ลงชื่อ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์

ลงชื่อ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์

เมื่อ 6 ม.ค. 2555
ไฟล์แนบขนาดไฟล์
ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา112 ฉบับนิติราษฎร์.pdf119.54 KB
แบบฟอร์ม ข.ก.1 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 112168.4 KB

คณะนิติราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, ธีระ สุธีวรางกูร, สาวตรี สุขศรี, ปิยบุตร แสงกนกกุล, จันทจิรา เอี่ยมยุรา เคยแถลงข้อเสนอเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือกฎหมายอาญามาตรา 112

หลังจากปล่อยเวลาให้สังคมได้ร่วมกันถกเถียงเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวอยู่เกือบหนึ่งปีเต็ม สถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ก็กลับทวีความรุนแรง และเป็นที่สนใจของสังคมมากขึ้นทุกขณะ กล่าวได้ว่า มาตรา 112 กลายเป็น กฎหมายที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดมากถึงที่สุดมาตราหนึ่งในยุคสมัยนี้ จนอาจะบานปลายไปสู่การถกเถียงที่สร้างความขัดแย้งให้เพิ่มขึ้นในสังคมก็เป็นได้

กลุ่มนักวิชาการ นักเขียน และนักกิจกรรมหลายกลุ่ม จึงรวมตัวกันจัดตั้งเป็น คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ขึ้นเพื่อนำข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ชุดดังกล่าว มารณรงค์โดยอาศัยช่องทางตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163 ให้ประชาชนเข้าชื่อกันให้ครบหนึ่งหมื่นชื่อ เพื่อเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณา โดยเชื่อว่าเป็นช่องทางที่เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย และมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง

ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... เพื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 112 ที่คณะนิติราษฎร์เสนอ มีสาระสำคัญ 7 ประเด็น ดังนี้

1. ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร  

2. เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

3. แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นคนละมาตรากับการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

4. เปลี่ยนบทกำหนดโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปี โดยแยกระหว่างการหมิ่นประมาททั่วไปกับการหมิ่นประมาทที่เป็นการโฆษณาออกจากกัน

5. เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต

6. เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ

7. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น

 

ผู้ที่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ทั้ง 7 ข้อ สามารถมีส่วนร่วมได้ โดยวิธีการดังนี้ 

1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มข.ก.1 ตามไฟล์แนบด้านบน และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน 

2. ถ่ายเอกสารสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 

3. ส่งเอกสารทั้งหมดมายัง ตู้ปณ.112 ปณฝ.ราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 

คำแนะนำในการกรอบแบบฟอร์ม 

1. ต้องมีทั้งนำสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน 

2. ลายเซ็นต้องเป็นแบบเดียวกันทั้งในสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน กับแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่และลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก.๑) 

3. ในส่วนบนของหนังสือที่เขียนว่า “เขียนที่” นั้น ให้เขียนที่อยู่ สถานที่ไหนก็ได้ที่ท่านกรอกแบบฟอร์ม

4. ใน ข้อ 5 ของ แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่และลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก.๑) ที่เขียนว่าร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ในช่องว่าง “พ.ศ. ...” และ “(ฉบับที่...)”ไม่ต้องกรอกข้อความใดๆ

 

 

ไม่ควรแก้ไข คงไว้ตามเดิม
7% (14 votes)
ควรแก้ไขเนื้อหา เพื่อส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น
18% (38 votes)
ควรยกเลิกทั้งมาตรา
76% (163 votes)
คนโหวตทั้งหมด: 215 คน

Comments

bunthiang daenglar's picture

จริง ๆ แล้วกฎหมายทุก ๆ ฉบับก็มีทั้งข้อดี และ ข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น อยู่ที่ผู้ใช้ ท่านนั้น ๆ ที่จะใช้ไปในแนวทางใหนต่างหาก ที่เขาเหล่านั้นจะยกมาอ้าง  กล่าวคือ เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง และกลุ่มพวกพ้องที่เขาเหล่านั้นพึงได้พึงเสีย ยกตัวอย่าง มาตรา 112 มาตรา 112 ก็มีทั้งข้อดี และข้อเสียอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น จริง ๆ แล้วในมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ ประชาชนชาวไทยทุก ๆ หมู่เหล่า ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดใครที่จะไปแตะต้องอยู่แล้ว เราต้องทำความเขาใจให้ท่องแท้จริง ๆ เสียก่อนน่ะครับว่า ประชาชนคนไทย 99.9 % เรารักและเทิญทูลสถาบันเหนือสิ่งอื่นใด เพราะฉนั้น มาตรา 112 ที่กำลังมีเรื่องมีราวอยู่ในขณะนี้นั้น มิใช้ก่อเกิดจากประชาชนโดยตรง แต่ที่เป็นเรื่องเป็นราวอยู่น่ะทุกวันนี้นั้นก็เกิดจากนักการเมืองโดยตรงทั้งนั้น ก็เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้อง อย่างที่ผมได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น .ทั้งนั้น ประชาชนจริง ๆ ไม่มีได้ หรือมีเสียด้วยเลยแม้แต่น้อย แต่เขาเหล่านั้นก็อ้างทำเพื่อประชาชนตรงนี้ต่างหากล่ะครับที่เรา ๆ ท่าน ๆ ควรจะหาวิธีใดวิธีหนึ่ง หยุดยั้งนักการเมืองเหล่านั้นไม่ให้ใช้ประชาชนเป็นโล่กำบังอีกต่อไป สำรับผมแล้วนั้น ในมาตรา 112 นั้น จะปรับปรุงหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะมาตรา 112เดิม ๆ ก็ไม่ได้ทำอะไรกับประชาชนอยู่แล้ว ถ้าเราไม่ไปยุ่งไปเกี่ยวข้องด้วย หรือถ้าเห็นควรแก้ใขให้ดีขึ้นไปอีก อันนี้ผมก็เห็นด้วย แต่ ถ้าจะยกออกไปเลยนั้น.. ผมไม่เห็นด้วยครับ !!

