Articles

พรรคการเมืองถูกคสช. ล็อกไม่ให้เคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่รัฐประหารใหม่ๆ รวมระยะเวลาก็ 4 ปีกว่าแล้ว การเลือกตั้งก็ใกล้เข้ามาทุกที เวลาสำหรับพรรคการเมืองในการเตรียมตัวก็เหลือน้อยลงไปด้วย ทั้งนี้ การปลดล็อกพรรคการเมืองไม่ได้สำคัญแค่ต่อพรรคการเมืองเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อการเดินหน้าโรดแมปสู่การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมอีกด้วย
หลังกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสองฉบับสุดท้ายอย่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้ายการได้มาซึ่ง ส.ว. ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้ทุกสายตาจับจ้องไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งเมื่อไร แต่จากบทเรียนของการเชื่อคำมั่นสัญญาจากรัฐบาล คสช. ที่ทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนไปแล้วถึงห้าครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ความน่าเชื่อถือของประชาชนต่อคำพูดของ คสช. จะลดน้อยลง
ในยุคคสช. ทหารได้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ขั้นตอนสืบสวน สอบสวน ซึ่งปกติเป็นหน้าที่ของตำรวจ และทหารก็ใช้อำนาจนี้ "ปรับทัศนคติ" "เยี่ยมบ้าน" และเข้าร่วมสอบสวนและสั่งฟ้องคนเห็นต่าง อีกทั้ง ขั้นตอนในชั้นศาล ก็ให้พลเรือนขึ้นศาลทหารในบางคดี แทนการขึ้นศาลปกติ
วันที่ 13 ก.ย. 2561 ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. บังคับใช้ มีอย่างน้อยแปดประเด็นที่ควรรู้เกี่ยว ส.ว. เช่น ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง ผบ.ทุกเหล่าทัพ เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง และ ส.ว. แต่งตั้งชุดนี้ยังมีบทบาทและอำนาจอีกมากในการเมืองไทยหลังเลือกตั้ง
หลังรัฐประหาร 3 วัน คสช. เข้าแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมโดยทันที ให้อำนาจศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือนที่เกี่ยวกับการเมืองและความมั่นคง มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารกว่าสองพันคน จากกว่าหนึ่งพันคดี แม้ในปี 2559 คสช. จะยุติการใช้ศาลทหารกับพลเรือนแต่ก็มีคดีพลเรือนค้างอยู่ในศาลทหารอีกจำนวนมาก
"การเข้าชื่อเสนอกฏหมาย" ไม่ใช่กิจกรรมที่ทำเพื่อรณรงค์ในทางสังคมเท่านั้น แต่เป็นการใช้สิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น จึงเป็นกิจกรรมที่มีกฎหมายรองรับ เป็นช่องทางที่ประชาชนสามารถร่วมมือกันทำและคาดหมายให้มีผลในทางกฎหมายได้ 
20 years history
ถอดบทเรียนระยะเวลากว่า 20 ปี ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ทีประชาชนสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ร่างพ.ร.บ.กว่า 50 ฉบับถูกเสนอมาแล้ว ถึงผลสุดท้ายจะสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง แต่ก็มีพัฒนาการมาเรื่อยๆ เพื่อให้การใช้สิทธิง่ายขึ้น เป็นไปได้มากขึ้น  
การชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย การออกมาบนท้องถนนเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ปัญหาความเดือดร้อนเป็นที่รับรู้ของสังคมและถูกแก้ไข แต่ภายใต้รัฐบาล คสช. การชุมนุมถูกปิดกั้นและทำให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยประกาศและคำสั่ง คสช. 
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้คน เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง อินเทอร์เน็ตทำให้เราเชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดน “ข้อมูล” กลายเป็นสิ่งมีค่าและถูกนำไปใช้ประโยชน์ทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐ แต่ข้อมูลนั้นมีเจ้าของ และบางครั้งถูกฉวยใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้เกิดการพูดถึงแนวคิดเรื่อง “ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล”        
newgen
คนรุ่นใหม่ที่เกิดระหว่างปี 2543-2536 มีถึง 7,170,270 คน แม้ว่าจะไม่เคยเลือกตั้งและยังไม่มีกำหนดเวลาที่ชัดเจน แต่ก็ยังมีสิทธิในการ "เข้าชื่อเสนอกฎหมาย" เพื่อจะสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองและกำหนดอนาคตของตัวเองได้