แม้จะผ่านมาแล้ว 44 ปี แต่เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ก็ยังอีกหลายเรื่องที่ยังต้องทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม แต่อย่างน้อยที่สุด ข้อค้นพบเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ในมุมมองของนักวิชาการที่มาร่วมงานเสวนาในหัวข้อ "หา(ย) : อุดมการณ์ – ความทรงจำ – รัฐธรรมนูญ" คือ เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เป็นความพยายามเหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลง หรืออีกนัยหนึ่งคือความพยายาม ตัดตอนระบอบประชาธิปไตยของกลุ่มศักดินาโดยเอาชีวิตของเหล่านิสิตนักศึกษาเป็นเครื่องสังเวย
เมื่อวานนี้ (1 ต.ค.63) สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ได้จัดงานเสวนาเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ มีผู้เข้าร่วม 4 คน ได้แก่ ไพบูลย์ นิติตะวัน, รังสิมันต์ โรม , รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และยิ่งชีพ อัชฌานนท์
ที่ประชุมรัฐสภาเลื่อนการพิจารณาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งตั้ง กมธ. ศึกษาร่างฯ ท่ามกลางการคัดค้านของ ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน เพราะเห็นว่า จะเป็นการ "ถ่วงเวลา" แก้รัฐธรรมนูญให้ทอดยาวออกไปโดยไม่จำเป็น
หลังศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง "ยกคำร้อง" ขอเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 'สุรพล เกียรติไชยากร' อดีตผู้สมัคร ส.ส.เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ร้องขอ สิ่งที่ตามมาคือ คำถามถึงความเป็นธรรมต่อผู้สมัคร ส.ส.เพื่อไทย ที่ถูกเขี่ยออกจากการสนามการเลือกตั้ง และนำไปสู่คำถามถึงความถูกต้องชอบธรรมของการเลือกตั้งในปี 2562 ที่อยู่ภายใต้กติกาและผู้บังคับใช้กติกาที่มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้กำหนด
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปี 2560 มาตรา 20 เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญสำหรับรัฐในการปิดกั้นเนื้อหาบนโลกออนไลน์ โดยมาตราดังกล่าวกำหนดให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มีคําสั่งระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างกว้างขวาง
24 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีนัดพิจารณา "กฎหมายปฏิรูป" อย่างน้อย 3 ฉบับ ดังนั้น การพิจารณากฎหมายดังกล่าวจึงต้องเสนอและพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของสองสภา ซึ่งจะทำให้ 'รัฐบาลคสช.' มีความได้เปรียบในการผ่านกฎหมาย
ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานของรัฐ สามารถติดตามหรือไปเยี่ยมบ้านประชาชนที่ไม่ได้กระทำความผิด ไม่มีกฎหมายให้อำนาจตำรวจเข้าไปนั่งคุยในบ้านของประชาชนเพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ ถ้าไม่มีเหตุสงสัยว่า บุคคลนั้นกระทำความผิดต่อกฎหมาย ไอลอว์ชวนดูประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสิทธิที่ประชาชนพึงรักษาไว้ได้ หากมีเจ้าหน้าที่ไปหาที่บ้าน
18 กรกฎาคม 2563 กลุ่ม New Consensus Thailand ได้จัดเวทีสาธารณะในหัวข้อ “กกต. ไทย อย่างไรต่อดี” วงเสวนาได้กล่าวถึงสภาพปัญหาเชิงโครงสร้างของกกต. อำนาจนิยมที่แอบแฝงอยู่ในโครงสร้าง การทำงานของกกต. ที่ขาดมาตรฐานชัดเจน และหนทางแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโควิด-19 เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ได้พยายามผลักดัน ร่างกฎหมาย "พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ" ซึ่งหลักใหญ่ใจความก็คือ การให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญอย่างเสมอภาคกัน โดยวางกรอบวงเงินไว้ที่ 3,000 บาท ต่อเดือน แต่ทว่า หลังภาคประชาชน รวบรวมรายชื่อไม่น้อยกว่า 10,000 คน เพื่อเสนอกฎหมายฉบับดังกล่าวสู่สภา แต่กฎหมายยังติดขัดอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรี
17 กรกฎาคม 2563 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 22 กิจการที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และจัดการระบบภายในองค์กร เพื่อให้มีมาตรฐานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง