กว่าร้อยองค์กรร่วมตั้ง “เครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม” แถลงจุดยืน ตั้ง สสร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100% และต้องมีอำนาจร่างใหม่ทั้งฉบับ ถ้าไม่เป็นประชาธิปไตยประชาชนพร้อมจะไม่รับร่างนี้
ขั้นตอนต่อไปของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะถูกพิจารณาในวาระที่สองโดย กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ 45 คน มีตัวแทนจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน 13 คน พรรคร่วมรัฐบาล 17 คน และ ส.ว. 15 คน มีทั้ง ส.ว. 10 คน ที่ "ไม่" ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้มีการตั้ง สสร. และมี 2 คน ที่ "ไม่" ลงมติไม่เห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญร่างใดเลย
2 ธันวาคม 2563 คือ วันชี้ชะตาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ โดยผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญอาจจะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และบรรดาคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลคสช. ที่อาจจะต้องพ้นไปจากตำแหน่งยกชุด และ พล.อ.ประยุทธ์ อาจจะต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี
20 ธ.ค. 63 นี้ คนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนจะได้ออกไปเลือกตั้งอบจ. ซึ่งเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกในรอบหลายปีนับตั้งแต่มีรัฐประหารโดยคณะคสช. การเลือกตั้งอบจ.ในครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งในนัดหมายสำคัญ เพราะเป็นโอกาสที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้ออกไปใช้สิทธิออกเสียงอีกครั้ง หลังจากที่ถูกจำกัดมานาน และจะเป็นอีกช่องทางที่ประชาชนจะได้แสดงออกถึงสิ่งที่ต้องการอยากจะเห็นผ่านระบบเลือกตั้งและนโยบายของผู้สมัคร
อบจ. เป็นหนึ่งในรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีโอกาสปกครองกันเองโดยหลักจะมีการเลือกตั้งทุก 4 ปี แต่เนื่องจากมีการรัฐประหารของ คสช. ทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นต้องถูก "แช่แข็ง" ไว้ และเว้นว่างไปนานกว่า 6 ปี หรือบางพื้นที่กว่า 8 ปี แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งอบจ. กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 20 ธ.ค.นี้
ชวนพิจารณาข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้ง 10 ข้อ หากจะนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงได้ มีอย่างน้อย 5 ข้อ ที่ต้องอาศัยกระบวนการออกกฎหมายของรัฐสภาเป็นกลไกสำคัญ ส่วนอีก 5 ข้อนั้น ต้องอาศัยการปฏิรูปทัศนคติของคนในสังคมและวัฒนธรรมความเชื่อ
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมองค์กรเครือข่ายด้านสิทธิ ยื่นหนังสือต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ชี้ตำรวจปฏิบัติผิดหลักสิทธิมนุษยชนกรณีการชุมนุมของนิสิตนักศึกษา ขอให้ปรับปรุงให้ถูกต้องเพื่อเป็นหนทางแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง
นักกฎหมาย 452 คน ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์คัดค้านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชี้คล้าย "รัฐประหารจำแลง" และคัดค้านการใช้กำลังสลายการชุมนุม พร้อมเรียกร้องปล่อยตัวผู้ชุมนุมทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข ถอนข้อหาประทุษร้ายพระราชินี
ชวนดูหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการชุมนุม และหลักปฏิบัติหากเจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม หลังจากมีการสลายการชุมนุมของ "คณะราษฎร63" เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 ต.ค.ที่ใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม
คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ ออกแถลงการณ์เรื่อง เรียกร้องให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563