ในทางเสวนาเกี่ยวกับการฟ้องคดีปิดปาก หลายฝ่ายเห็นไปในทางเดียวกันว่า การปิดปากไม่ใช่แค่การ SLAPP แต่ “กระบวนการยุติธรรม” ทำให้คนที่ถูกฟ้องเดือดร้อน รู้สึกว่าเป็นภาระ เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย กระบวนการยุติธรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรอง อาจเรียกลักษณะแบบนี้ว่า “Judicial Harassment”
25 พฤษภาคม 2561 ถูกยกให้เป็นวัน GDPR Day ซึ่งหมายถึงวันที่มีการประกาศใช้ General Data Protection Regulation หรือ กลไกการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และกลไกดังกล่าวย่อมส่งผลต่อผู้ประกอบการและรัฐไทยอย่างมหาศาล แต่ทว่า สังคมไทยยังไม่ตื่นตัว และรัฐไทยก็ยังไม่มีความชัดเจนต่อเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
ตัวแทนพรรคการเมืองสี่พรรค ประสานเสียงโชว์วิสัยทัศน์ บนเวที “The Move We Decide ก้าวที่เลือกได้” เนื่องในโอกาสครบรอบสี่ปีของ คสช. โดยคนจากทุกพรรคการเมืองยืนยันพร้อมกันว่า หลังการเลือกตั้งปีหน้า ต้อง “แก้กติกาล้างมรดกเผด็จการพร้อมยืนยันไม่เอานายกฯ คนนอก”
GDPR (General Data Protection Regulation) เป็นกฎระเบียบของ EU ที่ออกมาเพื่อคุ้มครองประชาชนในกลุ่มประเทศ EU จากการที่ความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลถูกล่วงละเมิดมากขึ้นในโลกยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล กฎหมายนี้เป็นการปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากเมื่อครั้งออก EU Directive เมื่อปี 1995
ระยะหลังๆนี้ เริ่มมีการพูดถึงข้อมูลส่วนบุคคลกันมากขึ้นโดยเฉพาะในแวดวงผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้อมูล การติดต่อสื่อสารและธุรกิจที่มีฐานข้อมูลส่วนบุคคลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะความกังวลต่อ GDPR ซึ่งเป็นข้อบังคับของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการเก็บและการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และที่ทำให้กลัวกันมากก็เพราะบทลงโทษของผู้ที่ไม่ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ GDPR จะถูกปรับสูงถึง 20 ล้านยูโร ที่สำคัญคือจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2561 ที่กำลังจะมาถึง
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตปี 2560 พบส่วนใหญ่มีในจีน อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย ในอาเซียนมี สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ส่วนไทยเป็นหนึ่งใน 56 ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิตอยู่ ขณะที่อีก 142 ประเทศทั่วโลกยกเลิกทั้งในกฎหมายหรือทางปฏิบัติแล้ว
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล โวยแผนปฏิรูประบบสาธารณสุขตัดขาดประชาชน ข้าราชการทำกันเอง ทำประเทศล้าหลัง ตั้งเป้าให้ผู้ใช้บริการร่วมจ่ายเงินบางส่วน ทำหลักประกันสุขภาพเป็นระบบอนาถา มองเป็นภาระประเทศ ส่วนสิทธิข้าราชการกลับมองเป็นสวัสดิการ
9 เมษายน 2561 – ดีแทค ยื่นจดหมายแสดงความคิดเห็นในการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อ กสทช แล้วในวันนี้ (9 เมษายน) โดยเรียกร้องให้พิจารณาทบทวนแนวทางประมูลคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สูงสุดทุกฝ่าย ทั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ผู้บริโภค และสนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0
คสช. ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ออกคำสั่งมากมายหลายเรื่องเพื่อจัดการทรัพยากร โดยตัดสินใจไปก่อนไม่มีส่วนร่วมจากประชาชนในท้องถิ่น เช่น การสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ การยกเว้นผังเมือง และข้ามขั้นตอนอีไอเอ อ.เดชรัต สุขกำเนิด พาชำแหละผลกระทบที่อาจตามมาจากอำนาจพิเศษแบบนี้
ข้อค้นพบจากงานเสวนาชี้ให้เห็นความสับสนในที่มา เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ บอกว่า ไม่ต้องการโทษจำคุกสำหรับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล แต่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญกลับบอกว่า ไม่ได้เป็นคนใส่เพิ่มขึ้นมา ขณะกฎหมายที่ประกาศใช้กำหนดให้การวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่สุจริตมีโทษจำคุก 1 เดือน