ภายใต้การปกครองของคสช. ที่ห้ามพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นเลยตลอดสี่ปี และเพิ่งประกาศให้เริ่มจดจัดตั้งพรรคได้ ทำให้พรรคใหม่มีระยะเวลาเตรียมตัวที่สั้นเกินไปบวกกับเงื่อนไขในการจัดตั้งพรรคที่ยากอาจจะทำให้พรรคหน้าใหม่จำนวนมากจัดตั้งไม่เสร็จสมบูรณ์ทันตามกรอบเวลาเพื่อที่จะลงเลือกตั้ง
การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในต้นปี 2562 ตามโรดแมปรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองทั้งใหม่เก่าก็ได้เตรียมความพร้อมกันไปบ้างแล้ว แต่เพราะยังติดเงื่อนไขประกาศและคำสั่งคสช. อยู่ พรรคการเมืองจึงยังไม่มีอิสระในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
และต้องเผชิญกับปัญหาอย่างน้อย 4 ปัญหา ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
8 พฤศจิกายน 2561 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงข่าว เรื่อง การเตรียมการของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการเลือกตั้ง ว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 และเมื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 เสร็จแล้ว รัฐบาลเก่าหรือคสช. จะสิ้นสุดลง
The forthcoming elections in 2019 will be the first under 2017 Constitution and its ensuing organic laws. These legal frameworks are set to subject political parties to many challenges. It is obvious that these rule have been designed to become “Elections of the NCPO, by the NCPO and for the NCPO”.
จากกรณีที่พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อถึงการตรวจสอบเพลงประเทศกูมีของ Rap against dictatorship (RAD) ว่า เข้าข่ายผิดกฎหมายใดหรือไม่ นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมถึงการบังคับใช้กฎหมาย โดย RAD ได้เปิดเผยที่มาที่ไปของเพลงดังกล่าว
ในยุค คสช. กระบวนการออกกฎหมายที่ไร้การตรวจสอบ ส่งผลให้กฎหมายจำนวนหนึ่งผ่านไปแล้วต้องมีการกลับมาแก้ไขใหม่ โดยอาศัยอำนาจ ม. 44 ในการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. หรือการส่งต่อให้ สนช. แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายต่างๆ ที่ผ่านมามีอย่างน้อย 6 ครั้งที่ คสช. และ สนช. พยายามแก้ไขกฎหมายที่ตัวเองออก
วันที่ยุทธศาสตร์ คสช. บังคับใช้ มีกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 29 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 17 คน และเป็นกรรมการที่รัฐบาล คสช. แต่งตั้ง 12 คน จากการสำรวจพบว่า นับตั้งแต่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ กรรรมการยุทธศาสตร์ชาติส่วนใหญ่เคยผ่านการทำงานสนับสนุนรับใช้ คสช. มาด้วยตำแหน่งต่าง ดังนี้
เพลง “ประเทศกูมี” ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์และมีการพูดถึงอย่างมากจนผู้มีอำนาจเตรียมดำเนินคดี เนื้อหาเพลงว่าด้วยการนำข้อเท็จจริงของสังคมการเมืองไทยร่วมสมัยมาร้อยเรียงเป็นบทเพลง โดยขับร้องออกมาในสไตล์ Rap กล่าวได้ว่าเพลง “ประเทศกูมี” นั้นเปิดบาดแผลของสังคมไทยที่พยายามซุกซ่อนมานานกว่าสี่ปี ชวนอ่าน 7 เรื่องจริงของประเทศกู
กกต. ชุดที่จะมาดูแลการเลือกตั้ง ในปี 2562 กว่าจะได้มาต้องผ่านกลไกต่างๆ ที่ คสช. วางไว้จนพอใจ โดยต้องผ่านความเห็นชอบจากสนช. ถึง 3 ครั้ง รายชื่อผู้สมัคร กกต. ชุดแรกถูก สนช. ตีตกยกชุด ต่อมาครั้งที่สอง สนช. เห็นชอบเลือก กกต. 5 คน ตีตก 2 คน โดยทั้งสองครั้งเป็นการพิจารณา ‘ลับ’ มาดูประวัติกันว่า กกต.ชุดนี้เป็นใครบ้าง ได้มาอย่างไร
คสช. ใช้มาตรา 44 คลายล็อกพรรคการเมือง ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 สาระสำคัญคือ ขยายกรอบเวลาให้พรรคการเมืองดำเนินงานธุรการของพรรค ยกเลิกระบบไพรมารีโหวตโดยให้คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง 11 คนมีอำนาจในการสรรหาแทน และห้ามไม่ให้มีการหาเสียงออนไลน์