POP's picture

ไม่ควรยกเลิกอย่างยิ่งท่าน

 

“กฎหมายอาญาของไทยเป็นกฎหมายที่มีความเป็นสากล กล่าวคือ ให้ความคุ้มครองประมุขของรัฐต่างประเทศและผู้แทนของรัฐต่างประเทศด้วย ดังจะเห็นได้จากมาตรา ๑๓๓ และ มาตรา ๑๓๔ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า

 มาตรา ๑๓๓ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 มาตรา ๑๓๔ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 ดังนั้น ถ้ายกเลิกมาตรา ๑๑๒ ผลตามกฎหมาย ก็คือ ประเทศไทยให้ความคุ้มครองประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ แต่ไม่คุ้มครองประมุขของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องผิดวิสัยของอารยประเทศอย่างยิ่ง และหากจะยกเลิกมาตรา ๑๓๓ และมาตรา ๑๓๔ ไปพร้อมกับมาตรา ๑๑๒ ผลก็คือ ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศป่าเถื่อนในสายตาสังคมโลก และไม่มีประเทศที่เจริญแล้วประเทศใดในโลกคบค้าสมาคมด้วย เพราะไม่ให้เกียรติแก่ประมุขของเขา ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศสูงสุดของประเทศเหล่านั้น”

 

  - “ข้อแตกต่างของความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์กับบุคคลธรรมดาประการแรก ก็คือ มาตรา ๑๑๒ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่ารัฐเป็นผู้เสียหายและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการกับผู้กระทำความผิด ส่วนมาตรา ๓๒๖ เป็นความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งถ้าไม่มีผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ เจ้าหน้าที่รัฐก็จะไม่ดำเนินคดีให้ เหตุที่บัญญัติไว้แตกต่างกันเช่นนี้ เพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่ประมุขของรัฐจะไปฟ้องร้องกล่าวโทษพลเมืองของตนเอง ดังนั้น หากยกเลิกมาตรา ๑๑๒ ก็เท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิของประมุขแห่งรัฐไม่ให้สามารถคุ้มครองตนเองจากการถูกหมิ่นประมาทได้”

    - “มาตรา ๒๘ วรรคแรก ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า เสรีภาพของบุคคล ย่อมมีข้อจำกัดโดยเสรีภาพอีกคน ดังนั้น จะปล่อยให้คนผู้หนึ่งไปละเมิดเสรีภาพคนอื่นก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเสรีภาพมีขอบเขต ไม่ใช่ไม่มีข้อจำกัด เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐาน แค่อย่าใช้เสรีภาพไปก้าวล่วงเท่านั้น ก็จะไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับมาตรา ๑๑๒”

    - “การที่มีกลุ่มต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ โดยมองว่าเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของตนนั้น อยากทำความเข้าใจให้ทราบว่า คนทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพของตน แต่สิทธินั้นเป็นสิทธิที่อยู่ภายใต้ขอบเขตที่เหมาะสม และจะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่นด้วย และทุกคนไม่ควรมองถึงบทลงโทษของกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรมองถึงประเด็นที่มีคนบางคน หรือบางกลุ่ม ที่พยายามจะกระทำผิดกฎหมาย โดยการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสถาบันฯ และมองว่าคนผู้นั้นกระทำผิดอย่างไร ได้รับโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้วหรือไม่ เพราะกฎหมายและบทลงโทษในทุกมาตราถูกกำหนดมาเพียงเพื่อป้องปรามการกระทำผิดเท่านั้น หากไม่มีผู้ใดกระทำผิดหรือละเมิดกฎหมายก่อน บทลงโทษนั้นย่อมจะไม่มีผลแต่อย่างใด”

now's picture
ไม่ควรแก้ไข คงไว้ตามเดิม
1. แยกฐานความผิด "ดูหมิ่น" "หมิ่นประมาท" "อาฆาตมาดร้าย" เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นบรรทัดฐานสำหรับการดำเนินคดีของโจทก์ และการต่อสู้คดีของจำเลย



