การสรรหาผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชุดที่สี่ยังลุ่มๆ ดอนๆ เมื่อเปิดรับสมัครใหม่และเห็นรายชื่อผู้สมัครแล้ว พบคนหน้าเก่าที่อยู่กับแวดวงองค์กรอิสระ และยังมีหลายคนที่เกี่ยวโยงกับเครือข่ายของ คสช. ไอลอว์จึงอยากชวนจับตามองกระบวนการคัดเลือก กสม. ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้
นุชนารถ แท่นทอง ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัมสี่ภาค มองวิกฤติโควิดส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนจนเมืองและคนไร้บ้าน ทั้งภาวะความเครียด หนี้สินและปัญหาปากท้อง รวมไปถึงเรื่องปัญหาเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาที่ไม่ตรงจุด ล่าช้า ไม่ทันท่วงที อันเกิดจากรัฐธรรมนูญที่มีกรอบเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งส่งผลให้การบริหารงานในวิกฤตครั้งนี้ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ประสบปัญหา
นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใหม่ 2 ฉบับ ผ่อนคลาย กิจการและกิจกรรม บางประเภทเปิดดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม ยังคงให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด
23 เมษายน 2563 เว็บไซต์ศาลปกครอง เผยแพร่ ประกาศ ก.ศป. เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นในการคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุด โดยมีผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และมีสิทธิเข้ารับการประเมินประสบการณ์ในการทำงาน หรือผลงานทางวิชาการทั้งหมด 14 คน พบว่ามีเลขาฯ ป.ป.ช. ผ่านการคัดเลือกด้วย
ในเรือนจำแมริออน ในเขตหนึ่งของรัฐโอไฮโอ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีจำนวนนักโทษทั้งหมดประมาณ 2,600 คน มีนักโทษติดเชื้อ COVID-19 ไปแล้ว 1,950 ราย (21 เมษายน 2563) คิดเป็นมากกว่า 70 % ของนักโทษทั้งหมด มาดูกันว่าหลังจากนี้เขามีมาตราการจัดการอย่างไร
ในวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 ได้สะท้อนให้เห็นจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ออกแบบมาให้พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลขาดความชอบธรรมเพราะไม่ใช่พรรคที่มีตัวแทนมากที่สุดในสภา และการต้องไปรวมเสียงกับพรรคเสียงข้างน้อยยิ่งทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ไม่เป็นเอกภาพ เมื่อผนวกกับรัฐราชการรวมศูนย์ยิ่งทำให้การตอบสนองปัญหาของประชาชนไม่สมบูรณ์ และในขณะเดียวกัน วิกฤติโควิดยังทำให้ต้องพิจารณาทบทวนแนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม
ศาลปกครองไม่รับฟ้อง คดีที่ขอให้เพิกถอนประกาศ ก.พ.ท. ที่สั่งให้คนไทยต้องมีใบรับรองแพทย์ (Fit to Fly) ก่อนบินเข้าประเทศ เพราะมีเนื้อหาเหมือนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งตัดอำนาจของศาลปกครองไว้ ต่อมาเมื่อฟ้องศาลแพ่ง ศาลแพ่งก็ยกฟ้องทันที เพราะอาศัยอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ชวนดูข้อกำหนดตาม #พรกฉุกเฉิน ที่ระบุกลุ่มคนได้รับยกเว้นให้ยังออกจากบ้านได้หลังสี่ทุ่ม มียกเว้นให้บริการส่งของ ส่งไปรษณีย์ รวมทั้งส่งอาหารตามสั่งด้วย แต่ ... จะมีอาหารที่ไหนมาส่งได้ในเมื่อร้านก็ยังถูกสั่งปิดและพนักงานยังถูกห้ามออกจากบ้าน
เป็นเวลาเกือบ 3 เดือนแล้ว ที่ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ หรือ "COVID-19" ทำให้ภาครัฐต้องมีมาตรการต่างๆ ตามมา ไม่ว่าเป็นการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ การประกาศเคอร์ฟิว หรือ การสั่งปิดบางสถานที่ที่อาจจะทำให้เกิดการแพร่ระบาด ซึ่งแน่นอนว่า การออกมาตรการดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้พรรคการเมืองไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ต่างก็เสนอมาตรการต่างๆ ออกมา
รัฐบาลประเทศอังกฤษ ได้ออกประกาศว่า นักโทษจำนวนกว่า 4,000 คนจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยสวมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวไว้ และจะถูกภาคทัณฑ์ไว้ตลอดระยะเวลาที่ถูกปล่อยโดยจะถูกตามตัวให้กลับมาทันทีเมื่อมีเหตุที่น่าสงสัยว่าจะหลบหนี