รัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ได้ให้อำนาจประชาชนเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองได้ เหมือนรัฐธรรมนูญปี 2550 (20,000 รายชื่อ) หรือ รัฐธรรมนูญปี 2540 (50,000 รายชื่อ) ทว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 ให้อำนาจประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เข้าชื่อกล่าวหา ป.ป.ช. และเข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
กรรมการสิทธิฯ มีมาแล้วสามชุด ล้วนทำงานภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง และผลงานที่จะตรวจสอบการละเมิดสิทธิโดยรัฐก็อ่อนเบาจนสูญเสียความเชื่อถือจากสังคม ชุดที่สามตั้งขึ้นในยุคของ คสช. ทำงานได้ไม่นานก็ถูก "เซ็ตซีโร่" แถมกรรมการทยอยลาออกจนเหลือไม่ครบ ทำงานไม่ได้ กลายเป็นเสือกระดาษอย่างแท้จริง
หลังเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจหลักพิจารณากฎหมายกลับทำงานอีกครั้ง ถึงแม้ 5 ปีแรก ส.ว. มีอำนาจเท่า ส.ส. ในการออกกฎหมายการปฏิรูปประเทศก็ตาม แต่การออกกฎหมายทั่วไปมีขั้นตอน ได้แก่ 1) การเสนอร่างกฎหมาย 2) การพิจารณาของสภา ส.ส. และ ส.ว. 3) การประกาศใช้ โดยกฎหมายที่ออกมาส่วนใหญ่เรียกว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
เอกสารของทางราชการที่ปั๊นที่หัวกระดาษว่า "ลับ" ไม่ใช่ใครจะจัดให้เป็นความลับก็ทำได้เลย แต่มีระเบียบและกฎหมายกำหนดอยู่ว่า เอกสารใดจะถือเป็นความลับได้บ้าง และเจ้าหน้าที่ทุกคนจะปฏิบัติ เก็บรักษา โยกย้าย เอกสารเหล่านี้ก็ต้องทำตามวิธีขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างละเอียดอ่อน
ชุดคดี “ทวงคืนผืนป่า” ที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง ชาวบ้านถูกสั่งจำคุกแล้ว 14 คน ศาลอุทธรณ์พิพากษาออกมาทั้งสิ้น 16 คดี โดยวินิจฉัยไปในแนวทางเดียวกันทุกคดีว่า จำเลยกระทำความผิดฐาน “บุกรุกป่า” เพราะไม่มีรายชื่อในบัญชีสำรวจตามมติ ครม. ปี 2541 และข้อยกเว้นสำหรับผู้ยากไร้และอยู่มาก่อน เอามาใช้ไม่ได้ แต่เห็นต่างเป็นสองแนวในประเด็นการคำนวนค่าเสียหายที่กรมป่าไม้เรียกร้องมา
ปี 2557 คสช.ออกคำสั่งคสช. ที่ 64/2557 ทวงคืนผืนป่าจากชาวบ้านทั่วประเทศ แต่หลังการยึดคืนที่ดินปรากฏว่า มีชาวบ้านยากไร้ ไม่มีที่ทำกินกลับเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ที่คสช.ทำการยึดคืนไปแล้วส่งผลให้ถูกกล่าวหาในคดีบุกรุกป่า กรณีล่าสุดคือ คดีทวงคืนผืนป่าที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ ศาลอุทธรณ์ภาคสาม แผนกคดีสิ่งแวดล้อมได้มีคำพิพากษาออกมาทั้งสิ้น 16 คดี โดยศาลมีคำพิพากษาพ้องกันว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรุกป่าจากการเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินที่เซ็นคืนให้รัฐ แต่เห็นไม่ตรงกันในประเด็นค่าเสียหายที่กรมป่าไม้เรียกตามคำฟ้อง
9 กรกฎาคม 2562 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 9/2562 ยกเลิกประกาศ คสช. 32 ฉบับ คำสั่ง คสช. 29 ฉบับ และ คำสั่งหัวหน้าคสช. 17 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 78 ฉบับ เป็นการยกเลิก 3 แบบ แบบแรก ยกเลิกโดยไม่มีเงื่อนไข แบบสอง ยกเลิกแบบมีเงื่อนไข เช่น มีคำสั่งเพิ่มเติม หรือยังไม่ให้มีผลทันที และแบบสาม ยกเลิกเฉพาะบางข้อ
อุทยานแห่งชาติไทรทอง ดำเนินคดีกับชาวบ้าน 14 คน ในพื้นที่อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ในข้อหาบุกรุกป่า โดยกล่าวหาว่าชาวบ้านได้ทำการเกษตรในที่ดินที่อยู่ในพื้นที่อุทยาน ฝั่งของชาวบ้านมีข้อต่อสู้ว่าได้ทำกินในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และไม่ได้ทำการบุกรุกพื้นที่อุทยาน พบกับสัมภาษณ์ของชาวบ้านที่ถูกดำเนินคดีที่ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในช่วงก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะอ่านคำพิพากษา และตัดสินว่าชาวบ้านมีความผิด
ปี 2557 เมื่อ คสช. ทำรัฐประหาร ประกาศนโยบาย "คืนความสุข" และออกคำสั่งจัดการผืนป่าสำคัญสองคำสั่ง คือ คำสั่งคสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 ให้อำนาจทหารเข้ายึดคืนที่ดินจากประชาชนทั่วประเทศเพื่อเติมเต็มความฝันเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศ แต่ระหว่างทางกลับกำหนดข้อยกเว้นให้เอกชนได้
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 9/2562 ให้ยกเลิกคำสั่ง คสช. อย่างน้อย 29 ฉบับ ประกาศ คสช. อย่างน้อย 28 ฉบับ และยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. อย่างน้อย 4 ฉบับ มีเรื่องสำคัญ เช่น การย้ายคดีที่ให้พลเรือนขึ้นศาลทหารไปอยู่ในศาลยุติธรรม และยกเลิกคำส่ังที่ปิดกั้นและแทรกแซงสื่อ