มิได้

Y@H@'s picture

1)ขอแก้ความเข้าใจผิดของคุณณัฐพัชร์ก่อนนะครับ ประเด็นในเรื่อง ม 8 ที่ว่า "กษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นั้น เป็นบทบัญญัติในลักษณะยอพระเกียรติเท่านั้นครับ ไม่มีกำลังบังคับในตัวเอง(Sanction) เป็นบทบัญญัติที่กลุ่มอำนาจเก่าก่อนปฎิวัติ 2475 เพิ่มเข้ามาครับ โดยตัวบทบัญญัติแล้วหากจะตีความให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ตัวบทมาตรานี้จะมีความหมายในแง่ที่ว่า กษัตริย์จะทรงเป็นที่เคารพสักการะ ก็ต่อเมื่อ พระองค์หลุดพ้นไปจากการเมือง ส่วนในข้อที่ว่า ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ก็หมายความว่า ในเมื่อพระองค์ทรงหลุดพ้นไปจากการเมืองแล้ว พระองค์ย่อมไม่อาจต้องรับผิดใดๆ ผู้ใดจะมาฟ้องพระมหากษัตริย์ให้ต้องรับผิดไม่ได้

ดังนั้นการกระทำซึ่งเป็นความผิดจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 จึงไม่มี เพราะไม่ใช่บทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่บัญญัติให้การกระทำใดเป็นความผิดและได้กำหนดผลหรือโทษของการฝ่าฝืนไว้เช่นดังกฎหมายอาญาครับ

2)ตามหลักของนิติรัฐ นั้น ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรือก็คือเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ดังนั้นการที่รัฐจะออกกฎหมายใดๆมาใช้บังคับ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังนั้นจึงต้องมีการขอความยินยอมจากประชาชนเจ้าของประเทศก่อน ซึ่งโดยสภาพเป็นไปไม่ได้ที่จะขอความยินยอมจากประชาชนได้ทุกคน จึงต้องอาศัยความยินยอมของผู้เเทนปวงชนหรือก็คือ สส ที่ประชาชนได้เลือกเข้ามา จึงจะสามารถตรากฎหมายออกมาใช้บังคับซึ่งอาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้

***จากหลักดังกล่าวจะสามารถอธิบายได้ในอีกแง่ที่ว่าหากการกระทำใดรัฐมิได้มีการออกฎหมายมาบังคับให้ต้องกระทำหรือห้ามกระทำ ประชาชนย่อมกระทำการนั้นๆได้ สำหรับในกรณีคุณโชติศักดิ์ก็คือไม่มีกฎหมายใดตราออกมาบังคับให้ต้องลุกขึ้นยืนทำความเคารพเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญฯ ดังนั้นการจะเลือกที่จะยืนหรือไม่จึงเป็นสิทธิหรือความสมัครใจของบุคคลนั้นๆครับ **เพียงแต่ว่าถ้ามองในบริบทของสังคม การที่เขาไม่ยืน เขาอาจทำผิดจารีตประเพณีของสังคมครับ คนในสังคมมีสิทธิตั้งแง่รังเกียจแต่ไม่มีสิทธิเข้าไปทำร้ายหรือไล่เขาออกจากโรงหนัง

เมื่อการจะยืนหรือไม่เป็นสิทธิหรือความสมัครใจของเขา คู่กรณีของเขาไม่ว่าจะเป็นคุณนวมินทร์หรือบุคคลอื่นใดย่อมไม่อาจบังคับให้เขาต้องลุกขึ้นยืนได้ และการเข้าทำร้ายคุณโชติศักดิ์ของคุณนวมินทร์ย่อมเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญา แม้ในกรณีที่คุณโชติศักดิ์จะมีความผิดจริงคุณนวมินทร์ยังไม่มีสิทธิเข้าไปทำร้ายคุณโชติศักดิ์(โดยการกระชากกล่องป๊อบคอร์นแล้วสาดใส่หน้า ฯลฯ) เพราะกฎหมายไม่ยินยอมให้บุคคลใช้กำลังบังคับหรือลงโทษกันเอาเองเนื่องด้วยจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม แล้วยิ่งการคุณโชติศักดิ์ไม่ยืนก็ไม่ถือเป็นความผิดเพราะเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ คุณนวมินทร์ยิ่งไม่มีสิทธิเข้าทำร้ายคุณโชติศักดิ์

อีกทั้งจากข้อเท็จจริงพบว่าการที่คุณนวมินทร์แจ้งข้อหาตาม 112 กับคุณโชติศักดิ์เป็นเพราะ การที่คุณโชติศักดิ์กับพวกแจ้งข้อหาดำเนินคดีกับคุณนวมินทร์ ดังข้อความที่ปรากฎในข่าว “คู่กรณีจะแจ้งความผมกับเพื่อนในข้อหา “หมิ่นพระบรมฯ” ถ้าผมกับเพื่อนจะดำเนินคดีคู่กรณี" >>ที่มา http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000048141 จึงมีประเด็นเพิ่มเติมที่น่าคิดได้ว่านอกจาก 112 จะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองแล้ว ยังถูกใช้เป็นข้อต่อรองระหว่างบุคคลทั่วไปเพื่อตนจะได้ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอีกด้วย

