เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112 แถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินคดีต่อ สมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบก. Voice of Taksin จำเลยคดี 112 และจัดเสวนาหาคำตอบว่า เหตุใดจำเลยคดี112 มักไม่ได้รับการประกันตัว อะไรคือมาตรฐานการให้ประกันตัวของไทย และการนักโทษ112 ในเรือนจำมีชะตากรรมอย่างไร
กสทช.ตั้งท่าแบนรายการคุยข่าว แบนทีวีสีเสื้อ แบนวิทยุชุมชน ห้ามช่องทำรายการชิงโชคSMS สั่งสถานีคุมผู้ผลิตเนื้อหาให้เป็นกลาง ปลอดการเมือง ห้ามผู้ประกาศข่าวแสดงความเห็นทางการเมือง แต่คำถามคือ กสทช.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะควบคุมเนื้อหาก่อนการเผยแพร่
จากที่มีข้อเสนอใน"คิด"ว่าควรทำให้การค้าบริการทางเพศเป็นอาชีพถูกกฎหมาย เพื่อให้รัฐควบคุมได้และคืนศักดิศรีความเป็นมนุษย์ให้กับคนขายบริการ จนไปสู่วิวาทะระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ไอลอว์จึงย้อนกลับไปศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีทั้งฉบับปัจจุบันและในอดีต เพื่อประโยชน์ในการชบคิดร่วมกันต่อไป
"ขัดต่อความมั่นคงของรัฐ" "ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี" "ลามกอนาจาร" เนื้อหาเหล่านี้ห้ามออกอากาศทางโทรทัศน์และวิทยุ แต่คำกว้างๆเหล่านี้จะนิยามอย่างไร กสทช.กำลังจะออกประกาศมาแจกแจงรายละเอียด แต่ประกาศนั้นหน้าตาอย่างไร จะช่วยให้ชัดเจนขึ้นหรือทำให้ถ้อยคำกว้างขวางไปกว่าเดิม
หลังพ.ร.บ.การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 แต่มีคำถามว่ากฎหมายนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะจริงหรือไม่
การซ้อมทรมานเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย แม้ว่าในปี2550 รัฐไทยจะเข้าเป็นภาคีกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี แต่ระบบกฎหมายไทยกลับไม่มีนิยามหรือกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับความผิดฐานทรมาน ทำให้การซ้อมทรมานยังเกิดขึ้นต่อเนื่องโดยไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลงไป
ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา นิติศาสตร์ มธ.ชี้ เสรีภาพในการชุมนุมโดยสภาพสร้างความเดือดร้อนหรือรบกวนเสรีภาพของคนอื่นอยู่แล้ว แต่แม้จะใช้เครื่องขยายเสียง หรือทำให้คนที่อยู่อาศัยใกล้ๆ เดือดร้อนก็ยังเป็นการชุมนุมโดยสงบ มีดหรือปืนถ้ามีไม่มากก็อาจถือว่าปราศจากอาวุธ
เสวนา “ก้าวต่อไปเสรีภาพในการชุมนุม มองผ่านคำพิพากษา” สมชาย ปรีชาฯชี้ ศาลไม่คงเส่นคงวา สังคมต้องช่วยกันให้ความหมายเสรีภาพ กิตติศักดิ์ชี้ มหาลัยบกพร่องที่ไม่สอนเรื่องรัฐธรรมนูญ ทนายชี้ศาลไม่รับฟังเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ประเทศไทยยังไม่มีฐานความผิดตามกฎหมายที่มารองรับการกระทำ "ทรมาน" ซึ่งหลายองค์กรอยู่ระหว่างการผลักดันให้แก้ไขกฎหมาย แต่สิ่งที่ท้าทายคือ แม้มีความผิดฐานทรมานเพื่อเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว จะทำอย่างไรให้ใช้ได้จริงในทางปฎิบัติ และจะป้องกันไม่ให้เกิดการทรมานได้หรือไม่
เราอาจเคยเห็นพาดหัวข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ว่า “อุ้มหาย” หรือ “อุ้มฆ่า” โดยเหยื่ออาจเป็นผู้มีอิทธิพล หรือ ผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่างกับรัฐ บางคนอาจคิดในใจว่า “เป็นปุ๋ยไปแล้วมั๊ง!” หรือไม่ก็ “พวกนี้มันมาเฟียจริงๆ!” ซึ่งหากพิจารณาในแง่กฎหมาย การ “อุ้มหาย” ที่เห็นกันตามหน้าข่าว จริงๆ แล้วเป็นความผิดตามกฎหมายฐานใด และใครบ้างที่เป็นผู้เสียหาย