นายยุทธภูมิ ถูกพี่ชายแท้ๆ ของตัวเองกล่าวหาว่าพูดจาสบถในบ้าน และเขียนข้อความลงบนซีดี ผิดมาตรา112 ฐานดูหมิ่นกษัตริย์ฯ พี่ชายแจ้งจับน้องจนติดคุกและต้องต่อสู้คดีในชั้นศาล ไม่ว่าเรื่องราวบทนี้จะลงเอยอย่างไรก็ล้วนเป็นอุทาหรณ์หลายประการให้แก่สังคมไทย
ปัจจุบัน สังคมถกเถียงในประเด็นความเป็นส่วนตัวกันมาก แต่กฎหมายยังไม่มีนิยามแน่นอนว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัว หมายความว่าอย่างไร ใครเป็นเจ้าของ กฎหมายเข้ามาดูแลมากน้อยเพียงใด สังคมจะดูแลกันเองได้หรือไม่ และความเป็นส่วนตัวอยู่ตรงไหนในพื้นที่สาธารณะ
ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ เปิดเผยผลการวิจัย “การกำกับดูแลสื่อที่สร้างความเกลียดชัง” ในสื่อออนไลน์ พบเฮทสปีช (hate speech) อุดมการณ์ทางการเมืองมากที่สุด ขณะที่วิทยุโทรทัศน์ สื่อกระแสหลักพบน้อยกว่าสื่อทางเลือกใหม่ และสื่อสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับการเมืองพบมากที่สุด นักวิจัยเสนอควรใช้กฎหมายกำกับดูแลสื่อที่ยุยงให้ใช้ความรุนแรงเท่านั้น
การจำกัดเสรีภาพเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของรัฐเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันในสากลโลกรวมทั้งรัฐที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามการจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเมืองจะต้องเป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น
คนรักเพศเดียวมีตัวตนอยู่ในรัฐไทยมานานแล้ว ทว่าด้วยปัจจัยทั้งทางการเมืองและทางวัฒนธรรม พวกเขากลับไม่มีตัวตนอยู่ในระบบกฎหมาย ทำให้คนรักเพศเดียวกันไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์พึงได้หลายประการ การเสวนาครั้งนี้น่าจะจุดประกายให้สังคมตระหนักรู้ถึงปัญหาที่กลุ่มคนรักเพศเดียวกันต้องเผชิญ จนนำไปสู้การแก้ไขปัญหาในอนาคตอันใกล้
ญาติผู้เสียหาย เปิดรับฟังความเห็นร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม พร้อมนำไปปรับแก้ใหม่ นิรโทษกรรมให้ความผิดทุกประเภทไม่จำกัดเฉพาะความผิดต่อความมั่นคง นิรโทษกรรมความผิดต่อทรัพย์สินเอกชน และความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี พร้อมย้ำเจตนาไม่นิรโทษกรรมให้ทหาร-คนสั่งการ
สี่องค์กรสื่อประสานเสียง ไม่เอาร่างกำกับดูแลเนื้อหาของกสทช. ชี้เหมือนกฎหมายย้อนยุค ร่างโดยสายความมั่นคง นักวิชาการอึ้ง ออกมาขัดหลักการสื่อที่สอนนักศึกษานิเทศศาสตร์ ยันคัดค้านพร้อมเดินหน้าฟ้องศาลปกครองหากประกาศบังคับใช้
นักวิชาการประสานเสียงผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ชาญวิทย์สะท้อนภาพอดีต กม.นิรโทษกรรมส่วนใหญ่ยกโทษให้ชนชั้นนำผู้ก่อความรุนแรง ธงชัยชี้ร่างทุกฉบับมีจุดอ่อนแต่จำเป็นเพราะตุลาการไทยเป็นกระบวนการอยุติธรรม สิ่งที่ทำได้เลย คือ การปล่อยนักโทษการเมืองทันที หรือให้ประกันตัว ชัยวัฒน์ชี้การนิรโทษกรรมต้องมาพร้อมกับการยอมลืมบางอย่าง
อดีตอธิการบดีมธ.ชี้ ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย 81 ปีมีกม.นิรโทษกรรม 22 ฉบับ เฉลี่ยสามปีครึ่งมีกม.นิรโทษกรรม 1 ฉบับ ซึ่งพบว่า 72.7 % นิรโทษกรรมให้ชนชั้นนำ
เปิดสมัยประชุมสภาเดือนสิงหาคมนี้ มีร่างพ.ร.บ.ปรองดองจ่อคิวอยู่แล้ว 5 ร่าง และมีร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมอยู่อีก 4 ร่างรวมที่ประชาชนเสนอด้วย มาลองดูกันว่า ตามร่างฉบับไหนใครจะได้รับนิรโทษกรรมบ้าง ทักษิณ? เสื้อแดง? เผาเซ็นทรัลเวิล์ด? ปิดสนามบิน? ทหาร? อภิสิทธิ์? รัฐประหาร?