ดังนั้นข้อความในตอนท้ายของคุณก็ถือว่ากล่าวได้ถูกต้องครับ ที่ว่า "ขอให้ปล่อยตัวนายโชติศักดิ์ ฯ เถอะ เพราะนายนวมินทร์นั้นแจ้งข้อหาผิด จะใช้ว่าผิด ม.112 มิได้" เพราะเขาไม่มีความผิดฐานใดเลยนั่นเอง

ปล การอธิบายของผมไม่ได้เกิดจากอคติส่วนตัว แต่ผมได้อธิบายไปตามหลักกฎหมายที่ผมได้ศึกษามาครับ

ณัฐพัชร์'s picture

1.ประการแรกผมเข้าใจประเด็นของคุณ Y@H@ เป็นแบบที่คุณบอกมา และผมก็ไม่เคยคิดว่า ม.8 นี้จะมีฐานความผิดอาญาแต่ประการใด  และสุดท้ายผมเองก็ยังคงบอกให้ปล่อยตัว นายโชติศักดิ์ ฯ เพราะไม่รู้ว่าสังคมตัดสินความผิดจากอะไร และผมขอให้คุณทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "จิตสำนึก" , "หน้าที่ของคนไทย" และขอให้คุณใช้จิตสำนึก พิจารณาถอดข้อความของ หมวด 2  (พระมหากษัตริย์) มาตรา 8 คำว่า ทรงเป็นที่เคารพสักการะ  ผู้ใดจะละเมิดมิได้  ความหมายคือ บัญญัติให้เป็นหน้าที่หนึ่งของคนไทยเลยทีเดียวว่า ตรงๆ ไม่ต้องไปแปลอะไรให้มากความอีก คือต้องเคารพ ห้ามมิให้ระเมิด ส่วนที่คุณบอกว่าเป็นบทบัญญัติในลักษณะยอพระเกียรติเท่านั้น ไม่มีกำลังบังคับในตัวเอง คุณกำลังสื่อหมายถึงอะไร? ถ้าใครคนใดที่ไม่มีแม้แต่หน้าที่ "จิตสำนึก"คงจะต้องตีความแบบคุณว่า

2.ผมเข้าใจความหมายข้อนี้ดีเพราะผมก็ชอบเรียกร้อง แบใตปัญหาให้รัฐฯอยู่เสมอ แต่ปัญหาของ ม.112 ยังไม่ควรจะถือเป็นวาระที่จะบอกได้ว่าประชาชนจะต้องแบกรับภาระ  จากกระบวนการยุติธรรมปัจจุบันผมว่า ระบบนิติรัฐฯนี้ยังโอเคอยู่ ความจากตอนบนของคุณ "ผมว่า" คุณมองระบบของนิติรัฐ  ฯ  เป็นนิติราษฎร์มากเกินไป  ผมขอให้คุณเคารพการตัดสินของศาลฯ ด้วยตามรัฐธรรมนูญ ปี 40 หรือจะปี 50 ก็ตาม ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของศาล  ในเรื่องของคุณ นวมินทร์ ฯ และจะขอกล่าวถึงรัฐบาล คุณ สมชายฯ ช่วงเหตุการณ์ต้น (ตำรวจ) ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ คือส่งฟ้องทั้ง 2 คน จึงเป็นเหตุให้สังคมวิพากษ์วิจารอย่างมาก  

3.ข่าวของผมบ้าง คือนายโชติศักดิ์ฯ กับเพื่อนแจ้งข้อหากับตำรวจ ให้กับนาย นวมินทร์ ฯ ด้วย 4 ข้อหาเช่นเดียวกับเพื่อน http://www.oknation.net/blog/print.php?id=251953     

4.ในข่าวเว๊ปนั้น จะมีอยู่ประโยคหนึ่ง  นายโชติศักดิ์ได้กล่าวเชิญชวนร่วมปฏิบัติการไม่ยืนทำความเคารพในโรงภาพยนตร์ โดยให้เหตุผลว่าเป็นสิทธิที่จะไม่ยืน หากมีกฎหมายถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ และเห็นว่าเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะไม่ถูกดูหมิ่นและถูกทำร้าย และเป็นบรรทัดฐานว่าคู่กรณีกระทำไม่ถูกต้องและต้องถูกลงโทษ โดยไม่ได้คาดหวังจำนวนผู้ที่จะร่วมกันไม่ยืน ไม่ว่าจะ 10 คนหรือแม้แต่ 2 คนก็ตาม มีเท่าไหร่ก็ไปเท่านั้น   

    แบบนี้ผมก็ว่ายังไม่ควรนำเป็นฐานความผิดโทษ ม.112 ได้ ถึงแม้แต่จะทำให้องค์พระมหากษัตริย์เสื่อมศัทธาได้(เกิดความเสียหาย) ผมขอไม่พูดที่เกิดความเสียหายเพราะอะไร เพราะเพื่อนาย โชติศักดิ์ฯ เอง