2. ไม่กำหนดโทษขั้นต่ำ เพื่อให้ศาลสามารถดุลยพินิจกำหนดโทษบนพื้นฐานกระบวนการแบบอารยะ รวมทั้งบทลงโทษไม่มากไปกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์



3. ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฏหมายในการพิจารณาเปิดเผย รวมทั้งได้รับการพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อเป็นหลักประกันบรรดาที่จำเป็นสำหรับการต่อสู้คดี



4. มีหน่วยงานเฉพาะทำหน้าที่โจทก์ดำเนินการฟ้องร้อง ที่มีความรู้เพียงพอทางด้านกฏหมายและประเพณีอันจำเป็นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
myname's picture

รบกวนช่วยขยายความคำว่าขัดกับหลักประชาธิปไตย ได้หรือไม่

ถ้ายกตัวอย่างถึงสิทธิ เสรีภาพของอเมริกา เค้าก็มีการจำกัดขอบเขตของการใช้เสรีภาพในแต่ละบุคคลเช่นกัน จากกรณีของสเปนเซอร์ที่โดนจำคุกเพราะพูดเหยียดผิว ปธน และ ดช.ชาวอังกฤษที่ถูกห้ามเข้าประเทศ สหรัฐตลอดชีวิตเพราะพูดจาบจวง ปธน ลิงค์โพสไม่ขึ้น กฏหมายเค้าเด็ดขาดกว่าเรามาก 

ประชาธิปไตยคืออะไร ขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพ มีแค่ไหนคนไทยจำนวนน้อยนักที่เข้าใจจริงๆ

ติดใจในข้อที่ 4 ถึง 7

ข้อ 4. หากเป็นการกระทำผิดหลายครั้ง ควรเป็นความผิด ก็สมควรถูกลงโทษทบทวีคูณตามจำนวนครั้ง ไม่ควรระบุเป็นโทษสูงสุด 3 ปี ( เช่นกรณีอากง กระทำผิดซ้ำๆ )

ข้อ 5. ควรระบุออกมาให้ชัดว่า การแสดงความเห็นโดยสุจริตเป็นอย่างไร จาบจ้วง ล่วงเกิน แล้วอ้างว่ากระทำโดยสุจริตงั้นหรือ

ข้อ 6. จะพิสูจน์อย่างไรว่า การกล่าวหานั้นเป็นจริง จะเรียกใครมาตอบพิสูจน์ความจริงหรือ แล้วที่ว่าเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อะไรคือประโยชน์ ใครได้ประโยชน์ แล้วใครถูกกระทำ ( บ้านเมืองนี้ศรีธนญชัยเยอะมาก )

ข้อ 7. จะบีบสถาบันทางอ้อมหรือ จึงห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษ ( ปัญหาของมาตรา 112 เกิดจากบรรดานักการเมืองชั่วๆ ที่ใช้กล่าวหาเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน แทนที่พวกคุณจะล้อมคอก ล่ามโซ่ แก้สันดานนักการเมือง กลับมาริดรอนสิทธิ์ในการปกป้องพระเกียรติของสถาบันโดยประชาชน )

 

 

ยกเลิกทั้งมาตรา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านก็เคยตรัสไว้ว่า กษัตริย์สามารถถูกวิจารณ์ได้ แต่ปัจจุบันมักมีคนบางกลุ่ม วิจารณ์อย่างเดียวไม่พอ ยังแต่งแต้มเติมสีเข้าไป เพื่อชักจูงคนอื่น ทำให้อาจจะมีใครหลายคน เข้าใจพระองค์ท่านผิดไป

มาตรา 112 ควรให้สามารถวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ได้บนความเป็นจริงที่ถูกต้อง เพื่อจะได้มาร่วมกันทำความจริงให้ปรากฎ เพราะที่ผ่านมาคนถูกจะกลายเป้นแพะว่าไม่จงรักภัดดี เพราะฉะนั้นสังคมจะอยู่ได้ต้องอยู่บนฐานความเป้นจริงโดยต้องมีโครงสร้างรากฐานที่ถูกต้อง ไม่ใช่ฐานโจรที่เป้นกบฎตกปลาและฆ่าคนเพื่อตนเองทำให่ใด้ประโยชน์ฝ่ายเดียวแต่กับอ้างความสมดุยล์ ถือว่าไม่ถูกต้อง ทำให้คนผิดลอยนวล จึงต้องจับคนผิดมาลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต เพราะชีวิตคนที่ถูกฆ่าตายต้องแลกกด้วยชีวิตจากคนที่โกงชีวิตคนอื่นที่ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยการฆ่าคนอื่นฟรีๆ โดยเจตนาถือว่าเป้นขั้นรุนแรงที่ต้องจับมาประหารชีวิต 7 ชั่วโตคร ดังนั้นถ้าเริ่มต้นอยู่ที่คนผิดนำก็จะไปผิดหมด ทุกคนจึงต้องรู้ความจริงของปัญหาว่ามาจากตรงไหนจึงจะแก้ไขปัญหาได้ 

ควรยกเลิกม.112 ทั้งหมด

มีปัญหามาก ขัดต่อหลักประชาธิปไตย