แม้ว่าคสช. จะใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 'ปลดล็อกพรรคการเมือง' ให้หาเสียงและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้แล้ว แต่ก็ยังมีประกาศ/คำสั่งคสช. อีกหลายฉบับที่ยังจำเป็นต้องยกเลิก ซึ่งเป็นประด็น เสรีภาพของสื่อมวลชน การเอาพลเรือนขึ้นศาลทหาร หรือ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม
11 ธันวาคม 2561 หัวหน้า คสช. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 21/2561 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ใช้ดุลยพินิจกำหนดว่า ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐใดต้องยื่นหรือไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
11 ธ.ค. 2561 พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ส.ส. มีผลใช้บังคับ ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ “การเลือกตั้ง” ในปี 2562 นอกจากนี้ยังมีเรื่องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอีก ไอลอว์รวบรวมเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างน้อยๆ 4 เรื่อง มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
11 ธันวาคม 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 22/2561 เรื่อง การให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยมีสาระสำคัญคือ ยกเลิกประกาศ/คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ห้ามพรรคการเมืองหรือประชาชนทำกิจกรรมทางการเมือง จำนวน 9 ฉบับ
ก่อนการเลือกตั้ง 2562 บรรดานักการเมืองต้องเสี่ยงต่อกฎหมาย อย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส., ประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่คสช. ใช้เพื่อควบคุมนักการเมือง
รัฐธรรมนูญ 2560 คือรัฐธรรมนูญปัจจุบันของประเทศไทย เป็นฉบับที่ 20 จัดทำโดย คสช. บังคับใช้ตั้งแต่ 6 เม.ย. 60 นับถือ 10 ธ.ค. 61 เป็นเวลาประมาณ 1 ปี 9 เดือนที่รัฐธรรมนูญบังคับใช้ เนื่องในวันรัฐธรรมนูญปี 2561 ไอลอว์รวบรวมเรื่องราวตลกร้ายที่อยากจะขำแต่ขำไม่ออกเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาให้ทราบกัน
ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA ถูกใช้เป็นครั้งแรก ประชาชนต้องกาบัตรใบเดียวนำคะแนนไปคิดสองรอบ พร้อมกับสูตรคำนวนที่นั่งปาร์ตี้ลิสต์แบบใหม่ ทำให้พรรคใหญ่เสียเปรียบ พรรคขนาดกลางได้เปรียบ และพรรคเล็กเกิดไม่ได้ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์แปลกๆ ตามมา
จากกระแสการเมืองของคนรุ่นใหม่สำหรับสนามการเลือกตั้งที่จะถึงในปี 2562 และการเปิดตัวทีมงาน "คนรุ่นใหม่" หรือผู้สมัครอายุน้อยๆ ของพรรคการเมืองต่างๆ ที่น่าจับตามอง ไอลอว์ชวนดูข้อจำกัดด้านอายุของนักการเมืองตามรัฐธรรมนูญไทย จากสมัยก่อนจนถึงสมัยนี้
พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ เป็นกฎหมายฉบับสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้งและถูกร่างขึ้นโดยคนกลุ่มเดียวกับที่ร่างรัฐธรรมนูญนั่นเอง ทั้งนี้ กฎหมายนอกจากจะกำหนดรายละเอียดตั้งแต่การกำหนดวันเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง การแบ่งเขตพื้นที่ การนับคะแนน การประกาศผล ฯลฯ เพื่อให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้ว กฎหมายฉบับนี้ยังให้อำนาจกับ กกต. ที่จะสั่ง "ระงับ" หรือ "ยกเลิก" การเลือกตั้งได้ด้วย
เลือกตั้งปี 2562 มี กกต. เป็นเจ้าภาพหลัก นอกจากนี้ในระดับพื้นที่มี “กกต. ประจำเขตเลือกตั้ง” และหน่วยที่เล็กที่สุดคือ “กกต. ประจำหน่วยเลือกตั้ง” จะเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการเลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่ง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. กำหนดที่มาและบทบาทของ กกต. ประจำหน่วยฯ ดังนี้