ปล.ขอบคุณที่นี่  เพราะผมคงไม่อยู่ต้องไปราชการต่างจังหวัดและระหว่างเดินทางปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ ผมคงไม่สามารถคิด - ตอบ หรือซักถามอะไร

           ขอบคุณคุณ Y@H@ ที่ให้ความรู้กับคนหลายคน โดยเฉพาะผมถึงแม้ว่าผมไม่เห็นด้วยอยู่หลายเรื่องก็ตาม อย่างน้อยน่าจะเป็นประโยชน์กับนายโชติศักดิ์ ฯ

Y@H@'s picture

 

1)ประเด็นของ ม 8 แม้ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ถกเถียงในการตีความตัวบทอยู่ในเรื่องนี้ผมคงไม่ต่อความกับคุณอีก เพราะ ผมและคุณตีความไปในคนละแนวทางคุณตีความตัวบทมาตรานี้โดยอิงวัฒนธรรมประเพณีแต่เดิมของเราที่ประชาชนมีความผูกพันกับกษัตริย์ ส่วนผมตีความโดยอาศัยกรอบความคิดในแนวทางของเสรีนิยมที่มองว่าบุคคลไม่ว่าผู้ใดย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยชอบธรรมได้หากไม่เกินเลยไปจนเป็นความผิดดังเช่นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น ทั้งในเรื่องจิตสำนึกหรือหน้าทีคนไทย ไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมาย ในส่วนนี้ต่างคนย่อมเห็นต่างกันได้ ดังนั้นหากเรายังถกเถียงประเด็นนี้ต่อไปก็คงไม่ได้ข้อสรุป

2) แนวทางนิติรัฐ ที่ผมมองนั้นก็ไปเป็นไปในแนวทางที่เป็นไปตามหลักการของกฎหมายมหาชนแม้คุณอาจจะไม่เห็นด้วยกับมัน แต่มันก็เป็นหลักการสากลของรัฐประชาธิปไตย

ในส่วนที่ผมสงสัยคือที่คุณให้ผมเคารพการตัดสินของศาลฯไม่ทราบว่าหมายถึงกรณีที่คุณนวมินทร์ได้ฟ้องคุณโชติศักดิ์ใช่หรือไม่ถ้าเป็นกรณีนั้นศาลยังไม่มีคำตัดสินนี่ครับเพราะที่ผมทราบมาเขาหนีไปต่างประเทศก่อนที่อัยการจะมีความเห็นสั่งฟ้องเสียอีกเนื่องด้วยมีแนวโน้มที่อัยการจะสั่งฟ้องเขาตาม 112

ส่วนในเรื่องการเคารพการตัดสินของศาลนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่อาจวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินของศาลได้เลยการวิพากวิจารณ์อย่างเป็นธรรมในคำตัดสินของศาลนั้นสามารถกระทำได้ครับเพราะถือเป็นกระบวนการตรวจสอบของภาคประชาชนต่อองค์กรตุลาการในทางนิติศาสตร์จึงได้มีหลักการพิจารณาโดยเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบถึงการใช้ดุลพินิจในคำพิพากษาของศาลว่าเป็นไปโดยถูกต้องและชอบธรรมหรือไม่

3)ไม่ทราบว่าข่าวของคุณโชติศักดิ์ที่คุณให้มานั้น คุณต้องการจะแย้งประเด็นใดของผมหรือครับ??

4)ว่ากันตามหลักกฎหมายนะครับ อาจจะขัดต่อความรู้สึกของคนทั่วไป

การที่คุณโชติศักดิ์รณรงค์เช่นนั้น ก็สามารถกระทำได้ครับอย่างที่ผมเคยกล่าวไว้แล้วในเรื่องนิติรัฐว่าไม่มีกฎหมายใดๆห้ามการกระทำของเขาไว้และก็อย่างที่คุณกล่าวว่า"ไม่อาจถือเอาการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม 112" นั่นก็เพราะขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนี้

แต่การกระทำของเขาก็พูดได้ว่าเป็นการขัดต่อวัฒนธรรมประเพณีของประเทศเราและขัดต่อความรู้สึกของคนในสังคม แม้ในทางสังคมเขาจะถือว่ามีความผิดอย่างร้ายแรง แต่อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายนั้นเขาไม่มีความผิดใดๆ เลย

ปลผมไม่ต้องการให้คุณเห็นด้วยกับผมทุกความเห็นผมเชื่อว่าตามธรรมชาติคนเราย่อมมีความเห็นที่แตกต่างกันได้เราไม่อาจบังคับให้บุคคลอื่นเห็นไปในทางเดียวกับเราเพียงแต่ต้องยอมรับในความต่างของความเห็นให้ได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆนั่นคือแนวทางของประชาธิปไตย

หากคุณกลับมาแล้วมีประเด็นใดแย้งกับผม ผมก็พร้อมอธิบาย ไม่ใช่เพื่อให้คุณต้องเห็นตามผม แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นของผมเอง

สุดท้ายนี้ผมขอบคุณ คุณณัฐพัชร์ที่มาร่วมถกประเด็นดังกล่าวกับผม ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะครับ