6 เมษายน 2563 เว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ 4 คน แทนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสี่คนเดิมที่หมดวาระลงไปก่อนหน้านี้แล้วหลายปี
การรับมือโรคระบาดนั้นสัมพันธ์กับการบริหารจัดงานงบประมาณของรัฐ เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน เยียวยา ทุกภาคส่วน แม้ปกติ รัฐบาลจะมี พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นกระเป๋าตังหลัก แต่มันก็อาจจะไม่เพียงพอ เลยต้องมี "ออฟชั่นเสริม" เติมสภาพคล่องให้รัฐบาล
ชาวไทยที่อยู่ไอร์แลนด์ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งพิพากษาเพิกถอน ประกาศ กพท. ที่บังคับให้ผู้โดยสารสัญชาติไทยต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่ามีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทางทางอากาศ (fit to fly) และ หนังสือรับรองจากสถานทูต ถึงจะเข้าประเทศได้
หลังการเปิดตัวหนังสือเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ในร้านหนังสือ bookmoby ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ไอลอว์ตัดสินใจมาเปิดวงคุยถึงหนังสือเล่มดังกล่าวอีกครั้งในภาคอีสานที่จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับร้านหนังสือ Abdul Book โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์ กองบรรณาธิการ Way magazine และบรรณาธิการหนังสือ 'เมื่อฉันถูกเรียกปรับทัศนคติ', อานนท์ ชวาลาวัลย์ หัวหน้าฝ่ายศูนย์ข้อมูลและคดีเสรีภาพ และผู้เขียน และ วาสนา เคนหล้า นักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวอุดรธานี และหนึ่งในเจ้าของเรื่องผู้เคยผ่านการปรับทัศนคติมาแล้ว
เสวนา "ฬ.จุฬาฯ นิติมิติ" รศ.ดร.ณรงค์เดช เทียบอัตราเงินกู้ของพรรคอนาคตใหม่กับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ แทบไม่ต่าง สำหรับสัญญาฉบับที่แตกต่าง ก็คิดส่วนต่างแล้วไม่เกินสิบล้านบาท ชี้ เสียดายศาลรัฐธรรมนูญไม่ไต่สวนข้อเท็จจริง จึงไม่รู้ว่า ต้องคิดอย่างไร
"ที่เอกชน" หรือที่ดินของเอกชนไม่มีลักษณะเป็น "ที่สาธารณะ" ถ้าหากจัดกิจกรรมรวมตัวกันแสดงออกในที่ดินของเอกชน จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ แต่อยู่ใต้อำนาจของเจ้าของที่ดินนั้นๆ ว่า อนุญาตให้ใช้พื้นที่รวมตัวกันได้หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ ถอนสิทธิกรรมการพรรคเป็นเวลา 10 ปี จากกรณี ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ให้พรรคกู้เงิน คดีนี้อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการแก้ไขอำนาจหน้าที่ศาลสามารถทำได้ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ต้องทำประชามติก่อน และศาลรัฐธรรมนูญเองยังมีอำนาจวินิจฉัยข้อเสนอชี้ขาดได้ด้วย
การละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงห้าม "วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" ที่กระทำด้วยความ ‘ไม่สุจริต’ และใช้ถ้อยคำหรือความหมายที่ ‘หยาบคาย’ ‘เสียดสี’ ’อาฆาตมาดร้าย’ อีกด้วย ซึ่งมีบทลงโทษสูงสุดคือ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
19 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ห้องประชุมคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ท่าพระจันทร์ มีวงเสวนาเรื่อง “ประชาชนอยู่ตรงไหน เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน” วิทยากรประกอบด้วย ผศ.ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มธ., ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ, รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาฯ มธ. และสัณหวรรณ สีสด จากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล
คดีจากการยื่นคำร้องของกลุ่มอาสาไทย ส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วแต่ไม่ส่งเรื่องต่อ จึงยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง จนศาลชี้ว่า กฎหมายห้ามทำแท้ง มาตรา 301 ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ผลที่จะเกิดต่อไปยังไม่ชัด เนื่องจากให้คำวินิจฉัยมีผลบังคับในอีก 360 วันให้หลัง