ผลเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ทำให้การเมืองแบ่งออกเป็นสองขั้ว คือ ขั้วแรก “ฝ่ายประชาธิปไตย” ที่มีพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำรวมกับอีกอย่างน้อย 6 พรรค และขั้วที่สอง คือ “ฝ่ายสนับสนุน คสช.” มีอย่างน้อย 2 พรรค มีพรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำ แต่ยังมีอีก 17 พรรคที่ยังไม่ร่วมกับขั้วใด
กกต. ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะใช้สูตรใดการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งที่กฎหมายเลือกตั้งมาตรา 128 เขียนชัดเจน แม้จะอ่านเข้าใจยาก แต่ก็ตีความให้แตกต่างไม่ได้เลย ชวนทุกคนอ่านกฎหมายและคิดคำนวนตามสูตรคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรอ กกต. ก็ได้
เก่งคณิตศาสตร์ก็ไม่ช่วยเท่าไร เพราะปัญหาการคำนวณ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์เป็นเรื่องของการเขียนสูตรเลขด้วยภาษานิติศาสตร์ และอาจมีคนกำลังหาทางออกด้วยวิธีทางรัฐศาสตร์ เสนอสูตรที่ตายตัวอยู่แล้วให้ตีความไปได้สามแบบ หวังประโยชน์ทางการเมือง
"งูเห่า" คือ คำอธิบายปรากฎการณ์ที่ ส.ส. ฝ่าฝืนมติพรรคไปสนับสนุนผู้ท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคขั้วตรงข้าม ไอลอว์ชวนย้อนดูเรื่องนี้ในอดีตและชวนคิดว่าในการเลือกตั้งปี 2562 จะมี "งูเห่า" ภาค 3 เกิดขึ้นอีกหรือไม่ เมื่อสภาเสียงปริ่มน้ำ
การเลือกตั้งผ่านไปแล้ว แต่ประชาชนจำนวนไม่น้อยเคลือบแคลงใจกับผลการเลือกตั้ง และการทำหน้าที่ของ กกต. กับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ เพราะ ความหละหลวมหรือไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ตั้งแต่การจัดเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร การจัดเลือกตั้งล่วงหน้า และต่อเนื่องมาจนถึงวันเลือกตั้งทั่วไป
ใกล้เลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค. 2562 เริ่มเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าใครจะเลือกพรรคอะไร และพรรคการเมืองหลักที่จะต่อสู้เพื่อชิงเก้าอี้ ส.ส. จะมีพรรคอะไรบ้าง เรารวบรวมข้อดีข้อเด่น ของพรรคการเมืองหลัก มาเปรียบเทียบให้ดูว่าเหตุผลที่ประชาชนจะไปเลือกพรรคการเมืองนั้นเพราะอะไร
วันเลือกตั้ง นอกจากรักษาสิทธิของตัวเองด้วยการไปลงคะแนนเสียงแล้ว ยังสามารถมีส่วนช่วยพัฒนาให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีคุณภาพมากขึ้นได้ โดยการเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เมื่อลงคะแนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไอลอว์เตรียมคู่มือสังเกตการณ์เลือกตั้งฉบับง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้ มาไว้ให้แล้ว
หีบบัตรเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตและนอกราชอาณาจักร จะถูกนับคะแนนรวมพร้อมกันในวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม ตามสถานที่นับคะแนนในเขตเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นๆ ไอลอว์ได้นำสถานที่นับคะแนนในกรุงเทพมหานคร
ย้อนดูพัฒนาการของโทษการยุบพรรคนับตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2549 เดิมทีหากพรรคการเมืองกระทำผิดตามกฎหมายระบุมีโทษยุบพรรคและห้ามจัดตั้งพรรคขึ้นใหม่ภายในห้าปี รัฐประหาร 2549 ได้เพิ่มเงื่อนไขตัดสิทธิทางการเมืองห้าปีเพิ่มเข้ามา จนกระทั่งรัฐประหาร 2557 ที่กฎหมายเปิดช่องให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้ดุลพินิจกำหนดเวลาการตัดสิทธิทางการเมือง
ภายในสามวันหลังประกาศผลเลือกตั้ง ส.ส. คสช. ต้องประกาศรายชื่อ ส.ว. ชุดแรก ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 และด้วยความที่กระบวนการคัดเลือก ส.ว. ถูกรวมศูนย์ไว้ที่คสช. จึงเกิดคำถามต่อไปว่า อาชีพไหนมีโอกาสได้รับการแต่งตั้ง คสช. มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบจากการแต่งตั้งคนในยุคคสช. ที่ผ่านมา