Articles

วันที่ 13 พฤษภาคม 2562 ในกิจกรรมรวบรวมรายชื่อ มียอดประชาชนมาใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายยกเลิกบรรดาประกาศและคำสั่ง คสช. รวมถึงคำสั่งหัวหน้าคสช. อย่างน้อย 13,037 คน ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎรได้
Election Results
เมื่อ กกต. ได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้วเกือบทั้งหมด คะแนนเสียงที่ประชาชนลงให้กับพรรคการเมืองที่มีจุดยืนชัดเจนว่าไม่สนับสนุน คสช. มีมากถึง 16,444,004 เสียง 
หลัง กกต. ประกาศผลการเลือกตั้ง สิ่งที่จะตามมาจะเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ได้แก่ การเปิดประชุมสภา การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา หลังจากนั้นจะเป็นการดำเนินการเลือกนายกรัฐมนตรี แต่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการได้มาซึ่งนายกฯ ซึ่งเท่ากับว่า หากยังไม่สามารถเลือกนายกฯ ได้ คสช. จะยังคงอยู่ในอำนาจต่อไปจนกว่าจะเลือกตั้งใหม่
ไอลอว์ ยื่นหนังสือต่อประธาน สขร. เพื่อร้องเรียนให้ คสช. และ กกต. เปิดรายชื่อว่าที่ ส.ว. แต่งตั้ง หลังจากที่ไอลอว์ยื่นหนังสือขอดูรายชื่อว่าที่ ส.ว. กับ คสช. และ กกต. มากว่า 50 วันแล้ว แต่ยังไม่มีความชัดเจน
ไอลอว์เดินหน้าติดตามหารายชื่อ “ว่าที่ สว.” ตามที่ได้คัดเลือกกันไว้เสร็จแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ ไอลอว์ได้ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ ยื่นขอดูรายชื่อ "ว่าที่ ส.ว." และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ กกต. และ คสช. ไปในวันที่ 11 มีนาคม 2562 หรือเมื่อ 45 วันที่แล้ว แต่แม้จะพยายามสอบถามไปกี่รอบก็ยังไม่ได้ข้อมูลนี้มา
การเลือกตั้งได้ผ่านไปแล้ว ส.ส. ชุดใหม่จะเข้าทำหน้าที่ในรัฐสภาภายในเดือนพฤษภาคม 2562  ซึ่งโดยปกติ ส.ส. มีสิทธิในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลให้พ้นจากตำแหน่งได้ แต่มีข้อยกเว้นสำหรับรัฐบาลของพล.อ. ประยุทธ์ เพราะบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองเอาไว้
24 เมษายน 2562 ที่ประชุมใหญ่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าจะรับพิจารณาเรื่อง 'วิธีการคำนวณที่นั่ง ส.ส.' ตามที่ กกต. ได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งความสำคัญของการวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว จะเป็นการหาข้อยุติเกี่ยวกับที่นั่ง ส.ส. ในสภา ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า วิธีการคำนวณที่นั่ง ส.ส. จะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองของแต่ละขั้ว
ในระบอบประชาธิปไตย ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล และกลไกสำคัญของการตรวจสอบรัฐบาลคือ 'ฝ่ายค้าน' ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้ให้อำนาจสภาในการในการตั้งกระทู้ถาม แปรญัตติกฎหมาย ลงมติไม่เห็นชอบกฎหมาย หรืออภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในกรณีที่รัฐบาลบริหารประเทศผิดพลาด ล้มเหลว หรือกระทำการใดๆ ที่ขัดต่อมติมหาชน 
กระแสเรื่อง 'รัฐบาลแห่งชาติ' ยังคงดังอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ โดยข้อเสนอดังกล่าว ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง โดย เทพไท เสนพงศ์ ว่าที่ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และเปรียบเสมือนการโยนหินถามทางหา 'ความเป็นไปได้' ให้กับอนาคตการเมืองไทยที่ยังคงผันผวน 
Vote 62 ชวนทำความรู้จักกับว่าที่ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์จากทั้ง 14 พรรคเล็กนี้ ซึ่งไม่แน่ว่า โฉมหน้าทั้ง 14 คนนี้อาจจะได้เข้ามาทำงานในสภา หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยืนยันตามการคำนวณของ กกต. ตามที่ได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้